ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…. (ฉบับผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ)

1495 24 Aug 2012

ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…. (ฉบับผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ) ________________________________________ เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • ร่างพรบ..ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ….(ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ) ร่างกฎหมายฉบับอื่นๆ • ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ….(คณะรัฐมนตรี) • ร่างพรบ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…..(คุณเจริญ จรรย์โกมลและคณะ) • ร่างพรบ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…..(คุณผุสดี ตามไท และคณะ) • ร่างพรบ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…..(คุณวิชัย ล้ำสุทธิ และคณะ) • ร่างพรบ. ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…..(ดร.ภูมิ มูลศิลป์ และ ปชช. ๑๐,๕๗๑ คน) • ร่างพรบ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ……(สถาบันพระปกเกล้า และประชาชน ๑๒,๔๖๖ คน) การเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบทาง ตรง (Direct democracy) รูปแบบหนึ่ง โดยประชาชนสามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้โดยตรงผ่านการเสนอร่างกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญหรือร่างกฎหมายอื่นๆ โดยเป้าหมายหลักคือเพื่อให้ประชาชนสามารถมีอิทธิพลโดยตรงต่อทิศทางนโยบายของ รัฐบาลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งที่เป็นการเสนอกฎหมายใหม่ หรือการแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่เดิมผ่านการถกเถียงสาธารณะ ด้วยการรวบรวมรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนข้อเสนอนั้นๆ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๑๗๐ ได้บัญญัติรับรองสิทธิในการเข้าไปมีส่วนร่วมในด้านการเมืองการปกครองของ ประชาชนโดยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ คน มีสิทธิเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้รัฐสภา พิจารณากฎหมายตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ขณะเดียวกันก็ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๑๗๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กระบวนการและขั้นตอนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ถูกยกเลิกโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงรับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าชื่อ เสนอกฎหมายไว้เช่นเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอ กฎหมายเหลือไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ และไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ รายชื่อในกรณีเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ทำให้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.๒๕๔๒ มีเนื้อหาไม่ตรงตามที่รัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ บัญญัติไว้ ดังนั้นจึงมีการเสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีการเข้าชื่อของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ….. รวมทั้งสิ้น ๖ ฉบับ โดยจำนวน ๒ ฉบับ เป็นร่างกฎหมายที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ประกอบด้วย ๑. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…. ซึ่งประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ ได้แก่ ๑.๑ นายภูมิ มูลศิลป์ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๐,๗๕๑ คน เป็นผู้เสนอ ๑.๒ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๒,๔๔๖ คน เป็นผู้เสนอ ๒. ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…. ซึ่งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้เสนอ ได้แก่ ๒.๑ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ (สมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี) ๒.๒ นายวิชัย ล้ำวิสุทธิ กับคณะเป็นผู้เสนอ ๒.๓ ดร.ผุสดี ตามไท กับคณะเป็นผู้เสนอ ๒.๔ นายเจริญ จันทร์โกมล กับคณะเป็นผู้เสนอ ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้มีการแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราช บัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ… เพื่อพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว โดยดำเนินการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๕ และได้รายงานต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันพุธที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตามร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ…..มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในระบอบ ประชาธิปไตยของภาคประชาชน หากร่างกฎหมายกฎหมายดังกล่าวสามารถวางรากฐานกระบวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ อย่างมีประสิทธิภาพก็จะเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการ เมืองการปกครองมากยิ่งขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามหากกฎหมายที่จะบังคับใช้ดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยก็จะกลาย เป็นข้อจำกัดได้เช่นกัน ทั้งนี้จากการศึกษาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ… ซึ่งผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯ มีหลักการและเนื้อหาที่แตกต่างไปจากที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้ เสนอในหลายประเด็น คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนา กฎหมายด้านการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชนรับผิดชอบเรื่องดัง กล่าว โดยได้กำหนดจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ เข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ… (ฉบับผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯ) ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐ น. ณ โรงแรมทีเค พาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ ดังนั้นคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการกระจายอำนาจและ การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ… (ฉบับผ่านการพิจารณาของกรรมาธิการวิสามัญฯ) โดยสามารถส่งความเห็นผ่านทางเว๊ปไซต์ (http://www.lrct.go.th/?p=1613) หรืออีเมลย์ pratheep180@gmail.com เพื่อรวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของท่านนำไปเสนอในที่ประชุมและนำไป ประกอบการพิจารณาต่อไป

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม