ค้านเหมืองแร่ กระทบสิ่งแวดล้อม

699 13 Jul 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ:
ชาวตำบลบัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ผวาเกี่ยวกับที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ พากันออกมาต่อต้านเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ได้มีการจัดประชาคมเเสดงความคิดเห็นเมื่อเดือนกันยายน 2552 บริเวณชุมชนแต่ไม่ผ่าน
ชาวตำบลบัววัฒนา อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ผวาเกี่ยวกับที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่จะเข้ามาทำเหมืองถ่านหินลิกไนต์ พากันออกมาต่อต้านเพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ได้มีการจัดประชาคมเเสดงความคิดเห็นเมื่อเดือนกันยายน 2552 บริเวณชุมชนแต่ไม่ผ่าน อยากให้เทศบาลตำบลบัววัฒนาเข้ามาช่วยเหลือ เพราะกลุ่มต้านเหมืองต่างพากันระบุว่า หากเหมืองนี้เกิดจะพากันอาศัยอยู่ในพื้นที่ไม่ได้อีกต่อไป เพราะจะได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสัตว์ รวมทั้งผู้คนจะต้องตายผ่อนส่งจากพิษภัยของเหมืองแอนทราไซท์ แม้ว่ามีหน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เข้ามาเพื่อทำประชาคมกับชาวบ้าน ระบุว่าปัญหานี้สามารถป้องกันและประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่ได้โดยไม่รับผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบันได้มีการจัดให้มีการประชาคมชาวบ้านเพื่อลงคะแนนเมื่อ วัน ที่ 28 กรกฎาคม 2555 เหมือนการเลือกตั้ง โดยตั้งเป็นข้องสังเกตที่ว่า ทำไมต้องลงคะแนนแบบลับ เจ้าหน้าที่มาดำเนินการรวบรัดพยายามให้การประชาคมผ่านไป ซึ่งเวลานั้นชาวบ้านขาดแกนนำ เพราะผู้นำได้ถูกซื้อตัวไปหมด ได้ข่าวว่าในเร็วๆ นี้จะมีการประชาคมอีก กัมภู / เพชรบูรณ์ ตอบ นาย สมัย พิมพู นายกเทศมนตรีตำบลบัววัฒนา จ.เพชรบูรณ์ ชี้แจงว่า ในการประชาคมที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2555 ผลการประชาคมยังไม่มีรายงานมายังเทศบาลตำบลบัววัฒนา ดังนั้นทางเทศบาลตำบลบัววัฒนายังไม่มีการเปิดประชุมพิจารณาเรื่องดังกล่าว ส่วน สาเหตุที่ต้องลงคะแนนลับนั้น เนื่องจากการที่ราษฎรในตำบล/พื้นที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ถ้าหากมีการลงคะแนนโดยเปิดเผยอาจทำให้ราษฎรที่ลงคะแนนอาจเกิดการทะเลาะ เบาะแว้งจากการที่มีความเห็นไม่ตรงกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการแตกความสามัคคีในชุมชน และกรณีที่กล่าวอ้างว่างผู้นำถูกซื้อตัวไปหมดนั้น ไม่เป็นความจริง เนื่องจากราษฎรได้วิตกกังวลเกินไป ทำให้เกิดจินตนาการต่างๆ ขึ้นมาเอง การ ดำเนินการที่จะเข้ามาสัมปทานเหมืองแร่ของบริษัทนั้น เทศบาลตำบลบัววัฒนาได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายทุกประการ บริษัทที่จะเข้ามาขอรับสัมปทานการทำเหมืองแร่ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.ต้องทำ EIA (ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) 2.ทำ ประชาคมในหมู่บ้านที่ขอสัมปทานเหมืองแร่โดยมีเจ้าของโครงการและอุตสาหกรรม จังหวัดเข้ามาชี้แจง ทำความเข้าใจให้กับราษฎรที่อยู่บริเวณที่ขอสัมปทานเหมืองแร่ 3.เมื่อทำประชาคมแล้ว ผลการประชาคมเป็นอย่างไรให้ประชาคมรายงานมายังเทศบาลเพื่อให้สภาเทศบาลตำบลบัววัฒนาให้ความเห็นชอบ 4.เมื่อ ทางสภาเทศบาลตำบลบัววัฒนาได้ประชุมแล้ว (เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ) จะได้ส่งรายงานอำเภอ จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป จังหวัด เพชรบูรณ์และเทศบาลตำบลบัววัฒนาได้มีความกังวลเกี่ยวกับความเดือดร้อนของ ประชาชนในพื้นที่กรณีที่จะมีบริษัทเข้ามาสัมปทานดำเนินการทำเหมืองแร่เอน ทราไซท์ในเขตพื้นที่ ต.บัววัฒนา จึงมอบหมายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการตามขั้นตอนของ EIA (ศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม) ซึ่งเป็นขั้นตอนดำเนินการตามกฎหมาย ได้ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากการทำเหมืองแร่ ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาชนิดของพืช สัตว์ แหล่งน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน และเมื่อผลการศึกษาที่ผ่านการดำเนินการจากนักวิชาการแล้วจักได้นำเสนอต่อที่ ประชุมประชาคมเพื่อพิจารณาในขั้นตอนต่อไป ที่มา www.komchadluek.net/detail/20120904/139179/ค้านเหมืองแร่กระทบสิ่งแวดล้อม.html#.UE1WPJZ3vH4

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม