5190 06 Dec 2012
บทที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานภูมินิเวศน์เทือกเขาภูพาน 1. ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เทือก เขาภูพานวางตัวทอดไปในแนวยาวจากด้าน ตะวันออกเฉียงใต้-ตะวันตกเฉียงเหนือ โดยเริ่มจากเขตชายแดนไทย-ลาว เขตอำเภอพิบูลมังสาหาร ปากแม่น้ำมูล เข้าสู่อำเภอโขงเจียม ทอดตัวเลียบชายฝั่งแม่น้ำโขง ผ่านอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นไปยังจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งกลายเป็นแนวเขตแดนระหว่างจังหวัดมุกดาหาร กับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ กับ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ กับ จังหวัดอุดรธานี และระหว่างจังหวัดอุดรธานี กับ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วยยอดภูเขาสูงหลายแห่ง ได้แก่ ภูเขาหัก ภูผาแดง และภูงอย เป็นต้น ซึ่งเทือกเขาภูพานได้แบ่งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ แอ่งโคราช คือ บริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล ครอบคลุมเนื้อที่มากที่สุดถึง 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด ประกอบด้วยจังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี แอ่งสกลนคร คือ พื้นที่บริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย อุดรธานี นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร หลักฐานการค้นพบทางโบราณคดีต่างๆ ในเขตเทือกเขาภูพาน เช่น การค้นพบโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทราย ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือแม้แต่ภาพเขียนของมนุษย์โบราณตามผนังถ้ำ รวมทั้งวัฒนธรรมบ้านเชียง และซากโบราณวัตถุมากมาย ทำให้การขุดค้นหาร่องรอยอารยธรรมในอดีตของดินแดนอันมั่งคั่งแห่งนี้เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ แม้ว่าชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงโคราช นี้ จะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่) รวมทั้งไทยโคราช ซึ่งแต่ละเผ่าย่อมมีความแตกต่างกัน แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า "ฮีตบ้านคองเมือง" และ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญงานกุศลเป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนเหล่านี้มีความสงบสุขตลอดมา ด้วย อุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ ผ้าไหมลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา สร้างรายได้แก่ครอบครัวอีกทางหนึ่ง ความ อุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงามบนยอดเขาสูงหลายแห่ง แหล่งรวมอารยธรรมโบราณนับพันปี ที่ทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และความมีน้ำใจของชาวอีสาน ยังคงเป็นเสน่ห์ที่มัดใจ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนอีสานอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน ข้อมูลเศรษฐกิจ บทที่ 2 จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ตั้ง และอาณาเขต จังหวัด หนองบัวลำภู ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 102 องศาตะวันออก มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงหมายเลข 210 ประมาณ 608 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางกรุงเทพ - ชัยภูมิ - หนองบัวลำภู ประมาณ 518 กิโลเมตร และมีเนื้อที่ ประมาณ 3,859.086 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,411,929 ไร่ จังหวัดหนองบัวลำภู มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสีชมพู และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอบ้านผือ อำเภอกุดจับ และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ กิ่งอำเภอเอราวัณ อำเภอภูกระดึง อำเภอผาขาว และ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ประวัติความเป็นมา “หนอง บัวลำภู” เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ราบสูงระหว่างเทือกเขาภูพาน และเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์นานมากกว่า 900 ปี ซึ่งในอดีตเคยเป็นดินแดนขึ้นตรงต่อกรุงศรีสัตตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทร์) มีชื่อเดิมเรียกว่า “เมืองหนองบัวลำภูนครเขื่อนขันต์กาบแก้วบัวบาน” ใน ปี พ.ศ. 2117 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ยกทัพไปตีเมืองล้านช้าง ซึ่งการเสด็จศึกครั้งนั้นได้ยกพลมาพักทัพในพื้นที่บริเวณริมหนองบัว ด้วยเหตุนี้เมืองหนองบัวลำภู จึงเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย ต่อ มาในปี พ.ศ. 2310 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช พระวอพระตา ได้รวบรวมไพร่พลหลบหนีภัยการเมืองการปกครอง ของ พระเจ้าศิริบุญสาร เจ้านครเวียงจันทร์ ลงมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองหนองบัวลำภู เป็นป้อม “ค่ายพระวอพระตา” ดังปรากฏหลักฐานบนกำแพงหินที่ภูพานที่พบในปัจจุบัน จนกระทั่งต่อมาเมืองเวียงจันทร์ยกทัพมารุกราน จึงทำให้บ้านเมืองร้างไปสักระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2438 ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงแต่งตั้ง พระวิชโยดมกมุทธเขต เพื่อมาสร้างเมืองเขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน ขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเมืองเสียใหม่ว่า “เมืองกมุทธไสยบุรี” และให้มีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก ต่อมาปี พ.ศ. 2449 พระยาวิชโยดมกมุทธเขต ถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงแต่งตั้ง พระวิจารณ์กมุทธกิจ มาปกครองเมือง และเปลี่ยนชื่อเมืองอีกครั้งว่า “เมืองหนองบัวลำภู” นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. 2450 ทางราชการได้ยกฐานะเมืองหนองบัวลำภูเป็นอำเภอ ชื่อว่า “อำเภอหนองบัวลำภู” และให้เป็นอำเภอหนึ่งภายใต้เขตการปกครองของจังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น จน กระทั่งวันที่ 1 ธันวาคม 2536 จึงแยกการปกครองออกจากจังหวัดอุดรธานี และตั้งขึ้นเป็น “จังหวัดหนองบัวลำภู” และมีเนื้อที่ 3,859 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2.4 ล้านไร่ ปัจจุบันมีเขตการปกครอง รวม 640 หมู่บ้าน 58 ตำบล 6 อำเภอ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรป่าไม้ พื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติของจังหวัดส่วนมากอยู่ทางด้านเหนือ และตะวันตกของจังหวัด รวม 6 ป่า มีเนื้อที่ป่าไม้ ทั้งสิ้น 1,521,499 ไร่ ส่วนมากเป็นป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณ ซึ่ง กรมป่าไม้ ได้ประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน 1,208,811 ไร่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ และอุทยานแห่งชาติ รวม 312,675 ไร่ คิดเป็น 13.03 % ของพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัด ทรัพยากรแร่ธาตุ จังหวัดหนองบัวลำภู พบแหล่งแร่ที่สำคัญหลายชนิดด้วยกัน และที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คือ - หินแกรนิต พบที่อำเภอนากลาง - ถ่านหิน พบที่อำเภอนากลาง - แร่ตะกั่ว พลวง และสังกะสี พบในพื้นที่อำเภอนากลาง และอำเภอสุวรรณคูหา ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างจังหวัดหนองบัวลำภู กับ จังหวัดเลย -ภูเขาหินปูน สำหรับอุตสาหกรรมระเบิด และย่อยหินในบริเวณอำเภอนากลาง และอำเภอนาวัง จาก สถิติปี 2542 มีการสัมปทานเหมืองแร่ รวม 5 แห่ง และมีรายได้จากค่าภาคหลวงแร่ และค่าธรรมเนียม รวม 1,707,208.32 บาท แร่ธาตุที่สำคัญของจังหวัด คือ หินปูนอุตสาหกรรม สามารถผลิตได้ 606,338.40 ตัน มีมูลค่า 1,701,188.32 บาท นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ คือ ถ่านหิน หินปูนที่ใช้ทำปูนขาวสำหรับอุตสาหกรรมน้ำตาล ประชากร และโครงสร้าง จำนวน ประชากร ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 รวมทั้งสิ้น 502,665 คน จำแนกเป็นเพศชาย 252,923 คน และหญิง 249,742 คน ครัวเรือนทั้งสิ้น 128,812 หลังคาเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 128 คน/ตารางกิโลเมตร โดยอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด และน้อยที่สุดตามลำดับดังนี้ อำเภอนากลาง 163 คน/ตารางกิโลเมตร และ อำเภอสุวรรณคูหา 100 คน/ตารางกิโลเมตร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ข้อมูล สถิติใน ปี 2540 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 19,511 บาท/ปี เป็นอันดับ 75 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 19 ของภาค และมีผลิตภัณฑ์มวลรวม 9,267.666 ล้านบาท โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดส่วนมากมาจากสาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 28.50 มีมูลค่า 2,641,139 ล้านบาท รองลงมา คือ สาขาการบริการ ร้อยละ 19.43 คิด มีมูลค่า 1,800,369 ล้านบาท และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ร้อยละ 11.02 คิดเป็นมูลค่า 1,021,651 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 4.5 การใช้ประโยชน์ที่ดิน และเอกสารสิทธิ์ จังหวัด หนองบัวลำภูมีพื้นที่ทั้งหมด 2,411,929 ไร่ การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรคิดเป็นพื้นที่การเกษตร 1,474,189 ไร่ (61.12%) พื้นที่ป่าไม้ 186,564 ไร่ (7.74%) และพื้นที่อื่นๆ 751,176 ไร่ (31.14%) ดังนี้ 1.พื้นที่ถือครองทางการเกษตร 1,474,189 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 59,237 ไร่ พื้นที่นา 973,574 ไร่ พื้นที่พืชไร่ 301,533 ไร่ พื้นที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น 67,924 ไร่ พื้นที่สวนผักและไม้ดอก 3,373 ไร่ พื้นที่ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 29,075 ไร่ พื้นที่รกร้างว่างเปล่า 35,966 ไร่ พื้นที่อื่นๆ 3,507 ไร่ 2.พื้นที่ป่าไม้ 186,564 ไร่ 3.พื้นที่อื่น ๆ ที่จำแนกไม่ได้ 751,176 ไร่ จังหวัด หนองบัวลำภู การออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินไปแล้วรวมเนื้อที่ 1,082,583 ไร่ (44.88%) ของพื้นที่ทั้งจังหวัด จำแนกเป็นโฉนด 617,435 ไร่ (57.03%) น.ส.3ก 322,364 ไร่ (29.78%) น.ส.3 105,429 ไร่ (9.74%) และใบจอง 37,353 ไร่ (3.45%) พืชเศรษฐกิจ การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งมีพืชที่เกษตรกรเพาะปลูกมาก 4 ชนิด คือ 1.ข้าวเหนียวนาปี 2.ข้าวเจ้านาปี 3.อ้อยโรงงาน 4.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำ จาก สถิติข้อมูลในปี 2542 จังหวัดหนองบัวลำภู มีประชากรในเขตเมือง (เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู) 21,542 คน มีความต้องการนํ้ากินและนํ้าใช้ ในเขตเมืองประมาณ 107,710 ลิตร/วัน และ4,308,400 ลิตร/วัน และประชากรนอกเขตเมือง 473,505 คน มีความต้องการนํ้ากินและนํ้าใช้ ประมาณ 2,367,525 ลิตร/วัน และ 21,307,725 ลิตร/วัน แหล่งนํ้าที่ประชาชนชาวจังหวัดหนองบัวลำภูใช้เพื่อการเกษตร ส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งนํ้า ผิว ดินตามธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น เช่น อ่างเก็บนํ้า ลำ ห้วย หนองนํ้า สระนํ้า ฝาย ทำนบ คลองส่งนํ้าชลประทาน และสถานีสูบนํ้าด้วยไฟฟ้า ฯลฯ แหล่งนํ้าชลประทานของจังหวัดหนองบัวลำภู ประกอบด้วย โครงการชลประทานขนาดกลาง และโครงการขนาดเล็ก ที่ดำเนินการเสร็จจนถึงปี 2542 รวม 82 โครงการ เก็บกักน้ำได้ รวม 20,971,410 ลูกบาศก์เมตร และพื้นที่รับประโยชน์จากโครงการ 33,306 ไร่ หรือ คิดเป็น ร้อยละ 2.61 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดของจังหวัด ทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดหนองบัวลำภู มีสถานที่ท่องเที่ยวแห่ง ที่รู้จักกันดีและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ -อุทยาน แห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เป็นเทือกเขาทอดตัวยาวจากเหนือสู่ใต้ และเป็นอาณาเขตแยกพื้นที่ระหว่างจังหวัดหนองบัวลำภู กับ จังหวัดขอนแก่น ติดกับเขื่อนอุบลรัตน์ด้านทิศเหนือ จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด มีระยะทางห่างจากอำเภอโนนสังประมาณ 15 กิโลเมตร -ถ้ำเอราวัณ เป็นถํ้าหินปูนขนาดใหญ่อยู่บนภูเขาสูงในเขตบ้านผาอินทร์แปลง ต.วังทอง อำเภอนาวัง ห่างจากอำเภอ ประมาณ 22 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเส้นทางหมายเลข 210 อุดรธานี-หนองบัวลำภู-เลย และแยกจากทางกลวงออกไป ประมาณ 2 กิโลเมตร สภาพภายในถํ้ามีหินงอกหินย้อยสวยงาม และมีเส้นทางทะลุออกไปบริเวณหน้าผาสามารถชมทิวทัศน์ได้ และยังเป็นสถานที่หนึ่งในตำนานนางผมหอม -ภูหินลาดช่อฟ้า เป็นลานหินกว้าง และมีก้อนหินรูปร่างแปลกตาที่เกิดจากการกัดเซาะมาเป็นเวลานานเป็นร่อง โขดหินรูปร่างคล้ายช่อฟ้าจนเรียกขานกันเช่นนี้ และมีบางแห่งเป็นโพรงถํ้า รวมทั้ง การเดินชมดอกไม้ป่าตามผนังหิน นอกจากนี้ สถานที่ดังกล่าวนี้ในอดีตเป็นที่พำนัก และศูนย์บัญชาการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในช่วงการต่อสู้ทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2519 -ศาลสมเด็จพระนเรศวร มหาราช เป็นอนุสรณ์สถานเมื่อครั้ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประทับในขณะประชวรอยู่ระหว่างยกทัพไปตีกรุงศรีสัต ตนาคนหุต เมื่อปี พ.ศ. 2217 รูปแบบสถาปัตยกรรมเรือนไทย และมีพระรูปพระนเรศวรมหาราช ในท่าประทับยืน และถือพระแสงดาบ ตั้งอยู่บริเวณสวนสาธารณะหนองบัว หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู -แหล่ง หอยหินโบราณ สถานที่พบ คือ บ้านห้วยเดื่อ ต.โนนทัน อ.เมืองฯ สภาพเป็นภูเขา และหน้าผาสูงจากพื้น ประมาณ 50 เมตร มีการค้นพบซากหอยดึกดำบรรพ์ในช่วง “จูราสิกตอนปลาย” อายุ ประมาณ 145 - 157 ล้านปี การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 210 ห่างจากจังหวัด ประมาณ 10 กิโลเมตร หนองบัวลำภู และต้องเดินเท้าเข้าไป ประมาณ 500 เมตร -แหล่งโบราณคดี บ้านกุดคอเมย และกุดกวางสร้อย ค้นพบโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในยุคเดียวกันกับบ้านเชียง อยู่ในเขต ต.กุดดู่ อ.โนนสัง บนทางหลวงหมายเลข 2146 ระยะทางประมาณ 36 กิโลเมตร ถึง บ้านหนองแวง แล้วเลี้ยวซ้ายมือ ประมาณ 5 กิโลเมตร และจากบ้านหนองแวงเลี้ยวขวามือ ไปประมาณ 7 กิโลเมตร จึงถึงสถานที่ดังกล่าว -วัดถ้ำกลองเพล สภาพเป็นถํ้า ค้นพบกลองโบราณสองหน้า และพระพุทธบรรถรนิมิต ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางลีลาจำหลักบนก้อนหิน ในอดีตเคยเป็นที่จำพรรษาของ หลวงปู่ขาว อานาลโย ภายหลังจากท่านมรณภาพได้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่ขาว ไว้ให้ประชาชนเคารพกราบไหว้บูชา ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 210 หนองบัวลำภู–อุดรธานี ห่างจากจังหวัดหนองบัวลำภู ประมาณ 15 กิโลเมตร -วัดถ้ำสุวรรณคูหา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ และในพื้นที่มีถํ้าอีกจำนวนมากยังไม่มีการสำรวจข้อมูล ยังค้นพบโบราณวัตถุในพื้นที่ เช่น หลักศิลาจารึก ทำขึ้นจากหินทรายรูปร่างคล้ายใบเสมา จารึกพระนามพระไชยเชษฐาธิราช และหลักศิลาจารึกพระนามพระยาสุรเทพเจ้า ตั้งอยู่บนเส้นทางสายหนองบัวลำภู-เลย ถึงแยกบ้านนาคำไฮ เลี้ยวขวาไปยังที่ว่าการอำเภอสุวรรณคูหา เดินทางต่อไป ประมาณ 5 กิโลเมตร จึงถึงวัดถํ้าสุวรรณคูหา -งานสัปดาห์เที่ยวหอยหิน กิน ลำไย งานเรือใบซูเปอร์มดเฉลิมพระเกียรติ จัดเป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระจายรายได้มาสู่ท้องถิ่น ซึ่งจัดขึ้นบริเวณลานค้าชุมชนบ้านห้วยเดื่อ ตำบลโนนทัน อำเภอเมือง กิจกรรมที่น่าสนใจ คือ นิทรรศการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ และงานช่างในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน เกี่ยวกับงานประดิษฐ์เรือใบมด การท่องเที่ยวหอยหินดึกดำบรรพ์ และการออกร้านจำหน่ายสินค้า ศิลปหัตถกรรม งาน ด้านศิลปหัตถกรรมของจังหวัดหนองบัวลำภู ที่เป็นที่รู้จัก และเป็นสินค้าโอทอป ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย หมี่ขิด ซึ่งผลิตมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และนำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสวมใส่ และดัดแปลงเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น กล่องทิชชู และของใช้อื่นๆ นอกจาก นี้ มีการทำเครื่องปั้นดินเผาในรูปแบบ และลวดลายต่างๆ สำหรับทำเป็นเครื่องใช้ และเครื่องประดับตกแต่งอาคารสถานที่ ได้แก่ โอ่งนํ้า กานํ้า หม้อดิน เตาไฟ กระถางดอกไม้ และแจกัน เครื่องจักสาน ซึ่งใช้วัตถุดิบไม้ไผ่ในท้องถิ่นที่ปลูกไว้ในไร่นา และละแวกที่อยู่อาศัย นำมาย้อมสีผลิตเป็น กระติบข้าว พัด ตะกร้า และสิ่งของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งจำหน่ายเป็นรายได้เสริมแก่ครอบครัว ในด้านศิลปวัฒนธรรมการละ เล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น โปงลาง และการรำคองก้า ซึ่งเป็นการรำประกอบจังหวะเสียงกลอง และเสียงเพลง โดยมีเครื่องดนตรีที่สำคัญ คือ กลอง 2 หน้า และมักนิยมเล่นเฉพาะกลางคืนเท่านั้น อำเภอโนนสัง ที่ตั้งและอาณาเขต เดิม บริเวณที่ตั้งอำเภอมีต้นกระสังใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่น โบราณถือว่าเป็นแหล่งเหมาะสมสร้างบ้านแปงเมือง มีลำน้ำพองไหลผ่าน มีภูเขาล้อมรอบ คือ ภูเก้าและภูพานคำ ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2491 และเป็นอำเภอโนนสัง เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2499 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ประมาณ 577.74 ตารางกิโลเมตร หรือ 361,085 ไร่ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง และเทือกเขาภูพาน ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 180 – 500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารสำคัญหลายสาย ได้แก่ ลำห้วยโซม ลำพะเนียง ลำบอง ลำห้วยค้อ และลำห้วยโสกแคน โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับอำเภอเมืองหนองบัวฯ และอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอเขาสวนกวาง และอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ทิศใต้ ติดกับอำเภอภูเวียง และอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอเมืองหนองบัวลำภู การปกครอง อำเภอโนนสังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 107 หมู่บ้าน ได้แก่ 1. โนนสัง 15 หมู่บ้าน 2. บ้านถิ่น 10 หมู่บ้าน 3. หนองเรือ 14 หมู่บ้าน 4. กุดดู่ 14 หมู่บ้าน 5. บ้านค้อ 10 หมู่บ้าน 6. โนนเมือง 7 หมู่บ้าน 7. โคกใหญ่ 7 หมู่บ้าน 8. โคกม่วง 9 หมู่บ้าน 9. นิคมพัฒนา 11 หมู่บ้าน 10.ปางกู่ 10 หมู่บ้าน ประวัติศาสตร์ ตำบล โนนสัง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอโนนสัง ที่แยกเขตการปกครองออกจากอำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เมื่อปี 2491 ตั้งชื่อชุมชนตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น คือ ในอดีตพื้นที่บริเวณตั้งชุมชนมีต้นกระสังขึ้นจำนวนมาก และลักษณะการตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามที่ดอน จึงเรียกว่า “โนนสัง” จนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2505 การสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ ราษฎรบางส่วนที่ถูกน้ำท่วมได้อพยพขึ้นมาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันตำบลโนนสัง มีชุมชน 15 หมู่บ้าน ประชากรที่อาศัยในตำบลส่วนมากอพยพมาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และภาษาพูดส่วนใหญ่เป็นภาษาไทลาว สภาพภูมิอากาศ ลักษณะ ทางด้านสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดหนองบัวลำภูได้รับอิทธิพลของภูมิ อากาศแบบมรสุมเขตร้อนเช่นเดียวกับจังหวัดอื่นๆ ของภาค ประกอบด้วย 3 ฤดูด้วยกัน คือ -ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-ตุลาคม -ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม -ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ปริมาณ น้ำฝน เฉลี่ยรายปี ประมาณ 1,413.1 มิลลิเมตร โดยปริมาณฝนตกสูงสุดแต่ละปีอยู่ในช่วงในเดือนสิงหาคม เฉลี่ย 291.4 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนต่ำสุดในเดือนธันวาคม เฉลี่ย 4.6 มิลลิเมตร การประกอบอาชีพ ประชากร ตำบลโนนสังในปัจจุบันส่วนมากทำการเกษตรกรรม ประมาณ ร้อยละ 57 ส่วนที่เหลือมีการประกอบอาชีพประมงจับปลาในเขื่อนอุบลรัตน์ ปศุสัตว์ และอาชีพค้าขาย ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่มีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชมากเกินไปจนมีผลกระทบต่อ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มเกษตรกร การ รวมกลุ่มของราษฎรในพื้นที่ตำบลโนนสัง มีทั้งการรวมกลุ่มตามธรรมชาติ และมีหน่วยงานราชการจากภายนอกเข้ามาส่งเสริม ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะทางสังคม และอาชีพของแต่ละชุมชน ดังมีกลุ่มประเภทต่างๆ ต่อไปนี้ 1. กลุ่มเกษตรกรทำนาโนนสัง จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 2. กลุ่มสหกรณ์การเกษตรอำเภอโนนสัง จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 3. กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4. กลุ่มเยาวชนเกษตร 5. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 6. กลุ่มแปรรูปปลา 7. กลุ่มทอผ้า 8. กลุ่มผู้ปลูกข้าวหอมมะลิ 9. กลุ่มไร่นาสวนผสม 10.กลุ่มผู้เลี้ยงโค-กระบือ การถือครองที่ดิน และเอกสารสิทธิ์ ขนาดการถือครองที่ดิน -พื้นที่การเกษตรน้อยกว่า 5 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ถือครอง ร้อยละ 3.5 -พื้นที่การเกษตร 6 – 10 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ถือครอง ร้อยละ 24.9 -พื้นที่การเกษตร 11 – 20 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ถือครอง ร้อยละ 43.9 -พื้นที่การเกษตร 21 – 50 ไร่ จำนวนครัวเรือนที่ถือครอง ร้อยละ 24.6 -พื้นที่การเกษตร 50 ไร่ขึ้นไป จำนวนครัวเรือนที่ถือครอง ร้อยละ 3.1 ลักษณะการถือครอง ครัวเรือนเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และไม่ได้เช่าคิดเป็น ร้อยละ 80 ส่วนมากมีเอกสารสิทธิ์ประเภทโฉนด และ น.ส.3 ก. ครัว เรือนเกษตรกรที่มีที่ดินเป็นของตนเอง และต้องเช่าเพิ่มเติม คิดเป็นร้อยละ 5 โดยเช่าจากเกษตรกรรายอื่น ทั้งในตำบล และตำบลใกล้เคียง และเช่าที่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ดินเวนคืนจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ 20 บาท/ไร่/ปี ครัวเรือน เกษตรกรที่ต้องเช่าที่ดินอย่างเดียว คิดเป็นร้อยละ 15 อัตราการเช่าที่เป็นของเกษตรกรด้วยกัน จะเก็บค่าเช่าจากผลผลิตข้าวในอัตราส่วน 50:50 ส่วนการเช่าที่จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริเวณพื้นที่เวนคืนสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ค่าเช่าไร่ละ 20 บาท/ปี ประชากร และแรงงาน ประชากร รวมของตำบลโนนสัง รวม 53,044 คน จำแนกเป็นเพศชาย 26,635 คน และหญิง 26,409 คน 11,964 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553) ประชากรใน วัยแรงงาน 18 –60 ปี ร้อยละ 58 ของประชากรทั้งหมด แต่จำนวนแรงงานที่ทำการผลิตในภาคการเกษตร เฉลี่ย 2 คน/ครัวเรือน และส่วนมากประชากรในวัยหนุ่มสาวอพยพแรงงานไปทำงานนอกชุมชน และบางส่วนอพยพในช่วงหลังฤดูทำนาแล้ว ดังนั้น ภาคเกษตรกรรมจึงต้องอาศัยการจ้างแรงงานในฤดูทำนา ถึงร้อยละ 80 ค่าจ้างแรงงาน เฉลี่ย 150 – 250 บาท/คน/วัน ตำบลโคกม่วง อ.โนนสัง ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ตำบล โคกม่วง ในระยะแรกขึ้นในเขตการปกครองของตำบลหนองบัวใต้ อำเภอโนนสัง ต่อมาได้ย้ายพื้นที่ตำบลหนองบัวใต้ ไปขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อปี 2,500 จึงทำให้ตำบลโคกม่วง จึงหลงเหลือหมู่บ้านในบางหมู่แกย้ายไปขึ้นอยู่กับการปกครองของตำบลโนนเมือง และตำบลหนองเรือ เนื่องจากตำบลโคกม่วงเคยอยู่ในการปกครองของตำบลโนนเมือง และต่อมาในปี 2522 จึงแยกการปกครองออกเป็นตำบลโคกม่วง จวบจนถึงปัจจุบัน ที่ตั้ง และอาณาเขตติดต่อ พื้นที่ ทำเลตั้งถิ่นฐานของชุมชนในตำบลจะตั้งถิ่นฐานอยู่รอบๆ ภูเก้า และบนภูเก้า ซึ่งชุมชนมีอยู่ 2 หมู่บ้าน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ คือ บ้านวังมน หมู่ที่ 8 และบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 9 ดังนั้นในช่วงปี 2534-35 จึงได้รับผลกระทบจากโครงการ คจก. เช่นเดียวกับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ จนกระทั่งได้มีกฎหมายเพิกถอนสภาพพื้นที่กัน ออกจากเขตอุทยานฯ ในภายหลัง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2553 จึงสามารถอาศัยได้ตามปกติ ชุมชนส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมเขื่อนอุบลรัตน์ด้านทิศเหนือ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ ต.ป่าไม้งาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ทิศใต้ ติดกับ ต.โนนเมือง อ.โนนสัง และ ต.ทรายทอง อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันออก ติดกับ ต.โนนเมือง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันตก ติดกับ ลำพะเนียง ต.หนองบัวใต้ อ.ศรีบุญเรือง ประชากร จำนวน ประชากรในเขตตำบลโคกม่วง จำนวน 6,524 คน จำแนกเป็นเพศชาย 3,247 คน และหญิง 3,277 คน รวม 1,516 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553) การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม ทำไร่ และทำประมง อุตสาหกรรมในครัวเรือน ทรัพยากรท่องเที่ยว 1) น้ำตกตากฟ้า 2) น้ำตาตาดคู่ 3) ถ้ำหามต่าง 4) ตาดหินแตก 5) ถ้ำเสือตก ฯลฯ กิจกรรมกลุ่ม -กลุ่มทอผ้า ผลผลิตที่สำคัญ คือ ผ้าห่ม และผ้าคลุมไหล่ -กลุ่มทอเสื่อกก และจักสาน มีผลผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน ได้แก่ กระติบข้าว และเสื่อกก -กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง มีผลผลิตน้ำผึ้งจำหน่าย ตำบลบ้านถิ่น อ.โนนสัง ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ตำบล บ้านถิ่น ไม่ทราบข้อมูลประวัติความเป็นมาที่แน่ชัดว่าตั้งในสมัยใด จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ บ้านกุดกวางสร้อย พบร่องรอยอารยธรรมมนุษย์สมัยโบราณ และมีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา และสิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากในบริเวณที่ราบเชิงเขาของภูเก้า จึงสันนิษฐานว่าพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นชุมชนโบราณ ปัจจุบันมีชุมชนใน เขตการปกครอง รวม 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านถิ่น หมู่ 2 บ้านกุดกวางสร้อย หมู่ 3 บ้านหินสิ่ว หมู่ 4 บ้านหนองเล้าข้าว หมู่ 5 บ้านโสกก้านเหลือง หมู่ 6 บ้านโนนสูง หมู่ 7 บ้านโนนคูณ หมู่ 8 บ้านนิคมโคกม่วง และหมู่ 9 บ้านหนองสวรรค์ ที่ตั้ง และอาณาเขตติดต่อ สภาพ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา โดยเฉพาะพื้นที่ในด้านทิศตะวันตกติดกับภูเก้า สภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรม โดยมีเขตติดต่อกับพื้นที่อื่นๆ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับ ต.นามะเฟือง อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ทิศใต้ ติดกับ ต.กุดดู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันออก ติดกับ ต.ปางกู่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันตก ติดกับ ต.นิคมพัฒนา, ต.โคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ประชากร จำนวนประชากรในเขตตำบลบ้านถิ่น รวม 6,358 คน จำแนกเป็นเพศชาย 3,224 คน และหญิง 3,134 คน 1,463 ครัวเรือน การประกอบอาชีพ อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ และมีอาชีพเสริม ได้แก่ การจักสาน และปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่มีมาแต่ดั้งเดิม 1. น้ำตกตาดโตน บ้านหนองเล้าข้าว 2. แหล่งโบราณคดีบ้านกุดกวางสร้อย กิจกรรมกลุ่ม -กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด โดยมีสินค้าสำคัญ คือ เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดฮังการี ทรัพยากรท่องเที่ยว -แหล่ง ประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณคดีโนนกลาง เป็นสถานที่ที่ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ เครื่องประดับและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก และถูกรวบรวมเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์บ้านกุดกวางสร้อย -น้ำตกตาดโตนบ้านหนองเล้าข้าว แหล่งกำเนิดน้ำตกจากภูเก้าลงมาจากหน้าผาสูงลดหลั่นกัน 3 ชั้น และมีน้ำไหลตลอดปี ตำบลนิคมพัฒนา อ.โนนสัง ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ตำบล นิคมพัฒนา แยกการปกครองออกจากตำบลกุดดู่ และตำบลโนนสัง ตั้งขึ้นเป็นตำบลเมื่อประมาณปี พ.ศ.2524 ประกอบด้วยชุมชน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านนิคมพัฒนา หมู่ 2 บ้านหนองหัววัว หมู่ 3 บ้านภูเก้า หมู่ 4 บ้านโคกสง่า หมู่ 5 บ้านโคกสะอาด หมู่ 6 บ้านหนองนาเลิง หมู่ 7 บ้านนิคมทองหลาง หมู่ 8 บ้านโสกแดง หมู่ 9 บ้านโสกม่วง หมู่ 10 บ้านดงบาก หมู่ 11 บ้านโคกเจริญ ที่ตั้ง และอาณาเขตติดต่อ ตำบล นิคมพัฒนา มีเนื้อที่ทั้งหมด 43.34 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 27,088 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ตั้งแต่ 180 - 540 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมีเทือกเขาสูง คือ ภูเก้า อยู่ด้านทิศตะวันตก และมีแนวเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง คือ ทิศเหนือ ติดกับ ต.บ้านถิ่น, ต.โคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศใต้ ติดกับ ต.โนนเมือง, ต.หนองเรือ, ต.โนนสัง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันออก ติดกับ ต.กุดดู่, ต.บ้านถิ่น อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันตก ติดกับ ต.โคกม่วง อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ประชากร จำนวนประชากรในเขตตำบลนิคมพัฒนา รวม 4,292 คน จำแนกเป็น ชาย 2,143 คน และหญิง 2,149 คน 971 ครัวเรือน การประกอบอาชีพ อาชีพ หลักที่สำคัญของชุมชน คือ ทำนา และการประกอบอาชีพอื่นๆ เสริม ได้แก่ การทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ รับจ้าง และอุตสาหกรรมในครัวเรือน ทรัพยากรท่องเที่ยว 1. อุทยานแห่งชาติภูเก้า 2. วัดพระพุทธบาทภูเก้า 3. วัดป่านิคมอุปถัมภ์ภิกาวาส 4. วัดป่าเทพนิมิต กิจกรรมกลุ่ม กลุ่มทอผ้าไหม บ้านโคกสะอาด มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาแต่ดั้งเดิม และสร้างรายได้เสริมแก่ครอบครัว ทรัพยากรท่องเที่ยว -รอยพระพุทธบาท มีการค้นพบในปี 2503 มีขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เซนติเมตร ลึก .20 เมตร สลักอยู่บนก้อนหิน -หอ สวรรค์ เป็นจุดชมวิวบนหอสูงตั้งบนหน้าผาสูงจากพื้น ประมาณ 12 เมตร ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้อย่างสวยงาม -รอยเท้าไดโนเสาร์ พบรอยเท้าไดโนเสาร์บนหิน ขนาด 12X18 เซนติเมตร ลึก 2-3 เซนติเมตร พบร่องรอยเท้าที่สมบูรณ์ 5-6 รอย จากทั้งหมด 14-15 รอย -ถ้ำปึ้ม พบภาพเขียนสีโบราณรูปฝ่ามือแดง ก้างปลา และอักษรโบราณเขียนอยู่ติดกับผนังถ้ำ ตำบลนามะเฟือง อ.เมืองฯ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ตำบล นามะเฟือง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลมาเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 สำนักงานตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 บ้านโนนสว่าง มีระยะทางห่างจากจังหวัดหนองบัวลำภู ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 22 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนมากเป็นภูเขา และที่ราบลุ่ม ชุมชนในเขตการปกครอง รวม 7 หมู่บ้าน ที่ตั้ง และอาณาเขต ตำบลนามะเฟือง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 84.27 ตารางกิโลเมตร หรือ 52,668 ไร่ โดยมีแนวเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดกับตำบลบ้านขาม อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันออก ติดกับตำบลอุบมุง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ทิศใต้ ติดกับตำบลบ้านถิ่น อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ทิศตะวันตก ติดกับตำบลหัวนา อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู ประชากร ประชากร ทั้งสิ้น 5,442 คน จำแนกเป็นชาย 2,675 คน และหญิง 2,767 คน 1,390 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ย 69.09 คน/ตารางกิโลเมตร การประกอบอาชีพ ประชากรของตำบล ส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตรกรรม คือ ทำการเกษตร 90 % รับจ้างทั่วไป 2 % ค้าขาย 3 % และรับราชการ 5 % ทรัพยากรแหล่งน้ำ -ลำน้ำ และลำห้วย รวม 9 สาย -บึง หนอง และอื่นๆ รวม 15 สาย -ฝาย 5 แห่ง ทรัพยากรป่าไม้ -พื้นที่ป่าไม้ของตำบลหลงเหลือ ประมาณ 30% กิจกรรมกลุ่ม 1. กลุ่มอาชีพ 7 กลุ่ม 2. กลุ่มฌาปนกิจ 7 กลุ่ม 3. กลุ่มออมทรัพย์ 1 กลุ่ม 4. กลุ่มแม่บ้าน 7 กลุ่ม 5. กลุ่มสหกรณ์ร้านค้า 1 กลุ่ม ทรัพยากรท่องเที่ยว สถาน ที่ท่องเที่ยวสำคัญเป็นที่รู้จักกัน คือ เขื่อนห้วยหว้าภูพานทอง มีทัศนียภาพสวยงามสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง บทที่ 3 จังหวัดสกลนคร ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ที05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม