Cadmium

1916 12 Oct 2012

Cadmium โดย นพ.คุณากร สินธพพงศ์ (11 มิถุนายน พ.ศ. 2554) ชื่อ แคดเมียม (cadmium) ชื่ออื่น Colloidal cadmium น้ำหนักอะตอม 112.411 CAS number 7440-43-9 UN number 2570 ลักษณะทางกายภาพ เป็นแร่โลหะสีเงินขาว อ่อนตัว เป็นมันเงา หรือเป็นผงเม็ดละเอียดสีเทา คำอธิบาย แคดเมียมในธรรมชาติพบในรูปแบบของสารประกอบซัลไฟด์ซึ่งจะพบร่วมกับสังกะสีและทองแดง โดยทั่วไปได้รับเข้าสู่ร่างกายในการทำเหมืองแร่ และหลอมสังกะสี ทองแดง และตะกั่ว แคดเมียมถูกใช้ในการชุบโลหะ ด้วยคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนของมัน เกลือโลหะของมัน ถูกใช้ในการทำเม็ดสีและการคงรูปพลาสติก แคดเมียมอัลลอยด์ถูกใช้ในการประสาน, การเชื่อม และใน แบตเตอรี่ชนิดนิกเกิล-แคดเมียม ตัวประสานแคดเมียมในท่อน้ำและเม็ดสีแคดเมียมในเครื่องปั้นดินเผา สามารถเป็นแหล่งของการปนเปื้อนของน้ำและอาหารที่มีความเป็นกรด ค่ามาตรฐานในสถานที่ทำงาน ACGIH TLV – TWA 0.01 mg/m3 |||| NIOSH REL – Ca ||||| OSHA PEL – TWA 0.00 5 mg/m3 |||| IDLH – 9 mg/m3 || กฎหมายไทย Cadmium fume TWA - 0.1 mg/m3, Ceiling 0.3 mg/m3, Cadmium dust TWA – 0.2 mg/m3, Ceiling 0.6 mg/m3 ค่ามาตรฐานในร่างกาย ACGIH (2007) BEI – Cadmium in urine = 5 ug/g creatinine (not critical for sampling time), Cadmium in blood = 5 ug/L (not critical for sampling time) คุณสมบัติก่อมะเร็ง IARC Group 1 ||||| ACGIH A 2 Carcinogenicity แหล่งที่พบในธรรมชาติ พบในน้ำและดินที่มีแร่แคดเมียมอยู่ อุตสาหกรรมที่ใช้ การเชื่อมและประสานโลหะ การชุบโลหะ การคงรูปพลาสติก การทำเม็ดสี การทำแบตเตอรี่ กลไกการก่อโรค การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดพิษอย่างน้อย 60 เท่าของการกิน ไอระเหยและฝุ่น อาจจะก่อให้เกิดภาวะปอดอักเสบ (Delayed chemical pneumonitis) และเป็นผลให้ปอดบวมน้ำและเลือดออกในปอด การกินเข้าไป ทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร เมื่อมีการดูดซึมแคดเมียมจะรวมตัวกับ metallothionein และกรองผ่านไตที่ซึ่งจะเกิดการทำลายท่อไต การเตรียมตัวเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุ หยุดการสัมผัสสาร โดยนำผู้ป่วยมาไว้ในจุดที่ไม่มีการปนเปื้อน ผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยควรได้รับการฝึกเป็นอย่างดีและไม่ทำให้ตนเองอยู่ในความเสี่ยง ใส่เครื่องป้องกันอย่างเหมาะสม หากเป็นไปได้ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจด้วย SCBA – self contained breathing apparatus อาการทางคลินิก การสัมผัสโดยตรง ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการดูดซึมแคดเมียมทางผิวหนังในมนุษย์ อาการการหายใจอย่างเฉียบพลัน ทำให้ไอ หายใจมีเสียงวี้ด ปวดศีรษะ มีไข้ และหากรุนแรง ทำให้ปวดอักเสบแบบ chemical pneumonitis และปวดบวมน้ำแบบ noncardiogenic ภายใน 12-24 ชม.หลังจากสัมผัสโดยการหายใจ อาการทางการหายใจระยะยาว ในปริมาณสูงสัมพันธ์กับการก่อโรคมะเร็งปอด อาการทางทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน เกลือแคดเมียมทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ อาเจียน ปวดท้องและ ถ่ายเหลว บางครั้งมีเลือดปนในไม่กี่นาทีหลังจากทานเข้าไป การตายหลังจากทานเข้าไปเกิดจากภาวะช็อกเนื่องจากขาดน้ำหรือเกิดจากไตวายเฉียบพลัน อาการทางทางเดินอาหารระยะยาว เป็นผลให้เกิดการสะสมของแคดเมียมในกระดูกทำให้เกิดโรคอิไตอิไต (Itai-itai) และในไตทำให้เกิดโรคไตเสื่อม การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขึ้นกับประวัติการสัมผัสและอาการของผู้ป่วยในขณะนั้นทั้งอาการทางการหายใจและอาการทางทางเดินอาหาร การตรวจจำเพาะ ระดับแคดเมียมในเลือด (whole blood cadmium) ยืนยันการสัมผัสสารค่าปกติไม่เกิน 1 ug/L แคดเมียมปริมาณน้อยมากจะถูกขับมาในปัสสาวะจนกว่าแคดเมียมที่ถูกจับ (โดยmetallothionein) ในไตจะเกินและเกิดการทำลายไตเกิดขึ้น แคดเมียมในปัสสาวะค่าปกติไม่เกิน 1 1ug/g Creatinine การตรวจวัดไมโครอัลบูมินในปัสสาวะ (beta-microglobulin, retinol-binding protein, albumin, metallothionein) ใช้ในการติดตามผลจากความเป็นพิษของแคดเมียมที่ไต การตรวจอื่นๆ เช่น การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC), เกลือแร่ในเลือด (Electrolyte), glucose , BUN, creatinine, ค่าออกซิเจนในเลือดแดง (arterial blood gas) หรือ oximetry และการตรวจภาพรังสีปอด (CXR) การดูแลรักษา ปฐมพยาบาล นำผู้ป่วยออกจากจุดเกิดเหตุ ดูแลเรื่องการทำงานของระบบที่สำคัญ เช่น ระบบหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต ถ้าผู้ป่วยหมดสติควรทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งและให้ออกซิเจน 100% การสัมผัสโดยการหายใจ ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจให้เริ่มทำการช่วยหายใจด้วยการเป่าปากทันที ถ้าเป็นไปได้ให้ใช้ pocket mask ที่มี one way valve เพราะทางเดินหายใจและหน้าของผู้ช่วยเหลืออาจปนเปื้อนได้ การสัมผัสทางผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออก ถ้าเป็นไปได้ให้ทำขณะที่มีน้ำล้างอยู่ด้วยแล้วนำเสื้อผ้าเก็บไว้ในถุงใสปิดสนิทสองชั้นและเขียนป้ายกำกับไว้ เก็บไว้ในที่ปลอดภัยที่ห่างจากผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ล้างผิวหนังด้วยน้ำปริมาณมากโดยให้น้ำไหลผ่านไป การสัมผัสทางตา ล้างตาด้วยน้ำเกลือ (normal saline solution) อย่างน้อยเป็นเวลา 15 นาที การสัมผัสทางการกิน ให้ผู้ป่วยรับประทานน้ำ (ปริมาณไม่เกิน 50 - 100 มิลลิลิตร) การเฝ้าระวัง สื่อสารความเสี่ยงให้ประชาชนเข้าใจ การตรวจระดับโปรตีนในปัสสาวะ (beta-globulin) เป็นการตรวจที่ไวที่สุดของการเฝ้าระวังพิษจากแคดเมียม มูลนิธิสัมมาอาชีวะ พ.ศ. 2554 ไม่สงวนลิขสิทธิ์

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม