“อัคราไมนิ่ง”เล็งลงทุนเหมืองทองเพื่อนบ้าน ทุ่ม4พันล.ขยายกำลังผลิตรับกระแสราคาพุ่ง

1682 30 Oct 2012

“อัคราไมนิ่ง” ทุ่ม 4 พันล้านบาท ขยายโรงสกัดทอง เพิ่มรายได้ทะลุ 7 พันล้านบาทต่อปี รับกระแสตลาดทองโลกพุ่งกระฉุด เล็งขยายลงทุนเหมืองทองไปประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมประสานความร่วมมือในอาเซียนดันไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตทองของ ภูมิภาค จี้รัฐหนุนอุตสาหกรรมเหมืองแร่โดยเฉพาะบริษัทที่ใช้เมทคโนโลยีสะอาด ไม่กระทบสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบเหมืองขนาดเล็กเข้มงวด เพื่อไม่ให้เกิดภาพลบกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทั้งประเทศ ปกรณ์ สุขุม กรรมการผู้จัดการ บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัดเปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทฯอยู่ระหว่างการขยายโรงงานสกัดโลหะทองคำและเงินออกจากสินแร่ แห่งใหม่ มีกำลังการผลิต2.7 ล้านตัน/ปี ใช้เงินลงทุน 4 พันล้านบาทคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนพ.ย.นี้ ทำให้บริษัทฯมีกำลังการสกัดแร่โลหะทองคำเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านตัน/ปีสอดคล้องกับประทานบัตรที่บริษัทฯได้รับ14 แปลง ซึ่งจะสร้างรายได้บริษัทฯเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีรายได้ปีละ 5 พันล้านบาท เป็น7 พันล้านบาท ทั้งนี้จากราคาทองคำที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับ 1,300 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์จึงมีความคุ้มทุนในการทำเหมืองได้ลึกขึ้นทำให้ปริมาณสำรองสินแร่ทองคำเพิ่มขึ้นจากเดิม61 ล้านตันเป็น 100 ล้านตัน และขยายอายุการทำเหมืองทองคำได้นานขึ้นเป็น 15-18 ปี ส่วนปีนี้คาดว่าราคาทองคำจะทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1,300-1,400 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์ เนื่องจากมีกำลังซื้อจากจีนและอินเดียเพิ่มขึ้น ไม่ เพียงแต่จะเร่งผลิตแร่ทองคำในประเทศเท่านั้น บริษัทฯยังมีแผนที่จะขยายการลงทุนในยังประเทศเพื่อนบ้าน ล่าสุดได้ส่งทีมเข้าไปศึกษาแหล่งแร่ทองคำและเงินในลาวแล้ว และมีแผนจะส่งทีมเข้าไปดูในพม่าด้วย เนื่องจากคาดการณ์ว่าทั้งลาวและพม่าน่าจะมีสายแร่ทองคำเช่นเดียวกับไทย ขณะเดียวกันบริษัทได้รับอนุมัติอาชญาบัตรในการสำรวจแร่ทองคำที่พิจิตรและ พิษณุโลก คิดเป็นพื้นที่ 4.6 แสนไร่ ส่วนเพชรบูรณ์ และ บางพื้นที่พิจิตรยังไม่ได้รับอนุมัติอาชญาบัตร คาดว่าปีนี้จะใช้เงินประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการเข้าไปสำรวจแหล่งแร่ทองคำดังกล่าว นอก จากนี้ บริษัทฯยังศึกษาความเป็นไปได้ในการตั้งโรงแยกทองคำและเงินบริสุทธิ์ในไทย หากมีการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตฯทองคำแบบครบวงจร เนื่องจากโรงงานดังกล่าวต้องมีปริมาณทองคำป้อนมากกว่าที่บริษัทฯผลิตอยู่ 8-10 เท่าจึงจะคุ้มการลงทุน โดยจำเป็นต้องร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีเหมืองแร่ทองคำเช่น ลาว พม่าและกัมพูชามาป้อนแท่งโลหะทองคำและเงิน จึงจะมีปริมาณแร่เพียงพอกับการลงทุนซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตทอง ของภูมิภาค คาดว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นโครงการระยะยาวไม่ต่ำกว่า 8-10 ปีข้างหน้า สำหรับกรณีที่รมว.อุตสาหกรรมสั่งให้บริษัทฯหยุดดำเนินการทำเหมืองในแปลงเฟส 2 ทางเหนือ จำนวน 9 แปลงในช่วงเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 19.00-05.00น. จนกว่าจะมีการแก้ไขปัญหาเสียงดังตามที่มีชาวบ้านร้องเรียนนั้นบริษัทฯขอยืน ยันว่าเสียงที่เกิดระหว่างการทำงานนั้นต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ที่ผ่านมาบริษัทได้ส่งทีมงานตรวจสอบสิ่งแวดล้อมและความดังของเสียงอยู่เสมอ แต่เพื่อไม่ให้เกิดข้อพิพาทอีก บริษัทฯจึงได้มีการสร้างกำบังเสียงยาวกว่า 100 เมตร สูง 6-7 เมตรซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบแล้วจะเสนอไปยังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออนุญาตให้บริษัทฯสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รวมทั้งได้มีการติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่สามารถกรองโลหะหนักใกล้ครบทุก พื้นที่ ยังขาดเพียง 2 หมู่บ้าน โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในเร็วๆนี้ และผลการตรวจเลือดจากชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงเหมืองฯไม่พบว่ามีสิ่งผิด ปกติแต่อย่างใด อย่าง ไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เท่าที่ควร ทั้งๆที่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมีแหล่งทรัพยากรอยู่อีกมาก สามารถขุดขึ้นมาทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อย่างมหาศาล ซึ่งถ้าหากรัฐไม่สนับสนุนก็จะเป็นการฝังสมบัติของชาติไว้ใต้ดินโดยไม่ก่อให้ เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้นกับระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ทั่วโลกและประเทศไทยต่างต้องการทรัพยากรเข้ามา ป้อนอุตสาหกรรมในประเทศที่กำลังขยายตัวทำให้แร่ธาตุต่างๆมีมูลค่าสูงขึ้นมาก และถ้ายิ่งปล่อยเวลาออกไปโดยไม่เหลียวแลอุตสาหกรรมนี้ ก็จะยิ่งทำการสำรวจและผลิตได้ยาก เพราะที่ดินจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆโดยไม่คุ้มค่ากับการลงทุน โดยหลายประเทศทั่วโลก เช่น ออสเตรเลีย และหลายประเทศในแอฟริกา ต่างก็สนับสนุนในอุตสาหกรรมแขนงนี้ ทำให้สร้างเม็ดเงินให้กับประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทได้จ่ายค่าภาคหลวงให้รับไปแล้วกว่า 1 พันล้านบาท ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ทั้ง นี้ที่ผ่านมายอมรับว่ามีเหมืองแร่หลายแห่งที่ดำเนินกิจการโดยขาดความรับผิด ชอบซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการรายเล็ก ทำให้ภาพพจน์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่เสียหาย ซึ่งในความเป็นจริงบริษัทเหมืองแร่ขนาดใหญ่ล้วนมีกระบวนการผลิตที่ได้ มาตรฐาน มีระบบป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด ดังนั้นรัฐบาลจึงควรให้การสนับสนุนบริษัทที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดีมี เทคโนโลยีสะอาด และควบคุมแหมืองแร่ที่ไม่รับผิดชอบออกไปจากระบบเพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมนี้ เกิดความเสียหาย   ที่มา http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000039766

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม