สู้ด้วยชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด

1167 06 Dec 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: ต.ดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.สุวรรณคูหา สู้ด้วยชีวิตเพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด เสียง กัมปนาทจากปลายกระบอกปืนดังกึกก้องไปไกล คมกระสุนจากอาวุธสงครามปลิดชีพชายสองคนขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ในทันที รถปิคอัพคันนั้นนำมือปืนผู้ลั่นไกจากไปอย่างไร้ร่องรอย... ชายสองคนเหยื่อกระสุนเอ็มสิบหกนอกจมกองเลือดอยู่เคียงข้างกัน คือ “ทองม้วน  คำแจ่ม” กำนันตงฉินแห่งตำบลดงมะไฟ อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู และ “สม หอมพรหมา” แกนนำคนสำคัญในการคัดการขอประทานบัตรสัมปทานเหมืองหินปูนในพื้นที่ ทอง ม้วน คำแจ่ม ในฐานะกำนันของชาวบ้านตำบลดงมะไฟ เขาออกแรงกว่าใครเพื่อนในการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติจากการ สัมปทานของบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ที่ร่วมมือและมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับบรรดาผู้บริหารในองค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับในพื้นที่ขึ้นไปถึงระดับ ชาติ เขา เป็นตัวตั้งตัวตีในการนำชาวบ้านกว่า ๓๐๐ คน ไปยื่นหนังสือคัดค้านการขอประทานบัตรต่อรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองบัวลำภู หลังจากที่ประธานองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ มิได้ทำการปิดประกาศการขอประทานบัตร ณ ที่ทำการฯ ซึ่งเขาค้นพบประกาศฉบับนั้นในลิ้นชักโต๊ะทำงานของประธานฯ หลังจากที่ถูกส่งมาแล้วหลายวัน “ทองม้วน คำแจ่ม” และ “สม หอมพรหมา” คือ ประวัติศาสตร์ที่ย้อนกลับมาซ้ำรอยของชาวดงมะไฟ ในการสังเวยชีวิตจากการต่อสู้เพื่อปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิดจากน้ำมือจาก อิทธิพลเถื่อน ด้วย “บุญรอด  ด้วงโคตร” และ “สนั่น สุขสุวรรณ” แกน นำรุ่นแรกที่ถูกปลิดชีพไปก่อนหน้าด้วยเหตุเดียวกันเมื่อปี ๒๕๓๖ ย้อนกลับไปเพียง ๖ ปี หลังจากการรวมตัวคัดค้านการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ไม่กี่วัน ศพ ของทองม้วน ถูกแห่นำไปประท้วงที่ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเรียกร้องให้มีการเร่งรัดสอบสวนหาตัวผู้บงการ และแม้ว่าจะได้เรียกร้องให้กองบัญชาการตำรวจภาค ๔ มาดูแลคดีแทนตำรวจในพื้นที่ แต่ก็มิได้ทำให้คดีคืบหน้ากระทั่งทุกวันนี้ ร่าง กายอันเน่าเปื่อยของเขายังนอนอยู่ในที่จัดเก็บมิได้ถูกนำไปฌาปนกิจ ด้วยหวังให้คดีคลี่คลายลง แต่มีแนวโน้มอย่างยิ่งว่าจะไม่สามารถสาวถึงผู้บงการได้ ภูเขา หินปูนตั้งตระหง่านอยู่คู่ชุมชนแถบนี้มายาวนาน ภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ภูผายาซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกันคือหลักฐาน ยืนยันที่หนักแน่น ภูมิประเทศ บริเวณผืนป่าผายา ผาจันไดและผาโขงนี้ เป็นภูเขาหินปูน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๖๐ - ๓๓๐ เมตร สภาพเป็นป่าเบญจพรรณผสมไม้ไผ่ แม้จะมีต้นไม้ใหญ่ไม่มากนักแต่ก็มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ชาวบ้านได้ใช้พืชพรรณหลายชนิดในบริเวณนี้เป็นอาหาร ในบริเวณนี้มีลำห้วยสาขาของห้วยปูน ห้วยสาวโฮ และห้วยคะนานที่ชาวบ้านในพื้นที่ใช้น้ำในการทำนา เลี้ยงสัตว์ และปลูกพืชผักในหน้าแล้ง รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้และปลูกฝังสำนึกการรักษาและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของบรรดาเด็กและเยาวชนลูกหลานของชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย นอก จากนั้น ทางด้านทิศตะวันออกของภูผายามีภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพลางเลือนและทรุดโทรม แต่ก็ถือเป็นโบราณสถานที่มีคุณค่าทางวิชาการ เป็นหลักฐานสำคัญถึงร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ บริเวณนี้ ภาพเขียนสีนี้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์บนเทือกเขา ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในราวปลายปี ๒๕๔๑ แกนนำชาวบ้านรู้ข่าวจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟว่าจะมีการ เข้า ไปสำรวจผาจันได ผาฮวก และผาน้ำลอด เพื่อให้ประทานบัตรแก่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จึงได้รวมตัวกันโต้แย้งคัดค้านการให้ประทานบัตร นายอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อต้นปี ๒๕๔๒     แต่ การคัดค้านของชาวบ้านไม่เป็นผล ทางราชการมิเพียงเพิกเฉยเท่านั้น แต่ยังได้ดำเนินการออกประทานบัตรให้แก่บริษัท มีกำหนดเวลาถึง ๑๐ ปี “เป็น พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรม ไม่มีไม้มีค่า อยู่ในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น ๓-๔ มิใช่แหล่งต้นน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำกัด...” คือเหตุผลที่บริษัทเอกชนใช้ตีความเพื่อขอรับประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ ทั้งนี้ยังได้รับความชอบธรรมจาก “คณะกรรมการกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู” ว่า จังหวัดหนองบัวลำภู ขาดแคลนหินก่อสร้างเนื่องจากเป็นจังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ มีการก่อสร้างอีกมากภายในจังหวัดมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ควรจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะแหล่งหินที่เขาภูผาจันได ซึ่งมีศักยภาพทางธรณีวิทยา เหมาะที่จะพัฒนาเป็นเหมืองหินอุตสาหกรรม ซึ่งความเห็นดังกล่าวเป็นที่มาของการกำหนดให้เป็นแหล่งหินอุตสาหกรรม บริษัทฯ ดังกล่าวได้รับประทานบัตร ที่ ๑๑/๒๕๓๗ ในท้องที่ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน กฏระเบียบต่าง ๆ ที่มีอยู่เอื้อต่อการเข้ามารับประทานบัตร โดยที่ชาวบ้านในพื้นที่แทบไม่มีสิทธิมีเสียง ใน กระบวนการยื่นขอประทานบัตรนั้น ทางบริษัทฯ ได้สร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งคณะ รวมทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ร่วมมือดำเนินการจนกระทั่งสามารถกำหนดพื้นที่ ทำการรังวัดและไต่สวนสภาพของพื้นที่ และได้รับความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ รวมทั้งการผ่านขั้นตอนการติดประกาศการขอประทานบัตรในพื้นที่ได้สำเร็จ ซึ่งกว่าที่ชาวบ้านจะทราบเรื่องประกาศการขอประทานบัตรก็ทำให้การโต้แย้งต่อ เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ ไม่ทันเวลาตามที่กำหนดไว้ภายในระยะ ๒๐ วัน นอก จากนั้นในกระบวนการยื่นขอประทานบัตรนั้น ทางบริษัทฯ ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบกับรายงานดังกล่าว เป็นผลให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สามารถพิจารณาดำเนินการออก ประทานบัตรต่อไปได้ อย่าง ไรก็ตาม ในการยื่นคำโต้แย้งของชาวบ้านนั้น กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่มีความเห็นว่าคำโต้แย้งของชาวบ้านไม่มี เหตุผล ด้วยพื้นที่การขอประทานบัตรเป็นพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ซึ่งบริษัทฯ ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ให้ใช้พื้นที่แล้ว ชาวบ้านที่รวมตัวกันโต้แย้งนั้น มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่ดินในเขต การขอประทานบัตร โดยมิได้สนใจว่าชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ในการหาอยู่หากินหลาย ชั่วอายุคนมาแล้ว สำหรับ ความเห็นของประชาชนในพื้นที่ ทางบริษัทฯ ให้เหตุผลว่า องค์การบริหารส่วนตำบลดงมะไฟ ซึ่งถือเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว  ดังนั้นการพิจารณาออกประทานบัตรนั้นจึงเป็นการได้ดำเนินที่ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย การ ต่อสู้ของชาวบ้านในพื้นที่เพื่อปกป้องแผ่นดินและทรัพยากรเป็นไปอย่างเข้มข้น และไม่ลดละความพยายามแม้จะมีแกนนำเสียชีวิตไปแล้วถึง ๔ คน ภาย หลังบริษัทฯ ได้ประทานบัตรแล้ว ก็ได้นำเครื่องจักรเข้าพื้นที่เพื่อเตรียมการ เริ่มมีคนงานเข้าไปทำงานภายในเหมือง ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันกว่า ๕๐๐ คน ในพื้นที่สัมปทานเพื่อขัดขวางการเข้าทำงานของบริษัทฯ ในวันนั้นเพิงพักคนงานถูกไฟไหม้ แกนนำจำนวนหนึ่งจึงถูกแจ้งความและมีหมายจับจากทางสถานีตำรวจ ใน เวลาถัดมา บริษัทฯ ร่วมกับคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จะจัดประชุมเพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินการเหมืองแร่ ชาวบ้านหลายร้อยคนทราบข่าวจึงไปรวมตัวกันและปิดล้อมสถานที่ประชุมไว้มิให้มี การผ่านเข้าออก “เอกชัย ศรีพุทธา” แกน นำชาวบ้านซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมในข้อหาวางเพลิง ณ ที่นั่น หลังจากมีแกนนำชาวบ้าน ๖ คนถูกจับตัวไปก่อนหน้านั้นแล้ว ทั้งหมดถูกตั้งวงเงินประกันไว้สูงถึงคนละ ๒๕๐,๐๐๐ บาท แกน นำชาวบ้านทั้ง ๖ คน ถูกกระจายไปฝากขังตามสถานที่ต่าง ๆ นานกว่า ๒ สัปดาห์ก่อนที่คณะครูในพื้นที่จำนวน ๑๒ คน จะใช้ตำแหน่งประกันตัวออกมา ซึ่งในระยะเวลาไล่เรี่ยกันนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ และได้ประสานงานให้สภาทนายความมาช่วยชาวบ้านต่อสู้คดี เอก ชัย ศรีพุทธาและแกนนำชาวบ้านที่ถูกตั้งข้อหาดำเนินคดีและส่งฟ้องศาล พวกเขาต้องเดินทางขึ้นโรงขึ้นศาลเป็นเวลากว่า ๓ ปี จนกระทั่งศาลชั้นต้นได้ยกฟ้อง แต่ทางบริษัทฯ มิได้หยุดดำเนินการ ได้ทำการอุทธรณ์ต่อศาล และจากการต่อสู้ในศาลอุทธรณ์ เอกชัยและพรรคพวกแพ้คดี ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการต่อสู้ในชั้นศาลฎีกา หลัง จากเอกชัย ศรีพุทธา และแกนนำได้รับการประกันตัว เข้าสู่กระบวนการต่อสู้คดีความ ชาวบ้านในพื้นที่ก็ได้รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่น เคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสร้างมวลชนและให้การศึกษาในพื้นที่ การร้องเรียนหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีการยกเลิกประทานบัตร แกน นำส่งหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ อธิบดีกรมป่าไม้ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บังคับการกองตำบลป่าไม้ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รวมทั้งนายกรัฐมนตรี แต่ไม่ได้รับคำชี้แจงจากหน่วยงานใด ๆ ใน ขณะเดียวกันได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชนวุฒิสภา ซึ่งกรรมการทั้งสองคณะได้สั่งให้บริษัทฯ หยุดดำเนินการจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่ก็ไม่หยุดดำเนินการ จึงได้นำเรื่องไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาล ปกครองชั้นต้น ได้ตัดสินให้เพิกถอนคำสั่ง ตามประทานบัตร โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ออกประทานบัตรเป็นต้นไป และให้คำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวหรือกำหนดวิธี การเพื่อคุ้มครองประโยชน์ใด ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา คงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือมีการอุทธรณ์คำพิพากษานี้และศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จากนั้นทางบริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยของศาลปกครองชั้นต้น  พิพากษากลับเป็นให้ยกฟ้อง  นอก จากการส่งหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งการยื่นถวายฎีกาแล้ว ชาวบ้านได้รวมตัวกันเข้ากรุงเทพฯ เพื่อขอเข้าพบ พ.ต.ต.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น แม้ ชาวบ้านจะไม่ได้รับโอกาสเข้าพบนายกรัฐมนตรี แต่ก็ได้พบกับ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รมว.กระทรวงมหาดไทย และได้เล่าเรื่องราวให้ฟัง ท่านรับฟังและรับปากว่าจะลงมาดูพื้นที่ ปลาย เดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๔ หลังจากที่ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ลงพื้นที่ไปดูกรณีการประทานบัตรที่ผาแต้ม ได้เดินทางต่อเข้ามาในพื้นที่ตำบลดงมะไฟ หลังจากได้รับทราบความจริงในพื้นที่ก็ได้สั่งการให้เหมืองแร่ชะลอการดำเนิน การ พร้อมกับตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ บริษัทจึงได้ยุติดำเนินการ แต่ยังมิได้ขนย้ายเครื่องจักรออกจากพื้นที่ แกนนำชาวบ้านกล่าวว่ายังมีความพยายามที่จะเข้ามาดำเนินการอีก      แม้ ว่าบริษัทฯ จะยุติดำเนินการเหมืองหินปูน แต่ในพื้นที่ซึ่งอุดมไปด้วยแร่นานาชนิดทำให้แกนนำชาวบ้านต้องเฝ้าระวังกัน อย่างต่อเนื่องต่อไป

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม