รายงานสถานการณ์กรณีเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี

1961 12 Dec 2012

บริษัท เอเชีย แปซิฟิคโปแตช คอร์ปอเรชั่นจำกัด (เอพีพีซี) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวลอปเมนต์ จำกัด  มหาชน  ได้ยื่นขออนุญาตประทานบัตรเพื่อประกอบกิจการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2547 และปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการรังวัด ปักหมุดเพื่อขึ้นรูปแผนที่เขตเหมือง ทั้ง นี้ จากการเคลื่อนไหวติดตามตรวจสอบโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ของเครือข่ายนักวิชาการ ภาคประชาสังคม และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ร่วมผลักดันข้อเสนอสู่ระดับนโยบาย จนกระทั่งได้มีมติและข้อเสนออย่างเป็นทางการขององค์กรสำคัญระดับชาติ  ได้แก่
  1. มติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2549 ให้มีการศึกษา Strategic Environmental Assessment : SEA  เพื่อการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาแหล่งแร่โปแตชในเชิงยุทธศาสตร์ ทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  2. รายงาน ผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (รายงานผลการตรวจสอบที่ 100/2550)  ซึ่งได้บ่งชี้ว่าบริษัทผู้ขอประทานบัตรได้มีการละเมิดสิทธิชุมชน รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อราษฎร และคุณภาพสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง
  3. มติของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้ง ที่ 14/2551 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2551 เรื่องนโยบายอุตสาหกรรมโพแทช กับการพัฒนาภาคอีสาน โดยสภาที่ปรึกษาฯ ได้มีข้อเสนอให้รัฐต้องจัดให้มีการศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมาย และแผนงาน การพัฒนาเกลือหินโพแทช โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะการประเมินผลที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ ให้ครอบคลุม ซึ่งประกอบด้วย การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment : EIA) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment : SIA) ในระดับโครงการ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิธีการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environment  Assessment :SEA) และการประเมินผลกระทบอย่างยั่งยืน (Sustainable Impact Assessment : SIA) โดยจัดทำเป็นระบบมาตรฐานที่สังคมยอมรับและเชื่อถือได้
ใน ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเครือข่ายนักวิชาการนิเวศวัฒนธรรม ร่วมกับตัวแทนชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ได้เข้าพบและยื่นข้อเสนอต่อการแก่ไขปัญหาโครงการเหมืองแร่โปแตชกับผู้ว่า ราชการจังหวัดอุดรธานีคนก่อน คือนายสุพจน์  เลาวัลย์ศิริ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552 เพื่อให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานระดับนโยบายขึ้นมาทำการศึกษาการจัดการแร่โป แตชเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ทั่วทั้งภาคอีสาน โดยมีกรอบการศึกษาอย่างรอบด้าน เพื่อให้เกิดแนวทางปฏิบัติ และเป็นรูปธรรม ทั้งในมิติด้านเศรษฐศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ซึ่งผู้ว่าฯ อุดรในขณะนั้นก็มีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอ จึงได้นำข้อเสนอเรียนต่อปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้ดำเนินการตามลำดับต่อไป แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ จนกระทั่งนายสุพจน์ เลาวัลย์ศิริ (ผู้ว่าฯคนก่อน) เกษียณอายุราชการไป ในเวลาต่อมา คือวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 นายชาญชัย  ชัยรุ่งเรือง  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งมีชื่อว่า “คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการดำเนินโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี” โดยมอบหมายให้ นายสมพร  ใช้บางยาง รองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนปัจจุบัน คือ นายอำนาจ  ผการัตน์ เป็นรองประธาน (คณะกรรมการมีองค์ประกอบจากผู้แทนในแต่ละกระทรวง รวมทั้งข้าราชการจากส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม, ข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข, ข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งผู้แทนของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี และผู้แทนจากบริษัทเอเชีย แปซิกฟิก โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด ผู้ขออนุญาตประทานบัตร) หาก แต่กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ไม่ขอเข้าร่วมเป็นกรรมการชุดดังกล่าว โดยเห็นว่า จากองค์ประกอบของคณะกรรมการชุดนี้ ไม่มีความชอบธรรมอย่างยิ่ง เพราะเป็นกรรมการที่มีบทบาทเพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการฯ มีการตั้งธงเพื่อนำไปสู่การรังวัด ปักหมุดเขตพื้นที่เหมืองเป็นสำคัญ อีกทั้งกรรมการส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในข้อมูล ข้อเท็จจริงของโครงการฯ เลย โดยเฉพาะประเด็นปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งถ้าหากคณะกรรมการชุดนี้ มีมติให้เจ้าหน้าที่จากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ลงพื้นที่เพื่อทำการรังวัด ปักหลักหมายเขตเหมืองแร่ ปัญหาความแตกแยก ขัดแย้ง กันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ และชาวบ้านด้วยกันเอง (ฝ่ายคัดค้านกับฝ่ายสนับสนุนเหมือง) ที่ยังคงคุกรุ่นอยู่จะปะทุขึ้นมาอีกครั้งอย่างรุนแรง อนึ่ง คณะกรรมการชุดดังกล่าวมิได้นำเอาข้อเสนอของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาเพื่อประกอบการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด ถึงแม้กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีจะเคยยื่นข้อเรียกร้องให้ดำเนินการ แล้วก็ตาม อีกทั้งประธานคณะกรรมการฯ (นายสมพร  ใช้บางยาง) และผู้ว่าฯ อุดร (นายอำนาจ  ผการัตน์) มักจะกล่าวอ้าง และบิดเบือนอยู่ตลอดว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้เป็นชุดที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ เสนอมาอยากให้แต่งตั้ง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว คณะกรรมการที่กลุ่มอนุรักษ์ฯ เสนอ (ตั้งแต่ผู้ว่าฯ คนก่อนและมีเอกมารยืนยันชัดเจน) คือคณะกรรมการเพื่อทำการศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตช ทั้งระบบ ไม่ใช่คณะกรรมการเพื่อมาผลักดัน หรือให้ดำเนินโครงการฯ โดย มีเหตุผลเชิงประจักษ์ที่สามารถยืนยันได้ว่าคณะกรรมการชุดนี้ตั้งธงไว้เพื่อ ให้เกิดการรังวัดปักหมุดเขตเหมือง กล่าวคือ ประการแรกหลังจากการแต่งตั้ง (วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552) คณะกรรมการก็จัดให้มีการประชุมนัดแรกในวันที่ 19 มีนาคม 2552 และรวบรัดมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (นายอำนาจ  ผการัตน์) ไปคัดสรรมาเพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป ประการที่สองในการประชุมครั้งที่ 2 ของคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ผู้ว่าฯ อุดร ก็ได้นำเสนอองค์ประกอบของ “คณะอนุกรรมการแก้ไขและให้ความรู้ ความเข้าใจ กรณีการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตช จ.อุดรธานี”  จำนวน 45 คน นอกจากผู้ว่าฯ อุดรเป็นประธานแล้ว ก็ยังมีนายสุรพงษ์  เชียงทอง รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ซึ่งเป็นผู้ผลักดันโครงการนี้มาตั้งแต่ต้น เป็นรองประธานอนุกรรมการชุดนี้ด้วย อีกทั้งองค์ประกอบของอนุกรรมการส่วนใหญ่ก็เป็นข้าราชการ และกลุ่ม/องค์กรผู้สนับสนุนโครงการ อาทิเช่น นายอำเภอทุกอำเภอ (20อำเภอ), อัยการจังหวัดอุดรธานี, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี, ข้าราชการ กพร., ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี, ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี ฯลฯ โดยมีอำนาจหน้าที่จัดการประชุมไปชี้แจง ทำความเข้าใจ ข้อมูลโครงการ และกระบวนการขอประทานบัตรให้กับราษฎรในจังหวัดอุดรธานี และวางแผนดูแลด้านการรักษาความปลอดภัยเพื่อให้เกิดการประชุมชี้แจง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายก็คือประชาชนในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 10,200 คน (มีรายละเอียดตามเอกสารแนบมาด้วย.)   พร้อมกันนี้ประธานกรรมการฯ (นายสมพร  ใช้บางยาง) ก็ได้กล่าวสำทับในที่ประชุมอย่างชัดถ้อยชัดคำความว่า “ต่อไปนี้เรื่องโปแตชให้ฟังผู้ว่าฯ ซึ่งเป็นประธานอนุกรรมการจะเป็นผู้ดำเนินการต่อไป” และหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมผู้ว่าฯ อุดร ยังได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวโดยกล่าวว่า “สอง เดือนก็จบ ในการทำความเข้าใจ แล้วจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วเข้าสู่การทำรังวัด ซึ่งพูดยากว่าสถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร เราทำตามหน้าที่เราให้ดีที่สุด” ซึ่งในประเด็นนี้ วันที่10 มิถุนายน 2552 กลุ่มชาวบ้านได้ไปชุมชนเรียกร้องและสอบถามเพื่อตอกย้ำความชัดเจน ผู้ว่าฯ อุดร ก็ยังยืนยันถ้อยคำเดิมที่ตนได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าว ประการ ที่สาม ระหว่างวันที่ 20-28 มีนาคม 2552 ผู้ว่าฯ อุดร ได้นำคณะราชการส่วนท้องถิ่น นายกเทศมนตรี นายกอบต. ไปดูงานเหมืองแร่โปแตชที่ประเทศเยอรมัน ชื่อบริษัทกาลี (kali) พร้อมกำชับให้ปิดเงียบ ไม่ให้คณะดูงานที่ร่วมเดินทางไปด้วยเปิดเผย แม้แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ไม่มีใครระแคะระคายเลย จนกระทั่งกลับมาแล้วผู้ว่าฯ อุดร จึงกระเหี้ยนกระหือรือ เปิดประชุมชี้แจงให้หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดได้รับฟัง และมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ข้อมูลเหมืองแร่โปแตช ผ่านสื่อวิทยุในจังหวัดทันที! ทั้ง หมดนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าการดำเนินการของคณะกรรมการฯ หรือคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการวางแผนปฏิบัติ หรือตั้งธงเอาไว้แล้ว และการชี้แจงในพื้นที่ก็ไม่ได้มีความจริงใจที่จะให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ กับประชาชนคนอุดรอย่างแท้จริง หากแต่เป็นเพียงพิธีการเพื่อให้นำไปสู่กระบวนการรังวัด ปักหมุดขึ้นรูปแผนที่เหมืองที่ชะลอมานาน โดยเอาข้อมูลด้านเดียวจากบริษัทฯ และผู้ว่าฯ (จากการดูเหมืองที่ประเทศเยอรมัน) ให้กับคนอุดรกว่า10,000 คน ขณะเดียวกันถ้ามีการขัดขวางก็ได้เตรียมแผนรับมือจับกุม และดำเนินคดีกับชาวบ้านผู้คัดค้านไว้ด้วยเช่นเดียวกัน จน เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ก็ได้ชุมนุมหน้าสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี โดยมีข้อเรียกร้องให้ระงับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่มีผู้ว่าฯ อุดรเป็นประธาน ซึ่งทั้งฝ่ายชาวบ้านและอุตสาหกรรมจังหวัดก็ได้มีความเห็นเป็นแนวทางเดียวกัน จึงทำหนังสือถึงนายสมพร ใช้บางยาง ประธานคณะกรรมการ เห็นควรให้ระงับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ไว้ก่อน แต่ อย่างไรก็ดี พบว่าในขณะนี้ผู้ว่าฯ อุดร ก็ยังไม่ละความพยายามที่จะผลักดันให้เกิดคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าวให้จงได้ โดยล่าสุดได้มีการชักชวนให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน หรือ พอช. เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ ซึ่งทางพอช.ก็ตอบรับกลับไปแล้วด้วย.   .......................................................................................   กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี 15 กรกฎาคม 2552

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม