ข้อเสนอทางนโยบายการกระจายการถือครองที่ดิน

1734 11 Jul 2012

การรับรองสิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินทั้งระบบ ………………………………………………………………………………………………………………………………………. หลักการสำคัญของการกระจายการถือครองที่ดิน ที่ดินคือสวัสดิการสังคม ที่รัฐต้องจัดให้เกษตรกรทุกคน บน พื้นฐานความเป็นธรรมที่ว่า ที่ดินไม่ใช่สินค้า หากคือทรัพยากรเพื่อการผลิตอาหารที่สำคัญของสังคม สังคมจึงต้องมีการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรม ให้คนจนและเกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงในที่อยู่อาศัยให้กับคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิของเกษตรกรรายย่อยและคนยากจน การ คุ้มครองสิทธิและอิสรภาพในการดารงชีวิต การตั้งถิ่นฐาน การอยู่อาศัย การทามาหากิน การได้รับสิทธิในการพัฒนาของเกษตรกรรายย่อยและคนจน โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม มิใช่การยึดตามตัวบทกฎหมายที่ขัดแย้งกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม จารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ที่ดินรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ที่ดินเอกชนที่กักตุนไว้เพื่อเก็งกำไร มีเจ้าของแต่ไม่มีการใช้ประโยชน์ คือตัวบ่งชี้ความไม่เป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ควรถูกมาใช้ในการ ผลิต กระจายและจัดสรรให้มีประโยชน์ต่อเกษตรกรไร้ที่ดิน และคนจนไร้ที่อยู่อาศัยอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมต่อการใช้ที่ดิน รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 85 แห่งรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ส่วนที่ 8 ด้านที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่ว ถึง โดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น แนวทางกระจายการถือครองที่ดิน การรับรองสิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินทั้งระบบ 1. การออกกฎหมายโฉนดชุมชนและกฎหมายสิทธิชุมชน การออก กฎหมายการจัดการที่ดินในรูปแบบโฉนดชุมชนและกฎหมายสิทธิชุมชน หมายความถึงการปรับโครงสร้างการจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในสังคมไทย โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ ป่าไม้ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อความโปร่งใส กระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อแก้ไขกรณีพิพาทในที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชน ซึ่งยังไม่มีแนวทางการแก้ไข กฎหมายโฉนดชุมชน และกฎหมายสิทธิชุมชน ควรมีหลักการที่สำคัญคือการเคารพในการดารงอยู่ของชุมชนเกษตรกร และวัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น กระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ และทะเล จากรัฐสู่ประชาชน คุ้มครองพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม และคุ้มครองสิทธิเกษตรกรรายย่อยให้สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน การประกันรายได้และราคาผลผลิตที่เป็นธรรม กองทุนชดเชยจากภัยธรรมชาติและกองทุนการช่วยเหลือด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียม 2. การจัดสรรงบประมาณสาหรับกองทุนธนาคารที่ดิน กองทุนธนาคารที่ดินคือกองทุนหลักประกันการเข้าถึงที่ดินของคนจนและคนไร้ที่ดินทั่วประเทศ ส่วนกองทุนที่ดินชุมชนคือกองทุนหลักประกัน การคุ้มครองพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมตลอดไป กองทุนที่ดินเหล่านี้จะดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพไม่ได้ หากไม่มีการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐเข้ามาดำเนินการ รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้กับกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อให้กองทุนนี้ เป็นกลไกในการจัดซื้อที่ดินจากภาคเอกชน ที่ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ หรือทาหน้าที่เจรจาขอใช้ที่ดินจากหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อนำที่ดินมาจัดสรรและกระจายให้กับคนไร้ที่ดินได้ใช้ประโยชน์อย่างเหมาะ สมต่อไป โดยการจัดซื้อที่ดินจากภาคธุรกิจเอกชน ที่ดิน NPL ควรเจรจาขอซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน เพื่อประโยชน์ในทางสาธารณะของสังคม 3. การจัดเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า เพื่อสร้างกลไก และเงื่อนไขให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นจริง ควรมีการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราที่ก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน ตามมูลค่าของที่ดิน และตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ในที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ดิน ควรจัดเก็บในที่ดินที่ไม่ได้ทาประโยชน์ ทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าเป็นเวลานานในอัตราภาษีที่สูงกว่าที่ดินที่มีการนำ ที่ดินไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ และควรมีการยกเว้นภาษีให้กับผู้ที่มีที่ดินถือครองในมูลค่าน้อยหรือเกษตรกร ที่ยากจน เพื่อไม่ให้ภาระภาษีตกแก่กลุ่มคนที่มีฐานะยากจนและต้องอาศัยที่ดินเป็น ปัจจัยการผลิตเพื่อดารงชีพ 4. การแก้ไขปัญหาคดีความคนจน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาคดีความสอดคล้องกับการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการ ที่ดิน เจตนารมณ์ของกฎหมายและรัฐธรรมนูญ และคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนจนและเกษตรกรรายย่อย รัฐบาลควรกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติสาหรับหน่วยงานภาครัฐดังนี้ 4.1 คดีพิพาทเรื่องที่ดิน การจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคดีอาญาอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติคดีมีคาสั่งไม่ฟ้อง 4.2 คดีพิพาทเรื่องที่ดิน การจัดการทรัพยากรและสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคดีแพ่งอยู่ในชั้นพิจารณาของศาลหรือศาลมีคาพิพากษาเสร็จเด็ดขาดแล้ว ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการถอนฟ้อง งดการบังคับคดี หรือถอนการบังคับคดีแล้วแต่กรณี 4.3 คดีพิพาทที่ยังไม่มีการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมและกรณีการใช้อำนาจทาง ปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบงดการดำเนินคดีหรือเพิกถอนคาสั่งทางปกครองไว้ จนกว่ากระบวนการปฏิรูปโครงสร้างการจัดการที่ดินของรัฐบาลจะแล้วเสร็จ 4.4 คดีพิพาทที่อยู่ในชั้นพิจารณาของศาล ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยเหลือ ชาวบ้านที่ต้องต่อสู้คดี ทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับศาล การประกันตัว ทนายความ และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปมาศาลของชาวบ้าน รวมทั้งให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรม ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการช่วยเหลือผู้ถูกคดีของกระทรวงยุติธรรมได้โดยง่าย 5. การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โครงสร้างกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อโครงสร้างการจัดการที่ดินและข้อพิพาทระหว่างประชาชน กับภาครัฐและนายทุน เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในการจัดการ ทรัพยากรที่ดินที่ยั่งยืนและเป็นธรรม รัฐบาลควรมีนโยบายปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมดังนี้ 5.1 ปรับปรุงประมวลกฎหมายที่ดินป่าไม้ให้มีเอกภาพ และวางหลักการของกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม จัดทาหลักเกณฑ์การกระจายอำนาจการจัดการทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เกิดความเป็นธรรมทางนิเวศควบคู่กับความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม 5.2 ให้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการและใช้ประโยชน์ จากทรัพยากร ตั้งแต่ชั้นเจ้าพนักงานสอบสวน เพื่อเป็นประโยชน์แก่อัยการและศาลในการพิจารณาคดีที่ดินป่าไม้ที่เกี่ยวข้อง กับสิทธิชุมชน 5.3 จัดตั้งหน่วยงานพิเศษในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับดินป่าไม้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ 5.4 จัดทากฎหมายวิธีพิจารณาคดีที่ดินป่าไม้เพื่อให้การพิจารณาคดีมีมาตรฐาน เป็นกระบวนการยุติธรรมที่เข้าถึงง่าย รวดเร็ว สะดวก และประหยัด ใช้วิธีการพิจารณาคดีที่หลากหลาย การเดินเผชิญสืบ การนำระบบไต่สวน ที่ยึดโยงกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมชุมชน มาประกอบการตัดสินคดี การพิจารณาจากหลักฐานบุคคลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การเจรจาไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ตลอดจนให้มีการกลั่นกรองคดีในระดับชุมชนก่อนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล 5.5 พัฒนาระบบการฟ้องคดีสาธารณะโดยให้ประชาชนสามารถฟ้องคดีได้ และรัฐฟ้องคดีอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนหรือชุมชนตื่นตัวต่อการรักษาทรัพยากรธรรมชาติของส่วน รวมมากขึ้น โดยเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย: www.landreformthai.net

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม