ดองแร็กแก้จน (1)

252 05 Nov 2024

 

“ดองแร็กแก้จน” คือชื่อโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ สรินทร์ ที่ลงมาทำงานกับชาวบ้าน หลายตำบลและหลายอำเภอในพื้นที่ รายละเอียดมากกว่านี้ ผมไม่ทราบ แต่เท่าที่ดูกิจกรรมที่ทำ ก็มีเรื่องการตลาด การทำสินค้า (ผ้าสีธรรมชาติ) การพัฒนาปรับปรุงพันธ์ พืช (ทางเลือก อาทิ ตะเปียงจู) การเพาะกล้าไม้ขาย และ การสร้างกลุ่มเสริมอาชีพ ( เท่าที่ผมสังเกต )

 

เมื่อวานผมให้ความคิดเห็นกับอาจารย์ไปว่า คำว่าแก้จน มันเป็นภาพใหญ่มาก หลายปัญหาที่สมรม หลายทางออกที่ ก้าวเดินไปได้ยาก ตัวชาวบ้านเองเขาก็หาทางของเขา แต่เป้าของเขาไม่ใช่ความร่ำรวย ซึ่งอยู่ตรงข้าม คำว่าจน แต่เพื่อให้เพียงพอมีกิน

 

การแก้จน สัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่างที่เป็นปัจจัยสำคัญ อาทิ ทักษะ อาชีพใหม่ๆ แค่การมาพาเขาปลูกผัก เล็กน้อยๆ ไม่พอ หรือการ พาทำผ้าสีธรรมชาติ (Eco Print ) ก็ไม่น่าจะยกระดับรายได้มากพอ อยู่ได้ ที่สำคัญ ก่อนจะเริ่มลงมือ ต้องมองออกว่า โลกวันนี้ เป็นแบบไหน ชีวิตผู้คน มีรายจ่ายกับอะไร วันละเท่าไหร่ และรายได้หลัก มาจากอะไร ศักยภาพที่มี มีอะไรบ้าง และทิศทางที่เราจะพัฒนา ต้องเดินกันอย่างไร

 

ลำพังโครงการ ไม่มากพอ ยิ่งมองภาพปัญหาไม่ออก เลือกทิศทางไม่ถูก วางกระบวนการ ไม่ดีพอ คนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่สามารถจกระดับ หรือนำร่อง ไม่ถูกคัดสรร ไม่มีแรงบันดาลใจ ไม่อยากปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ไม่เรียนรู้ ยิ่งเสียเวลาเปล่า

 

ราชการ พยายามทำงาน แบบวิธีการของราชการ มาตลอดหลายสิบปี ก็ยังจับต้องได้ ไม่กี่อย่าง งานที่ไม่ขึ้นตรงกับสถานการณ์และความเป็นจริง ในพื้นที่ แต่มุ่งเน้นตอบสนองตามนโยบาย ส่วนกลาง ที่ไม่ทันความเปลี่ยนแปลง กลเกมของทุน ตลาด ที่เคลื่อนตัวอยู่กับโลกภายนอก

 

โลกปัจจุบันเป็นโลกการค้า และสินค้า เป็นการช่วงชิง ตลาด และ โอกาส เพื่อตักตวง กำไร หรือ รายได้มาสู่ครัวเรือน ชาวบ้าน ในขณะที่เราทุนน้อย ศักยภาพคนในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ ผลผลิตภาคเกษตร ไม่คุ้มต้นทุน ที่แพง ฯลฯ ทางออก มีทางเดียวคือ การสร้างมูลค่าให้สินค้า ด้วยแปรรูป การสร้างคนให้เก่งในเรื่องการค้า การทำธุรกิจ การเอาข้อได้เปรียบคือแรงงาน มีมาก ผืนดินว่างเปล่า หรือ ปลูกพืชไม่คุ้มทุน กันมาก เอาปัจจัยแบบนี้ มาเป็นข้อได้เปรียบ

 

วันก่อนที่มีการอบรม เป็นงาน อบต. ให้ผมพูดเรื่อง ตะเปียงจูกับการแปรรูป ซึ่งหัวข้อดี แต่ผู้เข้าฟัง ผิดเป้าหมาย คนกลุ่มแรกที่ผมอยากทำงานด้วย คือ คนที่อยากเปลี่ยนแปลง มีความตื่นตัว มีความพร้อม คนที่มองหา โอกาสใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ ภายใต้ทรัพยากรและศักยภาพของคนในพื้นที่ ไม่ต้องมาก แต่คัดสรรคนที่พร้อม ที่ตั้งใจ จะลงมือทำจริงๆ เพราะการแปรรูป คือ การก้าวลงสนามการทำธุรกิจ ตั้งแต่ เลือก ตัวสินค้า เลือกกลุ่มเป้าหมายทำตลาด เลือกวิธีการทำตลาด ตามโจทย์ที่ผมมักพูดเมื่อก่อน คือ ผลิตอะไร ผลิตแค่ไหน ขายให้ใคร ขายราคาเท่าไหร่ บริหารจัดการอย่างไร ฯลฯ

 

การแก้จน คือ การทำให้เกิดรายได้ ที่มากขึ้น ที่เติบโตได้ จากครัวเรือนสู่โรงงาน สู่ตลาด สู่การส่งออก ฉะนั้น การตั้งโจทย์ที่ผิด ทิศทางที่ผิด แก้ยังไงก็ไม่หาย การเอาคนแก่ ที่หล่นกระแสโลก ไม่อยากเติมน้ำลงแก้ว ไม่รู้ว่ามือถือของตนนั้น ขายของได้ทั่วโลก ขายได้ 24 ชม. จึงเป็นการทุ่มแรงที่แทบจะสูญเปล่า

 

เมื่อวานเลยบอกอาจารย์ ว่า คิดใหม่ ออกแบบใหม่ มีชาวบ้านหลายคน ที่เก่งและพร้อมจะเรียน ก้าวไปหน้า เพื่อความสำเร็จ ที่หมายถึง รายได้ อาชีพ และการสร้างเศรษฐกิจในท้องถิ่น

 

ไม่รู้ว่าอาจารย์ เข้าใจที่ผมพูดไหม  แต่ดองแร็กแก้จน นี่คือ โอกาสสำคัญ ให้เราหลายคนเปลี่ยนแปลง!!

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม