1034 12 Dec 2012
เมื่อ วันที่ 10 พ.ย. 53 เวลา 09.30 น. ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี จำนวนกว่า 100 คน ได้รวมตัวกันเพื่อรอยื่นหนังสือกับนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เนื่องในโอกาสที่นายคมสัน ย้ายมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ คนใหม่ และได้เดินทางมามอบแนวนโยบายการปฏิบัติราชการแก่ผู้นำ และหัวหน้าส่วนราชการในท้องที่ดังกล่าว จน กระทั่งเวลา 10.00 น. เศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมาถึง ก็ได้เปิดโอกาสให้กลุ่มชาวบ้านเข้าพบเพื่อยื่นหนังสือและพูดคุยกันเป็นเวลา นานประมาณ 20 นาที ก่อนเข้าห้องประชุมต่อไป โดย นายทองหล่อ ทิพย์สุวรรณ์ รองประธานกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี เป็นผู้ยื่นหนังสือและกล่าวต่อผู้ว่าฯ ว่า ตั้งแต่ผู้ว่าฯ มารับตำแหน่งใหม่ และช่วงที่มีการลงพื้นที่มาปักหมุด รังวัดเขตเหมืองของเจ้าหน้าที่ กพร. (กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่) จนเกือบมีการปะทะกันของกลุ่มชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รังวัด หลังจากนั้นชาวบ้านเข้าไปหาผู้ว่าฯ ที่จังหวัดหลายครั้งแต่ก็ไม่พบ แต่พอผู้ว่าฯ มาในวันนี้กลุ่มชาวบ้านจึงอยากขอนัดหมายเข้าพบเพื่อพูดคุยชี้แจงให้ข้อมูลใน พื้นที่กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช และอยากขอให้ผู้ว่าฯ วางตัวเป็นกลางในเรื่องนี้ “อยาก ให้พ่อเมืองอุดรคนใหม่ทำตัวเป็นกลาง พร้อมทั้งขอให้ช่วยกำชับผู้นำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ไม่ให้มีพฤติกรรมเข้าข้างบริษัท เพราะพฤติกรรมดังกล่าวเป็นต้นเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยกกันภายในชุมชนอยู่ทุกวันนี้” นายทองหล่อกล่าว ทาง ด้านนายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การที่ตนเป็นผู้ว่าฯ อยู่จังหวัดอื่นมาแล้วหรือย้ายมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ อุดร ก็ตาม ตนมีความตั้งใจจริง ที่จะดูแลทุกข์ สุข ให้แก่พี่น้องประชาชน เรื่องอะไรที่จะนำความขัดแย้งแตกแยกมาสู่ชุมชนซึ่งตนไม่ทำอย่างแน่นอน “ใน เรื่องโปแตชผู้ว่าฯ ต้องวางตัวเป็นกลาง และปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ไม่ว่าฝ่ายใดก็ตามจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งหากฝ่ายชาวบ้านเห็นว่ามันผิดก็สามารถฟ้องร้องได้ เพราะทุกวันนี้ศาลปกครองก็มีแล้ว ส่วนเรื่องวันที่ชาวบ้านนัดหมายจะคุยกับผู้ว่าฯ นั้น เดี๋ยวผู้ว่าฯ จะเช็คดูวันว่าง แล้วจะประสานผ่านมาทางนายอำเภออีกทีก็แล้วกัน” นายคมสันกล่าว ขณะ ที่นายสุวิทย์ กุหลาบวงษ์ ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า กรณีโครงการเหมืองแร่โปแตช เป็นประเด็นระดับชาติที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวอุดรและคนไทยทั้งประเทศ ขณะเดียวกันชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ ก็ได้มีการติดตามและผลักดันข้อเสนอมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี จนเกิดข้อเสนอร่วมกันกับนักวิชาการ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ว่าฯ คนก่อน เพื่อเสนอให้มีการจัดทำการศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตชและเกลือหิน หรือที่เรียกว่า SEA ทั้ง ระบบในภาคอีสาน และจังหวัดอุดรธานีเองด้วย ดังนั้นผู้ว่าฯ คนใหม่มาก็ควรศึกษาให้รอบด้านก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปเพราะผลกระทบมัน ย่อมเกิดขึ้นกับชาวบ้านในพื้นที่ ดังที่เห็นแล้วจากการลงปักหมุดรังวัดของ กพร. เมื่อวันที่ 30 ต.ค.-1 พ.ย. ที่ผ่านมา /-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/-/ นายเดชา คำเบ้าเมือง ศูนย์สื่อท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา ตู้ ปณ.14 ไปรษณีย์อุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 โทร. 081-3696266 อีเมล decha_61@yahoo.com05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม