ข้อสังเกตกรณีศาลปกครองเพิกถอนประทานบัตรเหมืองทองอัคราฯ

1882 30 Oct 2012

ข้อสังเกตกรณีศาลปกครองเพิกถอนประทานบัตรเหมืองทองอัคราฯ ตอนที่ 1 : ความร่วมมือระหว่างบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด และหน่วยงานราชการของรัฐ ในการทำคำชี้แจงและให้ถ้อยคำต่อศาลปกครองพิษณุโลกเพื่อพิจารณาคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา : ความร่วมมือระหว่างบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด และหน่วยงานราชการของรัฐ ในการทำคำชี้แจงและให้ถ้อยคำต่อศาลปกครองพิษณุโลกเพื่อพิจารณาและพิพากษาคดีที่ชาวบ้านเขาหม้อยื่นฟ้องให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและเงิน : ผลของคำพิพากษาคดีที่ชาวบ้านเขาหม้อยื่นฟ้องให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและเงิน เพื่อแสดงความคิดเห็นต่อคำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลกกรณีชาวบ้านเขาหม้อฟ้องให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและเงินของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด : ความร่วมมือระหว่างบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด และหน่วยงานราชการของรัฐ ในการทำคำชี้แจงและให้ถ้อยคำต่อศาลปกครองพิษณุโลกเพื่อพิจารณาคำขอให้ศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) คณะกรรมการเหมืองแร่ อธิบดีกรมป่าไม้ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจ็ดลูก ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ - ๕ ตามลำดับ และบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ร้องสอด เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา โดยมีคำพิพากษาว่า ให้เพิกถอนประทานบัตรที่ ๒๖๙๑๗/๑๕๘๐๔, ๒๖๙๒๒/๑๕๘๐๕, ๒๖๙๒๑/๑๕๘๐๖, ๒๖๙๒๐/๑๕๘๐๗ และ ๒๖๙๒๓/๑๕๘๐๘ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยให้การเพิกถอนมีผลในวันที่ผู้ร้องสอดไม่จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการเหมืองแร่ทองคำให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๒ ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดหนึ่งปี หรือเมื่อรายงานนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบ ทั้งนี้นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด คำขออื่นให้ยก" โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนี้ ซึ่งถ้าหากพิจารณาเฉพาะสัดส่วนการถือหุ้นก็จะเห็นได้ว่าบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด มีการถือครองหุ้นโดยฝ่ายไทยมากกว่าฝ่ายออสเตรเลีย เป็นไปตามเงื่อนไขตามบัตรส่งเสริมเลขที่ ๑๐๗๑/๒๕๔๔ ที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ออกให้แก่บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นบัตรส่งเสริมในส่วนของการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินตามโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี แต่เมื่อพิจารณาระหว่างสัดส่วนการถือหุ้นกับการถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนจะทำให้เกิดความสงสัยว่าแท้จริงแล้วบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติไทยหรือไม่ เนื่องจากหุ้นบุริมสิทธิทั้งหมดที่ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเป็นผู้ถือเอาไว้นั้น ได้แจ้งเอาไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ ว่าได้ชำระเงินแล้วเพียง ๒.๕๐ บาทต่อหุ้นเท่านั้น จากราคาเต็มหุ้นละ ๑๐ บาท คิดเป็นจำนวนเงินเพียง ๖๖,๗๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อรวมกับจำนวนเงิน ๕๐ บาท ที่ชำระหุ้นสามัญ ๕ หุ้นของบุคคลสัญชาติไทยได้เท่ากับ ๖๖,๗๕๐,๐๕๐ บาท ยังเหลือค่าหุ้นบุริมสิทธิของผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยส่วนที่ยังไม่ได้ชำระอีก ๒๐๐,๒๕๐,๐๐๐ บาท ในส่วนหุ้นสามัญของฝ่ายออสเตรเลียได้ชำระเงินเต็มตามจำนวนราคาหุ้นทั้งหมดที่ถือไว้คือ ๒๔๔,๙๙๙,๙๕๐ บาท ให้ความสำคัญในเรื่องของการถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนมากกว่าสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งถ้าดูในมุมมองนี้แล้วจะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจดทะเบียนระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายออสเตรเลียเป็นร้อยละ ๒๑.๕ ต่อ ๗๘.๕ ทันที นั่นก็แสดงว่าบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด มีสถานะเป็นบริษัทต่างด้าวสัญชาติออสเตรเลียมากกว่าสัญชาติไทย "นอมินี" ในโครงสร้างและสายสัมพันธ์เชื่อมโยงการถือหุ้นของบริษัท อัครา ไมนิ่ง จำกัด ? แต่อย่างไรก็ตามมีข้อที่ต้องใคร่ครวญพิจารณาต่อสถานะความเป็นบริษัทสัญชาติไทยของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด อยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ หนึ่ง-บริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือไม่ สอง-ผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด หรือไม่ และสาม-ผลประโยชน์จากรายได้ที่ได้จากการประกอบกิจการเหมืองแร่และโรงถลุงแร่ทองคำและเงินของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ตกอยู่กับฝ่ายไทยหรือฝ่ายออสเตรเลียมากกว่ากัน แต่สถานะความเป็นบริษัทสัญชาติไทยของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ก็ยังคลุมเครืออยู่เช่นเดิม เหตุก็เพราะว่าผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเลือกถือหุ้นบุริมสิทธิเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง ๕ หุ้นที่เป็นหุ้นสามัญเท่านั้น ซึ่งบ่งชี้ถึงเจตนาบางอย่างในกระบวนการถือหุ้นที่มีลักษณะสมยอมและยินยอมต่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่สัญชาติออสเตรเลีย คือ บริษัท คิงส์เกท คอนโซลิเดดเต็ด โดยสมยอมและยินยอมให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่สัญชาติออสเตรเลียเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเพิ่มทุนและกุมอำนาจในการเป็นเจ้าของและบริหารงานบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด อย่างเต็มกำลัง โดยผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยเลือกที่จะงดการมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ขอเพียงแค่รอรับเงินปันผลจากการถือหุ้นบุริมสิทธิก็พอใจแล้ว รายงานลักษณะธรณีซึ่ง กพร. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ แผนผังโครงการทำเหมือง ซึ่ง กพร. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ และวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีหนังสือแจ้งความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ขนาดของพื้นที่โครงการ ประเภทของพื้นที่พร้อมรายละเอียด เช่น เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือที่ดินของรัฐ เป็นต้น ลักษณะภูมิประเทศต้องระบุสภาพภูมิประเทศของพื้นที่โครงการ แสดงจุดที่ตั้งโครงการโดยใช้แผนที่ลักษณะภูมิประเทศ มาตรา ๑ แสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพื้นที่โครงการและพื้นที่ข้างเคียง และแสดงเส้นทางการคมนาคมเข้าสู่พื้นที่โครงการโดยละเอียด ในด้านลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการกำเนิดของแหล่งแร่ การวางตัวของแหล่งแร่สัมพันธ์กับชั้นหินข้างเคียง ความหนาของชั้นดิน ชั้นหิน รูปร่างและขนาดของแหล่งแร่ คุณสมบัติของแร่ เช่น ความหนาแน่นของแร่ในพื้นที่โครงการ คุณสมบัติทางเคมี การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น และข้อมูลอื่นที่มีความสำคัญของแหล่งแร่ ซึ่งมีผลต่อการออกแบบการทำเหมืองและเป็นไปตามหลักวิชาการทางธรณีวิทยา มูลค่าแหล่งแร่ พร้อมแผนที่ลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ของพื้นที่โครงการ มาตราส่วน ๑ และต้องแสดงภาพขอบเขตและภาพตัดขวางแหล่งแร่โดยละเอียด นอกจากนี้ยังต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับความแข็งแรงทางกลศาสตร์ของโครงสร้างธรณีวิทยาแหล่งแร่และหินข้างเคียง การจัดคุณภาพหินและค่าเฉพาะต่าง ๆ ของชั้นดิน ชั้นหินและชั้นแร่ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการออกแบบการทำเหมืองแร่ให้เป็นไปตามหลักวิชาการ โรงแต่งแร่ พื้นที่เก็บกองแร่ พื้นที่เก็บกองเปลือกดิน เศษหิน บ่อดักตะกอน อาคารเก็บวัตถุระเบิด เป็นต้น พร้อมแผนที่รายละเอียดการวางรูปแบบเหมือง การกำหนดอัตราการผลิตแร่ การออกแบบเหมือง ระยะเวลาการทำเหมือง ความลาดเอียงรวมของหน้าเหมือง การออกแบบการทำเหมืองเพื่อการประเมินปริมาณสำรองแหล่งแร่ที่สามารถทำเหมืองได้ การประเมินปริมาตรเปลือกดินและเศษหินที่เกิดจากการทำเหมือง มูลค่าแหล่งแร่จากการทำเหมือง การเปิดเปลือกดินและหิน การผลิตแร่ การควบคุมคุณภาพแร่ กรณีที่มีการใช้วัตถุระเบิดให้ระบุรายละเอียดการใช้และเก็บวัตถุระเบิด ได้แก่ การออกแบบการเจาะรูระเบิด เช่น ขนาดรูเจาะระเบิด ระยะระหว่างรู ระยะระหว่างแถว ความลึกรูเจาะ ชนิดของวัตถุระเบิด ปริมาณการใช้ต่อรูเจาะระเบิดและต่อจังหวะถ่วง เป็นต้น รวมถึงรายละเอียดการออกแบบอาคารเก็บวัตถุระเบิด การรักษาความปลอดภัยในการใช้และเก็บวัตถุระเบิด การขนส่งวัตถุระเบิด เป็นต้น ต้องแสดงข้อมูลเกี่ยวกับปริมาตรและการจัดการเปลือกดิน เศษหินและมูลดินทรายที่เกิดจากการทำเหมือง โดยระบุการเก็บกองและการดูแลรักษาที่สามารถป้องกันการชะล้างพังทลาย การแก้ไขปัญหาสภาพความเป็นกรดด่างและการปนเปื้อนของโลหะหนักสู่พื้นที่ภายนอก กรณีที่มีการใช้น้ำในการทำเหมือง ต้องระบุการใช้น้ำสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ และการป้องกันและรักษาคุณภาพน้ำในพื้นที่โครงการ เช่น การระบายน้ำ ทิศทางการไหลของน้ำ การกักเก็บน้ำ การปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนการระบายออกสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น ในส่วนของเครื่องจักระและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำเหมือง ต้องระบุขนาดและจำนวนของเครื่องจักรแต่ละชนิดที่สัมพันธ์กับแผนการทำเหมือง การบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน แต่ละขั้นตอนในกระบวนการแต่งแร่พร้อมแผนภูมิในการทำงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแต่งแร่ต้องระบุขนาดและจำนวนของเครื่องจักรแต่ละชนิด การจัดการแร่และหางแร่โดยระบุการเก็บแร่และหางแร่ที่ได้จากกระบวนการแต่งแร่ เช่น พื้นที่ที่ใช้ในการเก็บกอง ปริมาตรการเก็บกอง การดูแลรักษาก่อนการจำหน่าย เป็นต้น การจัดการของเสียจากการแต่งแร่ เช่น ฝุ่น น้ำเสีย กาก ตะกอน ต้องระบุวิธีการจัดการ การออกแบบพื้นที่กักเก็บ ปริมาตรของเสียที่เกิดจากกระบวนการแต่งแร่ การกำจัดของเสียจากพื้นที่กักเก็บ และมาตรการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังการปนเปื้อนของของเสียสู่สิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่โครงการและพื้นที่ข้างเคียง จะเห็นได้ว่าเนื้อหารายละเอียดที่จำเป็นจะต้องมีหรือปรากฎอยู่ในเอกสารรายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่และแผนผังโครงการทำเหมืองก็คือเนื้อหาที่จำเป็นจะต้องมีหรือปรากฎอยู่ในอีไอเอหรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั่นเอง เนื่องจากว่าหลักการทำอีไอเอจะต้องทำอีไอเอตามแผนผังโครงการทำเหมืองและรายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ในพื้นที่ที่ได้รับความเห็นชอบให้ทำเหมืองและโรงแต่งแร่ ซึ่งในที่นี้คือประทานบัตร เพื่อจะได้ทำการประเมิน วิเคราะห์หรือคาดการณ์และวางมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านต่าง ๆ ให้ถูกต้องและไม่คลาดเคลื่อนไปจากพื้นที่ที่ได้รับประทานบัตร แต่ความเป็นจริงกลับปรากฏว่ารายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่และแผนผังโครงการทำเหมืองไม่ได้ถูกนำไปเป็นส่วนหนึ่งของอีไอเอ มีการจัดทำเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นดังกล่าวแยกออกไปจากการทำอีไอเอ มิหนำซ้ำเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นดังกล่าวยังได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้อนุญาต คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๘๕ (หน้าสุดท้าย) ย่อหน้าสุดท้าย คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๕ บรรทัดที่ ๑ - ๓ ของย่อหน้าสุดท้าย โครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรี ประกอบด้วยประทานบัตรทั้งหมด ๔ แปลง ได้รับอนุญาตประทานบัตรตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ ต่อมาบริษัทฯ ได้ขอประทานบัตรเพิ่มเติมอีก ๙ แปลง ที่เรียกว่าโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ซึ่งได้รับอนุญาตประทานบัตรเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ โดยประทานบัตรทั้งโครงการชาตรีและชาตรีเหนือเป็นประทานบัตรที่มีเขตติดต่อกัน ขอร่วมแผนผังโครงการทำเหมืองเดียวกัน ซึ่งประทานบัตรที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครองพิษณุโลกในบทความนี้เป็นประทานบัตร ๕ แปลง ที่อยู่ในเขตจังหวัดพิจิตรของโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ ส่วนประทานบัตรอีก ๔ แปลง ที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ของโครงการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือไม่ได้นำมาร่วมฟ้องคดีต่อศาลปกครองพิษณุโลกในครั้งนี้ด้วย - ผู้เขียน คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๖ บรรทัดที่ ๙ - ๑๕ แต่ไม่ได้ผ่านกระบวนการให้ความเห็นชอบจากหน่วยงานที่กำกับ ดูแลหรือวางมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่นสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) แต่อย่างใด และยังเป็นการได้รับความเห็นชอบภายหลังจากที่อีไอเอผ่านความเห็นชอบไปแล้วอีกด้วย กล่าวคือรายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ได้รับความเห็นชอบจาก กพร. และกรมทรัพยากรธรณีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ตามลำดับ ส่วนแผนผังโครงการทำเหมือง กพร. ให้ความเห็นชอบสองครั้งเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๔๙ และวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ แต่อีไอเอ สผ. และ คชก. ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และทำหนังสือแจ้งความเห็นชอบต่อผู้ร้องสอดและ กพร. เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ที่น่าแปลกก็คือ สผ. และ คชก. ไม่มีรายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่และแผนผังโครงการทำเหมืองเป็นส่วนประกอบในการพิจารณาให้ความเห็นชอบอีไอเอ เพราะเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นดังกล่าวได้รับความเห็นชอบหลังจากอีไอเอผ่านความเห็นชอบไปแล้ว ซึ่งเป็นถ้อยคำที่บิดเบือนทั้งสิ้น ข้อมูลโครงการที่ยื่นประกอบคำขอประทานบัตร และเนื้อหาในอีไอเอประกอบกับความเห็นของผู้พิจารณารายงาน เป็นต้น เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี เพื่อประกอบการกำหนดเงื่อนไขอันจำเป็นในประทานบัตรต่อไป แต่เมื่อบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ยกมาตรา ๘๘/๗ ในส่วนของหมวด ๔/๑ การทำเหมืองใต้ดิน ขึ้นมาอ้างความรับผิดชอบในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแล้ว ก็ต้องนำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตราอื่นของหมวดการทำเหมืองใต้ดิน แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ขึ้นมาใช้เป็นแนวปฏิบัติด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและตัวแทนองค์กรเอกชนในท้องที่ที่ประสงค์จะขอประทานบัตรทำเหมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย และก่อนมีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจะต้องจัดส่งรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลโครงการที่ยื่นประกอบคำขอประทานบัตร และเนื้อหาในอีไอเอประกอบกับความเห็นของผู้พิจารณารายงาน ให้ผู้มีส่วนได้เสียพิจารณาล่วงหน้าก่อนการประชุมด้วย แต่เมื่อตรวจสอบดูข้อมูลทั้งหมดแล้วไม่พบว่ามีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการและประชาชนขึ้นมาเพื่อดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียแต่อย่างใด โดยเริ่มเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ จนมาสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ มีบทบัญญัติทั้งหมด ๑๓ มาตรา คือ มาตรา ๘๘/๑ - มาตรา ๘๘/๓ เนื้อหาในบทบัญญัติทั้ง ๑๓ มาตราดังกล่าวมีความแตกต่างกับบทบัญญัติในส่วนอื่นทั้งหมดของพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ตรงที่ได้บัญญัติวิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียไว้เป็นการเฉพาะ รูปแบบและเนื้อหาของการรับฟังความคิดเห็นฯ ที่บัญญัติเอาไว้ในหมวดของการทำเหมืองใต้ดินมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เริ่มจากการปรึกษาเบื้องต้นกับผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๘/๙ การรับฟังความคิดเห็นหลังจากที่อีไอเอผ่านความเห็นชอบแล้ว ตามมาตรา ๘๘/๗ การคัดเลือกตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียเพื่อเป็นผู้มีสิทธิตรวจสอบการทำเหมืองใต้ดินตามมาตรา ๘๘/๑๑ และการคัดเลือกคณะกรรมการเพื่อบริหารกองทุนสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๘/๑๐ ซึ่งรูปแบบและเนื้อหาของการรับฟังความคิดเห็นฯ ทั้ง ๔ เรื่องดังกล่าว จะต้องเริ่มต้นที่การคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๘/๙ ให้ได้เสียก่อน ดังนั้น หากบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ไม่ได้มีกระบวนการคัดเลือกผู้มีส่วนได้เสียที่กำหนดไว้ตาม ๘๘/๙ ก็ไม่สามารถอ้างว่าได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา ๘๘/๗ แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ เสร็จสิ้นแล้ว เนื่องจากเวทีรับฟังความคิดเห็นที่บริษัทฯ จัดขึ้นอาจจะเป็นการเกณฑ์ประชาชนที่ไม่มีความเห็นขัดแย้งกับบริษัทฯ เข้าไปร่วมเวทีแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และการอ้างการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา ๘๘/๗ เพียงประการเดียว โดยไม่จัดให้มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านอื่น ๆ ตามมาตรา ๘๘/๙ มาตรา ๘๘/๑๐ และมาตรา ๘๘/๑๑ ตามที่กล่าวมา ก็ไม่สามารถสร้างภาพความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ ให้ดูดีขึ้นมาได้ ส่วน กพร. ยื่นคำชี้แจงและให้ถ้อยคำต่อศาลในทางที่เป็นคุณต่อบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ว่ากรณีการใช้ประโยชน์ทางสาธารณะผู้ร้องสอดได้หารือเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต ซึ่งกรมที่ดินมีความเห็นว่าหากผู้ร้องสอดไม่มีความประสงค์จะใช้ทางสาธารณประโยชน์ที่อยู่ภายในบริเวณที่ขอประทานบัตร ไม่ว่าจะใช้เพื่อการทำเหมืองแร่หรือใช้ในลักษณะผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว กรณีนี้จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะต้องขออนุญาตตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่อย่างใด และหากมีความประสงค์จะใช้แล้วจะทำให้ทางสาธารณประโยชน์เสื่อมสภาพ ถูกปิดกั้นหรือทำลายจนเป็นเหตุให้ต้องขออนุญาตใช้ประโยชน์ตามมาตรา ๙ ของประมวลกฎหมายที่ดินหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำระหว่างบรรทัดในเบื้องแรกก็เข้าใจว่าบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ไม่ประสงค์จะใช้ทางสาธารณประโยชน์เพื่อการทำเหมืองแร่หรือเพื่อการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองแร่แต่อย่างใด แต่พอพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนในภายหลังก็ได้ความจริงว่าบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด ประสงค์จะใช้ทางสาธารณประโยชน์เพื่อการทำเหมืองแร่หรือเพื่อการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเหมืองแร่มาตั้งแต่ขั้นตอนต้น ๆ ของการดำเนินการขอประทานบัตรแล้ว และโดยสามัญสำนึกถึงแม้ไม่นำเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นดังกล่าวมาอ้าง โดยบริษัทฯ และ กพร. อาจจะให้เหตุผลว่าเอกสารทั้ง ๒ ชิ้นดังกล่าวจัดทำขึ้นมาภายหลัง ไม่เห็นเจตนาในการปิดกั้นหรือทำลายทางสาธารณประโยชน์ในช่วงเวลาของขั้นตอนต้น ๆ ของการดำเนินการขอประทานบัตรก็ตาม อย่างไรเสียการทำเหมืองแร่แบบเปิดหน้าดินย่อมทำให้สภาพของทางสาธารณประโยชน์เสื่อมสภาพ ถูกทำลายหรือสูญหายไปจากการขุดควักเอาสินแร่ใต้ดินอยู่เสมอ แทบไม่มีการทำเหมืองแบบเปิดหน้าดินแห่งใดในโลกจะละเว้นทางสาธารณประโยชน์ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยไม่ถูกทำลายได้ เห็นชอบให้บริษัทฯ เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่สาธารณประโยชน์ใด ๆ โดยสามารถปิดกั้น ทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ทางสาธารณประโยชน์ภายในเขตคำขอประทานบัตร หากชุมชนมีมติเห็นชอบก็ให้นำเสนอต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่ออนุญาตในขั้นตอนต่อไปและท้ายที่สุดเสียก่อน แต่ไม่ใช่มีมติเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๘ ให้ใช้ทางสาธารณประโยชน์ได้โดยกระโดดข้ามลัดขั้นตอน ซึ่งไม่ถูกต้องตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ แต่ชุมชนเขาหม้อและชุมชนใกล้เคียงยังไม่ล่มสลายไปก็จะไม่มีเส้นทางสาธารณประโยชน์ใช้สัญจรไปมาระหว่างชุมชนได้อีกแล้ว แต่ชาวบ้านในหมู่บ้านเขาหม้อได้คัดค้านการขอใช้ทางสาธารณประโยชน์ และที่ประชุมสภา อบต. เขาเจ็ดลูก มีมติเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ไม่เห็นชอบให้ใช้เส้นทางตามที่ขอดังกล่าว จึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาอนุญาตให้ใช้เส้นทางสาธารณประโยชน์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๔๓ อำเภอทับคล้อจึงได้มีคำสั่งให้ยกเลิกคำขอดังกล่าว โดยบริษัทฯ มีหนังสือลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๒ หลังจากที่ได้รับอนุญาตประทานบัตรไปแล้วหนึ่งปีกว่า (ประทานบัตรได้รับอนุญาตเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑) เพื่อขออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยโต้แย้งว่ามติที่ประชุมสภา อบต. เขาเจ็ดลูก ยืนยันมติที่ประชุมสภา อบต. เขาเจ็ดลูก ที่เห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สาธารณประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพิจิตรแล้ว อำเภอทับคล้อได้มีคำสั่ง ที่ ๒๒๕/๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเห็นว่ามติที่ประชุมสภา อบต. เขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นควรยืนยันตามคำสั่งเดิม ซึ่งพิจารณาแล้วเห็นว่าคำอุทธรณ์ของบริษัทฯ ไม่อาจรับฟังได้ เพราะว่าการประชุมสภา อบต. เขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๘ ที่มีมติเห็นชอบให้ผู้ร้องสอดปิดกั้น ทำลาย หรือทำให้เสื่อมแก่ทางสาธารณประโยชน์และทางน้ำอื่น ๆ มิได้มีการยื่นคำขออนุญาตตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มติที่ประชุมสภาทั้งสองครั้งจึงมิได้ขัดหรือแย้งกัน ซึ่งเป็นการออกใบอนุญาตภายหลังจากที่ได้รับอนุญาตประทานบัตรผ่านมาได้หนึ่งปีกว่าแล้ว โดยใช้อำนาจตามมาตรา ๖๓ ของพระราชบัญญัติแร่ ๒๕๑๐ แทนอำนาจตามมาตรา ๙ ของประมวลกฎหมายที่ดิน คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๖ บรรทัดที่ ๒๐ - ๒๗ คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๗ บรรทัดที่ ๗ - ๑๐ ของย่อหน้าแรก คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๑๐ สองบรรทัดสุดท้าย และ หน้า ๑๑ บรรทัดที่ ๑ - ๒ คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๙ บรรทัดที่ ๑๖ - ๑๘ ของย่อหน้าแรก คำพิพากษาศาลปกครองพิษณุโลก คดีหมายเลขดำที่ ๒๒๘/๒๕๕๓ คดีหมายหมายเลขแดงที่ ๑๖๓/๒๕๕๕ วันที่ ๒๗ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕. หน้า ๒ บรรทัดที่ ๑๔ - ๑๕ ส่วนรายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ได้รับความเห็นชอบจาก กพร. และกรมทรัพยากรธรณีเมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ และ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ ตามลำดับ ซึ่งเป็นช่วงเวลาภายหลังจากที่มีมติสภา อบต. เขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๘ ทั้งสิ้น ผู้ใหญ่บ้านและกำนันไม่ยอมนำรายงานการประชุมของชาวบ้านหมู่บ้านเขาหม้อที่คัดค้านประทานบัตรพิพาททั้ง ๕ แปลงเสนอต่อที่ประชุม รวมทั้งไม่ยอมสอบถามความเห็นของกรรมการหมู่บ้านเขาหม้อที่เข้าร่วมประชุมในวันดังกล่าวด้วยว่าจะคัดค้านหรือไม่ โดยรับฟังคำชี้แจงจากตัวแทนบริษัทฯ แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ในเรื่องของการปิดกั้น ทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพทางสาธารณประโยชน์ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อที่ผ่านมา สำหรับในส่วนของการให้ความเห็นชอบเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ มีข้อพิพาทระหว่างกรมป่าไม้กับเจ้าของที่ดินมาตั้งแต่ที่ดินที่ถือครองกรรมสิทธิ์ยังอยู่ในเขตพื้นที่คำขอประทานบัตร จนบริษัทฯ ได้รับอนุญาตประทานบัตรแล้วข้อพิพาทก็ยังคงอยู่ ในคดีอาญาฐานความผิดต่อกฎหมายป่าไม้ของศาลจังหวัดพิจิตร ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์คือกรมป่าไม้เพราะจำเลยคือชาวบ้านหมู่บ้านเขาหม้อมีสิทธิการครอบครอบที่ดินพิพาท ในคดีหมายเลขดำที่ ๗๘๙/๒๕๕๑ หมายเลขแดงที่ ๑๓๖/๒๕๕๒ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๒ ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาภายหลังจากที่มีมติสภา อบต. เขาเจ็ดลูก เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๔๘ อีกเช่นกัน ที่ให้ความเห็นชอบพัวพันกันทั้ง ๓ เรื่อง คือ เรื่องแรก-การให้ความเห็นชอบคำขอประทานบัตรพิพาททั้ง ๕ แปลง เรื่องที่สอง-การให้ความเห็นชอบเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และเรื่องที่สาม-การให้ความเห็นชอบให้ปิดกั้น ทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพแก่ทางสาธารณประโยชน์ โดยไม่มีฐานข้อมูลจากแผนผังโครงการทำเหมือง รายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่ และรายงานการประชุมของชาวบ้านหมู่บ้านเขาหม้อที่คัดค้านประทานบัตรพิพาททั้ง ๕ แปลงมาประกอบการตัดสินใจ จึงเป็นมติที่รวบรัดตัดตอนไม่ถูกต้องตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ผลประโยชน์รัฐ ผลประโยชน์สาธารณะ เสียภาษีรายได้นิติบุคคลเป็นเงิน ๑๗๙,๕๑๖,๓๙๒.๓๙ บาท เสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเป็นเงิน ๖๑,๖๖๒,๘๒๐.๕๖ บาท ชำระค่าภาคหลวงแร่เป็นเงิน ๓๘๑,๖๘๘,๕๖๖ บาท ซึ่งรัฐจัดสรรคืนลงสู่พื้นที่และท้องถิ่น ๖๐ หากปิดกิจการทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จำนวนมาก ความเสียหายโดยอ้อม ครอบครัว บุตร ภรรยาของแรงงานที่ถูกเลิกจ้างประมาณ ๓,๐๐๐ คน จะได้รับความเดือดร้อนโอกาสหางานใหม่มีน้อย ในจังหวัดไม่มีโรงงานขนาดใหญ่รองรับ แผนธุรกิจของบริษัทเสียหาย สัญญาที่ผูกพันไว้ล่วงหน้าต้องยกเลิกสัญญาและชำระค่าปรับผิดสัญญา เศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศเสียหาย ธุรกิจของผู้ร้องสอดเป็นการร่วมทุนกับนักธุรกิจต่างประเทศหากถูกปิดกิจการจะทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและไม่กล้าลงทุนกับประเทศไทยอีก กระทบต่อภาพลักษณ์ของเศรษฐกิจไทย หรือประทานบัตรอื่น โครงการจะได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายทั้งโครงการ เนื่องจากเชื่อมต่อแปลงประทานบัตรทุกแปลงจำนวน ๕ ประทานบัตร หากต้องปิดกิจการหรือถูกระงับลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อลูกจ้าง พนักงานและคนงานประมาณ ๑,๓๐๐ คน โดยร้อยละ ๖๗ เป็นการจ้างงานในท้องถิ่น กระทบต่อครอบครัว การศึกษาของบุตรหลานที่มีจำนวนกว่า ๓,๕๐๐ คน เสียหายต่อคู่สัญญาและคู่ค้าของผู้ร้องสอดซึ่งคำนวณเป็นค่าขาดรายได้กว่า ๒,๓๐๐ ล้านบาทต่อปี ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้จากค่าภาคหลวงแร่เป็นจำนวนกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท รวมทั้งจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย ความเสียหายต่อภาคสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาตำบลเป็นจำนวน ๕ ล้านบาทต่อกองทุนต่อปี โครงการเพื่อการศึกษาประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการเพื่อการกีฬาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการเพื่อการสาธารณสุขชุมชนประมาณ ๒,๗๐๐,๐๐๐ บาท โครงการส่งเสริมวัฒนธรรมประมาณ ๗๘๐,๐๐๐ บาท โครงการเพื่อการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพื่อทำนุบำรุงพระศาสนาประมาณ ๘๕๐,๐๐๐ บาท ความเสียหายต่อนโยบายทางเศรษฐกิจและภาพรวมของประเทศ ตลอดจนตัวเลขเงินรายได้ที่ได้จากการขายทองคำในตลาดต่างประเทศและการนำเงินรายได้เข้ามาในประเทศในแต่ละปี ความสนใจในการลงทุนและความน่าเชื่อถือของต่างประเทศ และกระทบต่อการตัดสินใจของนักลงทุนรายอื่นที่อาจมีความต้องการที่จะสำรวจและพัฒนาแหล่งแร่ โดยประทานบัตร ๔ แปลงดังกล่าวเป็นประทานบัตรที่อยู่ติดกันหรืออยู่ในกลุ่มเดียวกันกับประทานบัตรพิพาททั้ง ๕ แปลง รวมเป็นทั้งหมด ๙ แปลง เรียกรวมกันว่าแหล่งแร่ทองคำชาตรีเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองคำที่อยู่ระหว่างรอยต่อจังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ โดยใช้สันปันน้ำของเขาหม้อซึ่งเป็นภูเขาลูกโดดแบ่งเขตจังหวัดทั้งสอง แต่การที่ผู้ฟ้องคดีฟ้องให้เพิกถอนประทานบัตรพิพาทเพียงแค่ ๕ แปลง ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพิจิตรก็เพราะไม่มั่นใจในเรื่องของเขตอำนาจศาลและเขตการเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ของตนเองจะข้ามไปที่ฝั่งจังหวัดเพชรบูรณ์ได้หรือไม่ จึงเป็นเหตุให้ไม่นำประทานบัตรอีก ๔ แปลง ซึ่งเป็นแหล่งแร่เดียวกันคือแหล่งทองคำชาตรีเหนือ อยู่ในอีไอเอฉบับเดียวกันและได้รับประทานบัตรพร้อมกันเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์มารวมไว้ในคำฟ้องด้วย แต่ไม่ได้ทำคำชี้แจงในส่วนความเสียหายต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งคำชี้แจงนั้นน่าจะให้ครอบคลุมตัวเลขความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของคนในพื้นที่โดยรอบแปลงประทานบัตรพิพาทด้วย เพื่อจะได้นำตัวเลขความเสียหายต่าง

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม