แอมเนสตี้ยืนหยัดทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อไป แม้มีเสียงขับไล่ให้ออกนอกประเทศ

1925 16 Feb 2022

16 กุมภาพันธ์ 2565
 

แอมเนสตี้ยืนหยัดทำงานเพื่อสิทธิมนุษยชนต่อไป แม้มีเสียงขับไล่ให้ออกนอกประเทศ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลทำงานในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน และให้คำมั่นที่จะดำเนินงานต่อไป เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศนี้ แม้มีเสียงเรียกร้องให้ขับไล่องค์กรออกจากประเทศ ทางองค์กรกล่าวในวันนี้

ไคลด์ วอร์ด รองเลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเผยว่า ในฐานะที่เป็นขบวนการของคนธรรมดาที่เคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ที่มีการดำเนินงานในกว่า 70 ประเทศ มีสมาชิกและผู้สนับสนุนใน 150 ประเทศและดินแดน ไม่ว่าเป็นการดำเนินงานในที่ใด เราต่างมีภารกิจเดียวกันคือ การป้องกัน ตรวจสอบ และกระตุ้นให้รัฐ บรรษัท และหน่วยงานหรือบุคคลอื่นต้องรับผิดชอบต่อการปฏิบัติมิชอบด้านสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายระหว่างประเทศ

เราให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ต่อทางการเกี่ยวกับการดำเนินงานที่ทำได้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของตน เราจะยังคงดำเนินงานเช่นนี้ต่อไปอย่างเป็นอิสระและไม่ลำเอียง และตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ต่อกรณีที่มีการรณรงค์ต่อต้านแอมเนสตี้ และการตรวจสอบที่เกี่ยวข้อง เราพร้อมจะตอบคำถามที่รัฐบาลมีเกี่ยวกับการทำงานของเราในประเทศไทยต่อไป

แม้เราตระหนักว่า รัฐบาลไทยมีหน้าที่คุ้มครองความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐ แต่เรายังคงต้องเน้นย้ำว่า ทางการต้องปฏิบัติหน้าที่นี้ในลักษณะที่สอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และต้องเป็นการดำเนินงานที่ได้สัดส่วน จำเป็น และตอบสนองต่อพันธกรณีของรัฐบาล เพื่อประกันและสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ

ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อให้ทางการปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของตน จัดทำขึ้นตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีการให้ความเห็นชอบในระดับสากล และประเทศไทยให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตาม”

การรณรงค์ต่อต้านแอมเนสตี้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ทางการกำลังดำเนินงานเพื่อประกาศใช้กฎหมายที่กำลังถูกจับตามอง เพื่อควบคุมกำกับหน่วยงานไม่แสวงหากำไรในประเทศ ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.. .... ฉบับนี้อาจส่งผลอย่างร้ายแรงต่อภาคประชาสังคมทุกส่วนในประเทศไทย และที่ผ่านมาแอมเนสตี้ได้เรียกร้องในทุกโอกาสที่เป็นไปได้ เพื่อให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายนี้ และให้เปิดรับฟังความเห็นเพิ่มเติม การโจมตีแอมเนสตี้เกิดขึ้นพร้อมกับสภาวะที่ทางการไทยดูจะมีความอดทนต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสิทธิมนุษยชนน้อยลง”


 

ข้อมูลพื้นฐาน

ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้เรียกร้องอย่างเปิดเผย ให้ขับไล่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลออกจากประเทศไทย เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวได้จัดทำการลงชื่อทางออนไลน์ สนับสนุนการรณรงค์ผ่านโซเชียลมีเดีย และการจัดประท้วงขนาดเล็ก

นายกรัฐมนตรีตอบสนองด้วยการประกาศให้มีการสอบสวนแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นขบวนการของคนธรรมดามากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลก ที่ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคมที่เท่าเทียมและยุติธรรมสำหรับทุกคน ประกอบด้วยสำนักเลขาธิการใหญ่ และเครือข่ายสมาชิกระหว่างประเทศและหน่วยงานที่เป็นสมาชิกระดับประเทศ รวมทั้งแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แม้ว่าแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยและสำนักเลขาธิการใหญ่จะเป็นองค์กรนิติบุคคลที่แยกจากกัน แต่มีการร่วมมือทำงานอย่างใกล้ชิดภายใต้ธรรมนูญฉบับเดียวกัน

 

 

16 February 2022

Thailand: Amnesty committed to continuing its work despite calls for expulsion

Amnesty International has had a longstanding presence in Thailand and is committed to continuing to promote and protect human rights for people in the country despite calls for it to be expelled, the organization said today.

As a global movement with operations in more than 70 countries and members in 150 countries and territories, no matter where we operate, our job remains the same: to prevent, monitor and hold states, corporations and others accountable for abuses of human rights under international law,” said Kyle Ward, Amnesty International’s Deputy Secretary General.

We offer constructive recommendations to authorities on steps they can take to uphold their international human rights obligations. We will continue to do this independently and impartially on the basis of facts. In response to the anti-Amnesty campaign and related investigation, we continue to answer any questions the Thai government may have about our work in the country.

While we recognize that the Royal Thai Government has a duty to protect public order and national security, we continue to highlight that authorities must do so in a manner that is in accordance with international human rights law, and that is proportionate, necessary and fulfils the government’s obligations to ensure and facilitate respect for human rights, including the rights to freedom of expression and peaceful assembly.

Amnesty International’s constructive recommendations for authorities to fulfil their human rights obligations derive from internationally agreed human rights standards that Thailand has committed to uphold.

The anti-Amnesty campaign comes at a time when authorities are separately trying to pass a controversial law regulating non-profit organizations in the country. This NPO law could have severe consequences for all civil society in Thailand, and Amnesty has repeatedly called on the government to withdraw the bill and seek further consultation. The targeting of Amnesty is taking place against a backdrop of a growing intolerance for human rights discourse among Thai authorities.”


 

Background:

In November, a vice minister in the Prime Minister’s office made public calls for Amnesty International to be expelled from Thailand. The official has started an online petition, helped organize calls on social media and staged small protests.

The prime minister responded by announcing an investigation into Amnesty International Thailand on 26 November.

The global Amnesty International movement is made up of the International Secretariat and a network of international members and national membership entities, including Amnesty International Thailand. Whilst Amnesty International Thailand and the International Secretariat are separate legal entities, they work closely together under the same Statute.

 

 

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม