77 20 Sep 2024
เมื่อเช้ามืดตื่นมาอ่านบทวิเคราะห์ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเป็นนักวิชาการ ได้วิดคราะห์ ปนะเด็นเรื่อง สี่เสาหลักของการเตือนภัย ว่าไม่เป็นไปตามแผน การรับมือแก้ปัญหา และ สรุปแระเด็นว่าไม่อยากโทษให้ “ชาวบ้าน” ซึ่งก็น่ารับฟัง แต่.. ผมว่า ไม่โทษก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรละเลย เพราะปัญหาสำคัญมากในบ้านเรา คือ ที่มักเสียหายหนักเวลาเจอภัยพิบัติ คือ ความตื่นตัว
ผมชอบแบบแผนของญี่ปุ่น เวลาเจอภัยพิบัติ คือ ทั้งเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว มีฃำดับขั้นตอน ชัดเจน เริ่มตั้งแต่ มีเสียงเตือนภัย ดังขึ้น เท่านั้น ประชาชนจะรู้เลยว่า ตนเองต้องจัดการอย่างไร อาทิ วิ่งหาที่สูง ออกจากอาคาร เอาตัวเองรอดก่อน หรือ ช่วยกันทันที ไปถึงที่หลบภัย ก็มีระเบียบ วินัย ทำให้เจ้าหน้าทีรทำงานง่ายขึ้น เร็วขึ้น
อ่านจากรายงานในบทวิเคราะห์ ของน้อง หลายจุดที่เป็นปัญหาซ้ำๆ วันนี้ ผมไม่ตำหนิ รัฐ เพราะพูดมามากแล้ว แต่จะเอ่ยถึง ปัญหาในรายงานคือ ได้ยินผู้ประกาศ แต่ไม่รู้ตอนไหน ทราบข่าวรายงาน ตลอด ไม่คิดว่าน้ำจะวน มากลางคืน ไม่ทันระวังตัว ไม่มีระบบเตือนภัยกลางคืน และน้ำมาเร็วมาก!!
ภาพที่ผมนึกออก คือ ความยังไม่อยากขยับ ไม่อยากย้าย ห่วงของ ทำไม่ทัน ชะล่าใจ รอดูสถานหารณ์ไปก่อน สรุป คือ ไม่ตื่นตัว เหมือนกรณีที่อื่น อื่นๆ แทบทุกครั้ง ที่เกิดเหตุ และสุดท้าย ก็พูดคล้ายๆ เกือบทุกที่ว่า เกิดมาไม่เคยเจอ หรือ 10 ปี 20 ปี 30 หรือ 50 ปี ไม่เคยเห็นน้ำท่วมแบบนี้
นี่คือเหตุผล หลักๆ ตั้งแต่ผมเคยทำ อาสาสมัครเมื่อเกือบ 20 ปี ก่อน เวลาไปสอบถามเหตุการณ์ชาวบ้าน ทั้งๆ ที่ที่ตั้งบ้าน หรือ หมู่บ้าน ตามภูมิศาสตร์หรือที่ตั้งบ้านเรือน อยู่ใกล้ หรือติดริมน้ำ อยู่ในร่องหุบเขา ที่ลาดชันหุบเขา อยู่ในที่ลุ่ม ก้นกระทะ หรือ มีภูเขาล้อมรอบ ทั้งหมดคือ ความรู้เชิงภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งถ้าคนเคยเรียนผ่านมัธยมปลายมา จะมีวิชานี้ให้เข้าใจได้ หรือ ถ้าฟัง เรื่องเล่าคนแก่ ๆ อาจจะเคยมี หรือ ความรู้ทั่วไปที่ออกตามสื่อ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต ที่มีน้ำท่วม ในที่ต่างๆ ทั่วโลก ก็มีรายงานทุกวัน ที่เกิดขึ้นไม่ได้ น้ำท่วมทะเลทราย ก็เกิดมาแล้ว เราอยู่ในเขตมรสุม มรเส้นศูนย์สูตร พาดผ่าน หมายถึง มีฝนตกชุก คำนี้เราก็ท่องมาแต่เด็ก และเรามีเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำๆ ทุกปี ในประเทศนี้ แต่กลับน้อยคน จะหาความรู้พื้นฐานของการมีชีวิต คือ ภัยพิบัติ ทำไมเราถึง อ่อนด้อยการเป็นสังคมเรียนรู้ ทำไมเราไม่ค้นคว้า สอบถาม พูดคุย และทำไม ไม่มีวัฒนธรรมความตระหนัก ตื่นตัว เรื่องภัยพิบัติ!!!
ผมนึกาพอแกเลยว่า หลายคนคงห่วงข้าวของ จะยกโยกย้ายก็ลำบาก ไม่มีคน ไม่มีแรง หรือจะโยกย้าย ทรัพย์สินอื่นๆ สัตว์เลี้ยง รถรา ก็ไม่รู้จะเอาไปไหน ทุกที่เหมือนๆกันหมด ไม่งั้น ก็ไกล โน้น!! สรุปเลย ดูไปก่อน ไม่ตระเตรียม ไม่มีแผนของตัวเอง 1 2 3
แน่นอน การโทษรัฐ เราโทษ กรมอุตุ เราโทษ กรมป้องกันภัย (อปพร. ) เราโทษมหาดไทย ฝ่ายปกครอง ผู้ใหญ่บาน อบต. ซึ่งก็โทษได้ และก็โทษทุกปี เพราะรัฐ ไม่มีปากเถียง ว่ารัฐ ไม่มีแผน ไม่มีการตระเตรียม รัฐไม่แจ้ง ตอนน้ำขึ้นสูง ทั้งๆที่ แน่ใจหรอว่า ถ้าแจ้ง ประชาชนจะตระหนัก ทำตาม รีบร้อน จัดตัวเองได้ทันท่วงที บางเหตุผล ย้ำว่า รัฐทำอะไรไม่ได้ ตอนนั้น ไฟดับ น้ำขึ้นเร็ว วิ่งบอกใครไม่ทัน และ รัฐ หมายถึงตัวเจ้าหน้าที่ ผมเดาว่า ก็เอาตัวเองให้รอดเหมือนกัน เผลอวันนั้น หลายครอบครัวน่าจะนอนหลับ ฝันดี อย่างเฉยเมย ไม่รู้ร้อนรู้หนาว ด้วยเหตุผลโง่ๆ บอกตัวเอง สุดท้ายก็สูญเสีย ย่อยยับ ปล่อยให้น้ำขึ้นท่วม โดยไม่ได้ทำอะไร สักอย่าง!!
สำหรับผม นอกจากที่เราจะไล่คาด เอาผิด ด่ารัฐ ซ้ำๆ ก็กลับมาทบทวนจริงๆ ทั้งระบบ เรื่อง รัฐ ต้องมีแผนรับมืออย่างไร หลายคนคงจำได้หมด แล้ว ประชาชน ชุมชน หละ ? ข้าวของ ของใช้ อาคาร บ้านเรือน สัตว์เลี้ยง ควรจะออกแบบ ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิกาศ หรือ ง่ายในการจัดการ ลองจำลองเหตุการณ์ ถ้าน้ำท่วม ฉับพลัน เราจะทำย่างไร ก่อน หลัง
ไอ้ที่พูดกัน ว่า โลกร้อนๆ ก็รู้หรือได้ยินทุกวัน วันนี้ก็ตระหนักได้แล้ว ไม่มีอะไร ไม่เคย หรือ ไม่อาจจะเกิดขึ้น บนผืนโลกนี้ จำใส่กะโหลกหนาๆ ไว้เลย
...
เข้าอ่านบทความดีๆ จากน้องนักวิชาการ ได้ตามนี้ครับ
https://www.facebook.com/share/p/ah2CZ52sVusmQjLb/
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
20 Sep 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม