1449 24 Oct 2012
Sun, 09/05/2010 - 00:00 | by info วันนี้(5 กย.) หลังจากเวที “เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ประเทศไทย” ระหว่าง 3-5 ก.ย. ที่โรงแรมเทพนคร จ.พิษณุโลก เพื่อสรุปบทเรียนและนำเสนอปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง15 พื้นที่ เครือข่ายฯออกแถลงการณ์ค้านร่าง พ.ร.บ.แร่-พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ-ประกาศ 11 ประเภทโครงการรุนแรง ไม่ชอบธรรม-รุกรานสิทธิชุมชน ทั้งนี้แถลงการณ์ของเครือข่ายฯ ระบุว่าที่ผ่านมาได้พบผลกระทบที่รุนแรงกว้างขวางในพื้นที่ต่างๆ จากการสะท้อนสภาพการณ์ปัญหาและบทเรียนการต่อสู้คัดค้านโครงการสำรวจและทำ เหมืองแร่ร่วมกัน มีคำถามที่สำคัญว่า “รัฐ โดยเฉพาะกรมทรัพยากรธรณี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ มีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการเหมืองแร่ ได้ฆ่าคนแม่ตาว แม่กุ และคนพระธาตุผาแดง ตายไปกี่คนแล้วจากโรคที่เกิดขึ้นจากการหายใจ กินข้าวและสัมผัสกับสารแคดเมี่ยมที่ปนเปื้อนจากการทำเหมืองแร่สังกะสี’ และประชาชน ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ทำเหมืองแร่อื่นๆจะถูกฆาตกรรมเหมือนกับคนแม่ตาวหรือ ไม่ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศที่ภาครัฐคาดหวังถึงผลประโยชน์เศรษฐกิจ แก่ประเทศเพียงด้านเดียว แท้จริงแล้วอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่มีการขุดเจาะทั้งแบบเปิดทำลายหน้าดิน หรือเป็นโพรงใต้ดิน ได้ก่อเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพในหลายมิติ นำมาซึ่งการทำลายแหล่งอาหาร ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ทำมาหากิน ที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนท้องถิ่นให้เสื่อมโทรม โดยไม่มีหน่วยงานหรือผู้ประกอบการรายใดแสดงความรับผิดชอบ รัฐบังคับใช้ กฎหมายในลักษณะโจรปล้นแผ่นดินของประชาชน เพราะนำสินแร่ใต้ถุนบ้านเรือน แหล่งทำมาหากินประชาชนและชุมชน แปรเป็นผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของภาษี อัตราค่าภาคหลวงแร่ และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอื่นๆเข้าสู่คลัง ทั้งๆที่รายได้เหล่านั้นคือ ‘ผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ไม่สอดคล้องกับผลกระทบระยะยาวที่มีต่อสิ่ง แวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชน สังคม และสุขภาพของประชาชน’ในพื้นที่ต่าง ๆ รัฐยังย่ำยีเพิ่มเติมต่อประชาชนด้วยการผลักดันร่างกฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยวางหลักการโจรปล้นแผ่นดินของประชาชนชัดเจนยิ่งขึ้นด้วยการระบุว่า ‘แร่เป็นของรัฐ’ และ ‘ไม่ให้อำนาจตัดสินใจแก่ประชาชนและชุมชนท้องถิ่น’ ปัญหาดังกล่าวได้พัฒนาไปสู่ปัญหาสังคม ความขัดแย้ง ละเมิดสิทธิบุคคลและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลจากการกำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบและการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ที่ไม่เป็นธรรม จากความทุกข์ของทุกคนที่เกี่ยวข้องใน 15 พื้นที่การสำรวจและการทำเหมืองแร่ มีข้อเสนอและประเด็นที่ต้องการสื่อสารให้สังคมในวงกว้างได้รับรู้ดังนี้ 1.ประชาชน ใน 15 พื้นที่ของการสำรวจและทำเหมืองแร่ชนิดต่างๆได้รวมตัวกันก่อเกิดเป็น‘เครือ ข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย’ ซึ่งจะทำหน้าที่หนุนเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ต่อสู้คัดค้านการทำเหมืองแร่อย่างถึงที่สุด 2.คัดค้านร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยแร่ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการ และให้กฤษฎีกาตรวจแก้ไขอยู่ โดยให้ถอนร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวออก เพราะไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และละเมิดสิทธิประชาชนด้วยการวางหลักการให้รัฐเป็นโจรปล้นแผ่นดินของประชาชน อย่างชอบธรรม โดยนิยามว่า ‘แร่เป็นของรัฐ’ ไม่มีเนื้อหาในเรื่องการขยายสิทธิด้านการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่น ไม่มีการเพิ่มขั้นตอนการประเมินผลกระทบสุขภาพตามรัฐธรรมนูญ 3.คัดค้านร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ ที่มองเห็นประชาชนที่ออกมาต่อต้านคัดค้านโครงการพัฒนาต่างๆเป็นศัตรูของรัฐ วางมาตรการให้เจ้าหน้าสามารถใช้กำลังและอาวุธเข้าสลาย ปราบปราม จับขัง ตั้งข้อหาประชาชนหากออกมาคัดค้านต่อต้านโครงการพัฒนาต่างๆทั้งๆที่เป็นสิทธิ เสรีภาพโดยชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยให้รัฐบาลถอนร่างกฎหมายดังกล่าวจากการพิจารณาของรัฐสภา 4.คัดค้านมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องกำหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน อย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพ ที่กำหนดประเภทโครงการรุนแรงไว้เพียง 11 ประเภท ไม่เป็นไปตาม 18 ประเภทที่คณะกรรมการ 4 ฝ่ายส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตชุมชน ต่างจากเหมืองแร่ในประเทศซีกโลกเหนืออย่างยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ที่มีความหนาแน่นประชากรต่ำมาก อยู่ห่างไกลจากชุมชนหลายกิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมากนัก ดังนั้นรัฐบาลต้องยกเลิกมติและประกาศดังกล่าว โดยกำหนดให้การทำเหมืองแร่ทุกประเภททุกขนาดเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพอย่างรุนแรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง โดยเครือข่ายฯ จะรวมตัวกันและร่วมกับพี่น้องประชาชนในเครือข่ายอื่นๆ ผลักดันข้อเสนอเรื่องการคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยแร่ ร่าง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ และประกาศประเภทโครงการรุนแรง ต่อรัฐบาลโดยตรง เพื่อให้บรรลุผลตามเจตนาที่วางไว้อย่างถึงที่สุด ทั้งนี้ “เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ประเทศไทย” ประกอบด้วย 1.พื้นที่ สำรวจและทำเหมืองแร่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 2.พื้นที่สำรวจและทำเหมืองแร่ลุ่มน้ำแม่สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ 3.พื้นที่โครงการเหมืองแร่ถ่านหินแอ่งงาว อ.งาว จ.ลำปาง 4.พื้นที่โครงการเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง 5.พื้นที่ทำเหมืองแร่สังกะสี อ.แม่สอด จ.ตาก 6.พื้นที่สำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก 7.พื้นที่ทำเหมืองแร่ทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย 8.พื้นที่สำรวจแร่ทองแดง อ.เมือง จ.เลย 9.พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี 10.พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดมหาสารคาม 11.พื้นที่โครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดขอนแก่น 12.พื้นที่สูบน้ำเกลือใต้ดินและเหมืองแร่เกลือหินจังหวัดนครราชสีมา 13.พื้นที่ขออนุญาตดูดทรายแม่น้ำตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 14.พื้นที่ทำเหมืองหินเขาคูหา อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 15.พื้นที่ลำเลียงถ่านหินและลานกองแร่จากพม่า จ.เชียงราย เหมืองแร่กับสิทธิชุมชน.pdf ที่มา http://www.food-resources.org/taxonomy/term/4?page=25Attachment | Size |
---|---|
002.pdf | 468.31 KB |
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม