3775 22 Dec 2018
เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2561 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 รัฐ
ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 เรื่อง การ
ให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เพื่อปลดล็อคการทำกิจกรรมทางการเมือ
งอันจะนำไปสู่การเลือกตั้ง
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่ยังดำรงอยู่ แม้จะมีคำสั่ง
ฉบับนี้ ดังต่อไปนี้
1. กรณีการทำธุรกรรมทางการเงินและการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน
คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ได้ยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 10/2557 ซึ่งมีผลระงับธุรกรรมทางการเงิน
หรืออายัดบัญชีของนายจาตุรนต์ ฉายแสง แต่ไม่รวมถึงกรณีของนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ที่ขณะนี้ไม่ได้
พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว รวมถึงยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ 26/2557 ที่ให้ระงับธุรกรรมทางการเงินนาย
สมบัติ บุญงามอนงค์ จ่าสิบตำรวจประสิทธิ์ ไชยศีรษะ ซึ่งทั้ง 3 คนถูกระงับธุรกรรมทางการเงินเนื่องมาจาก
ไม่เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.
2. กรณีการกำหนดเงื่อนไขห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง (MOU)
(.) ยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่....เรื่อง การกำหนดเงื@อนไข การปล่อยตัวของบุคคลที่
มารายงานตัวต่อ คสช.
(O) ยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที่.... เรื่อง การกำหนดเงื่อนไข การปล่อยตัวของบุคคลที่
ถูกกักตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช *O+C มาตรา !+ ทวิ
คำสั่งดังกล่าวยกเลิกเงื่อนไขการปล่อยตัวบุคคล หรือ MOU ของคนที่มารายงานตัวและถูกกักตัว
ตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ซึ่งห้ามไม่ให้ผู้ถูกปล่อยตัวเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้
รับอนุญาตจาก คสช. และห้ามเคลื่อนไหวหรือสนับสนุนการชุมนุมทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขการปล่อยตัว หรือ MOU ของผู้ถูกควบคุมตัวตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่
3/2558 ซึ่งประกาศใช้หลังยกเลิกการใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2558 ในข้อ 11 ที่
มิได้ถูกยกเลิกไปด้วย และการกำหนดว่า การยกเลิกประกาศและคำสั่งในคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561
ไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไป
ก่อนการยกเลิกโดยคำสั่งนี้ ยังคลุมเครือและขาดความชัดเจนว่า คดีฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยตัวที่กำลัง
ดำเนินคดีอยู่ในศาลทหารจะยุติลงหรือไม่ ทำให้เป็นภาระในการต่อสู้คดีของจำเลย
นอกจากนี้แม้บุคคลที่ยอมลงนามในเงื่อนไขการปล่อยตัว หลังมารายงานตัวต่อ คสช. จะไม่มีผล
ผูกพันใด ๆ ตามประกาศคสช.ฉบับที่ 39/2557 แล้ว แต่ผู้ที่ไม่มารายงานตัวตามคำสั่ง คสช. ยังคงมีความ
ผิดตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 และจะถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
3. กรณีความผิดเกี่ยวกับการห้ามชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมือง
(C) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที....เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ
เฉพาะในข้อ !
...การยกเลิกประกาศและคำสั่งตามข้อ ! ไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ
หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อนการยกเลิกโดยคำสั่งนี^
คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 มีผลยกเลิกความผิดฐานมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ
ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ทำให้ประชาชนและพรรคการเมือง
สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธ.ค. 2561 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตาม การกำหนดว่า การยกเลิกประกาศและคำสั่งในคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ไม่
กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อ
นการยกเลิกโดยคำสั่งนี้ ยังคลุมเครือและขาดความชัดเจนว่า คดีชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ที่
ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ข้อ 12 ซึ่งกำลังดำเนินคดีอยู่ทั้งในศาลทหารและศาลยุติธรรมจะยุติ
ลงหรือไม่ ทำให้เป็นภาระในการต่อสู้คดีของจำเลย
4. กรณีการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
ก่อนหน้านี้ในยุค คสช. มีประกาศและคำสั่งจำนวนหนึ่งห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรม และห้าม
ประชาชนดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ประกาศและคำสั่งเหล่านี้ถูกยกเลิกโดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่
22/2561 ดังนี้
(+) ยกเลิกประกาศ คสช. ฉบับที... เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับ
มีผลบังคับใช้ต่อไปเฉพาะในข้อ * ซึ่งห้ามมิให้พรรคการเมืองที่มีอยู่แล้วดำเนินการประชุม หรือดำเนินกิจ
การใด ๆ ในทางการเมือง และการดำเนินการเพื่อการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมืองให้ระงับไว้เป็น
การชั่วคราว รวมทั้งให้ระงับการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองของกองทุนเพื่อการพัฒนา พรรคการ
เมืองไว้เป็นการชั่วคราว
(,) คำสั่ง คสช. ที่... เรื่อง ให้บุคคลปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งกำหนดให้บุคคลที่มีค
วามเกี่ยวข้องทางการเมือง 18 ราย ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรและละเว้นการเคลื่อนไหวหรือประ
ชุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ หากฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวหรือดำเนินการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมทางการ
เมือง ให้ถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศ คสช. ฉบับที่ 39/2557
(X) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่... เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง เฉพาะในข้อ O ข้อ + และข้อ C ซึ่งห้ามพรรคการเมืองจัดประชุมใหญ่ รวมทั้งการจัดตั้ง
สาขาพรรคการเมืองและตัวแทน พรรคการเมืองประจำจังหวัด การประชุมสมาชิกพรรคการเมือง หรือ
การดำเนินการอื่นใดในทางการเมือง การประชุมเพื่อยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เว้นแต่
จะได้รับอนุญาตจาก คสช.
(A) คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่....เรื่อง การดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
พรรคการเมือง (เพิ่มเติม) เฉพาะในข้อ , ซึ่งกำหนดให้พรรคการเมืองจะดำเนินการประชาสัมพันธ์หรือ
ติดต่อสื่อสารกับผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ภายในพรรคการเมืองและสมาชิกของพรรคการเมืองของตน โดยวิธี
ผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ แต่การดำเนินการนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการ
หาเสียง ทั้งนี้ คณะกรรมการ การเลือกตั้งและ คสช. อาจกำหนดลักษณะต้องห้ามของการประชาสัมพันธ์
หรือการติดต่อสื่อสารที่จะมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือสั่งให้มีการระงับ การ
ดำเนินการดังกล่าวก็ได้
ความคลุมเครือของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561
แม้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 ดูเหมือนจะยกเลิกความผิดทางอาญาฐานฝ่าฝืนเงื่อนไขการป
ล่อยตัว และฐานชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แต่การระบุให้การยกเลิกประกาศและคำสั่งไม่
กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อ
นการยกเลิกโดยคำสั่งนี้ ยังก่อให้เกิดความคลุมเครือในการตีความและเป็นภาระในการต่อสู้คดีของจำเลย
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า จะต้องยึดหลักการตามมาตรา 2 ประมวลกฎหมา
ยอาญา ซึ่งรับรองหลักไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nullum Crimen Nulla Poena Sene Lege) อันเป็น
หัวใจของกฎหมายอาญาว่า “บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอนั กฎหมายที่ใช้
ในขณะกระทำนั^นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั^น ต้อง
เป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย” นอกจากนี้ ในวรรค 2 ของมาตราเดียวกันยังกำหนดอีกว่ า ถ้าหา
กมีกฎหมายบัญญัติขึ้นในภายหลังให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ก็ให้ผู้กระทำความผิดนั้นพ้นจา
กการเป็นผู้กระทำความผิด หรือหากถ้าขณะนั้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษเเล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคย
ต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด หรือหากได้รับโทษอยู่ ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
ดังนั้น ผลของการประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 22/2561 จึงทำให้ความผิดฐาน ฝ่าฝืนเงื่อนไขการ
ปล่อยตัว และมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งเเต่ 5 คนขึ้นไป ถูกยกเลิกไป ศาลไม่อาจอ้างประกาศคำสั่งที่
ถูกยกเลิกมาบังคับใช้แก่ลงโทษผู้ถูกดำเนินคดีในความผิดฐานนี้ได้อีก นอกจากนี้ ยังทำให้สิทธิในการ
ดำเนินคดีอาญาระงับลงด้วย ตามมาตรา 39 (5) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อำนาจที่คณะรักษาความสงบแห่งชาตินั้นยังควบคุมอยู่
แม้ คสช. จะผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการดำเนินการทางการเมืองเพื่อนำไปสู่บรรยากาศ
การเลือกตั้ง แต่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเห็นว่า อำนาจในการควบคุมและจำกัดเสรีภาพ
ประชาชนนั้นยังคงมีอยู่ในประเด็นสำคัญต่อไปนี้
1. หัวหน้า คสช. ยังมีอำนาจตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557
และมาตรา 265 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ซึ่งอำนาจดังกล่าวจะคงอยู่จนกว่าจะ
มีคณะรัฐมนตรีตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่หลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ อันหมายความ
ว่าหัวหน้าคสช. จะยังมีอำนาจอย่างเด็ดขาดที่จะออกคำสั่งใดๆ ก็ตาม เพื่อควบคุมเเละบริหารประเทศ
ตลอดระยะเวลาก่อน ระหว่าง และหลังการเลือกตั้ง โดยคำสั่งนั้นยังเป็นที่สุด เพราะปราศจากการตรวจ
สอบจากศาล อีกทั้งยังชอบด้วยกฎหมายเเละรัฐธรรมนูญ
2. เจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 และเจ้า
พนักงานป้องกันและปราบปรามตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 13/2559 ยังคงมีอำนาจในการจับกุม เข้า
ไปในเคหสถาน ยึด ควบคุมตัวบุคคลไม่เกิน 7 วัน หรือ “การปรับทัศนคติ” จะยังมีอยู่ และเป็นปฏิบัติ
การหลักที่ทำให้ประชาชนหวาดกลัวในการใช้สิทธิเสรีภาพตลอดมา
3. ความผิดฐานมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ตามคำสั่งหัวหน้า
คสช.ที่ 3/2558 ซึ่งยกเลิกแล้วแต่กำหนดเงื่อนไขไม่ให้กระทบกระเทือนคดีนั้นขาดความชัดเจน ทำให้
บุคคลที่ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาดังกล่าวยังคงมีภาระในการต่อสู้คดีเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ นอกจากนี้
ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ซึ่งกำหนดความผิดแบบเดียวกันยังไม่ถูกยกเลิกแต่อย่างใด
4. ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้มารายงานตัวตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 41/2557 นั้นยังคงอยู่ เช่นเดีย
วกับการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร ในคดีที่เกิดขึ้นระหว่าง 25 พ.ค. 2557 - 11 ก.ย. 2559 ซึ่งมิได้
ถูกยกเลิกไปด้วยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 55/2559 ทำให้บุคคลไม่อาจใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกได้
อย่างเต็มที่
5. นอกจากประกาศและคำสั่ง คสช. แล้ว คสช. ยังมีเครื่องมือในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก ผ่า
นการดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 และพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
20 Sep 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม