1387 13 Dec 2012
SEA เป็นแค่ยุทธศาสตร์ ไม่จำเป็นว่าโครงการจะต้องทำ เป็นการวิเคราะห์ข้อจำกัด ปัญหาในมิติสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เห็นไหมว่าวิเคระห์เลยไปถึงปัญหา วิเคราะห์ผลกระทบต่างๆที่มีในอดีต และอนาคต ถ้ามีเหมืองโปแตช อนาคตจะเป็นอย่างไร อดีตเป็นอย่างไรอนาคตจะมีข้าวกินไหมอีก50ปีข้างหน้า เลยไปถึงแนวโน้มผลกระทบที่เกิดขึ้น น้ำพอไหม ต้องประเมินข้อเท็จจริงของมันเลย การมีสวนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชนี้เป็นส่วนหนึ่งของ SEA คือกระบวนการการมีส่วนร่วมของ SEA ที่กลุ่มอนุรักษ์ปิดถนนแล้วยื่นหนังสือเพื่อให้ผู้ว่าฯผลักดันให้เกิด SEA ระดับจังหวัด หัวข้อเสนออีกส่วนหนึ่งคือเชิงนโยบาย พยายามกดดันนายกโดยเครือข่าย คปสม. ซึ่งเราก็เป็นเครือข่ายอยู่ เพื่อให้รัฐมีมาตรการทำ SEA ขึ้นมา อันนี้เป็นข้อเสนอบนฐานของหลักการที่ว่า คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติให้ศึกษาตั้งแต่ปี 39 จนสำนักงานและแผนนโยบายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในกระทรวงทรัพยากรก็ได้ออกไกด์ไล วิธีการทำSEA ในSEA มี หลายมิติ ทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนต่อเรื่องการพัฒนาในโครงการนั้นๆ คือถ้ามีโครงการเหมืองแร่โปแตช ที่ผ่านมาการทำโครงการอะไรที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่มีการคำนวณกันว่า ต้นไม้จะเหลือกี่ต้นถ้าตัด อดีตเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบันมันเหลือเท่าไร หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่อย่างเดียวคือให้สัมปทานเหมืองแร่โปแตช แต่ ณวันนี้ ทรัพยากรที่เรียกว่าโปแตช มันมีข้อจำกัดของมัน 2. คือมันมีผลกระทบสูงต่อคนในชุมชนและในพื้นที่ ทั้งสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และผลกระทบต่อสังคม ก็แล้วแต่มันมีเยอะ อย่าลืมนะว่าทรัพยากรพวกนี้มันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ใช่ตะบี้ ตะบันมาขุดในคนรุ่นเราให้หมดไป แล้วคนรุ่นหลังอีกจะอยู่อย่างไรละ วันนี้เราจึงมาเสนอ เช่นหน่วยงานของรัฐเองมีความพร้อมต่อการแก้ไขปัญหาสิ่งต่างๆที่มันจะเกิด ขึ้นได้ไหม ถ้ามีเหมืองแร่เกิดขึ้น นี่คือส่วนหนึ่งที่เรียกว่า SEA ด้วยนะ การบูรณการกฎหมายระเบียบข้อจำกัดที่จะมาควบคุมเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่ามีเหมืองแร่โปแตชถ้าเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก็ไปว่าทางโรงงาน ไปตรวจ กฎหมายว่าด้วยพ.ร.บ. โรงงานและอุตสาหกรรม คอยควบคุมมลพิษ มันไม่ใช้ เพราะที่ผ่านมา โครงการต่างๆที่เกิดขึ้น มันไม่ได้แก้ปัญหาเลย พ.ร.บ.ต่างๆมันก็ไม่ได้แก้ปัญหาชาวบ้าน มันถึงได้มีชาวบ้านแต่ละส่วนลุกขึ้นมาต่อต้าน โครงการแต่ละส่วนที่มันเกิดขึ้น ชาวบ้านเขาเห็นประสบการณ์จากที่ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่เรามีความจำเป็นว่าจริงๆแล้ว โครงการเหมืองแร่โปแชเราไม่ได้ต่อต้านการพัฒนา ถ้ามีความจำเป็นต้องเอาขึ้นมาใช้ มันต้องตอบให้ชัดว่าใครเอาขึ้นมาใช้ และเอาขึ้นมาอย่างไร และชุมชนได้ประโยชน์อะไรด้วย ประเด็นคือ ชาวบ้านเองมีส่วนรับรู้เรื่องนี้แค่ไหน ที่ผมพูดนี่ เป็นส่วนหนึ่งของ SEA ที่ต้องศึกษานะ คือที่เราพูดนี้ เรากำลังเสนอกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยของชุมชน” คือไม่ใช่ว่าบริษัทเป็นเจ้าของโครงการ ก็ให้ข้อมูลส่วนหนึ่งแล้วก็ไปเกณฑ์คน ไปให้เงินกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. เกณฑ์คนมาอยู่หน้า ศาลากลาง แล้วก็บอกว่า “นี่คนที่เห็นด้วยกับโครงการเหมืองแร่โปแตช” มันโบราณมากเรื่องแบบนี้ มันสมัยไหนแล้ว มันไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเอาคนมาขนาดนั้นหรอก แต่ถามว่าบางโครงการที่ไม่มีเหตุผลที่จะสร้าง ไม่ก็ไม่ควรจะสร้าง ไม่ใช่เอาคนมากดดันกัน มันต้องเสนอเป็นเหตุเป็นผล สิ่งที่เราเสนอเรื่อง SEA นี้เราเสนอความเป็นเหตุเป็นผลทางวิชาการ อีกประเด็นหนึ่งที่เรียกว่าการมีส่วนร่วม คือพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคน ไม่ว่าจะมีส่วนร่วมทำอะไรก็แล้วแต่Attachment | Size |
---|---|
DSC07345.jpg | 202.15 KB |
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม