764 28 Sep 2012
สืบ เนื่องจากบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีกับผู้ ว่าราชการจังหวัด ในวันที่ 24 กรกฎาคม และการประชุม หารือร่วมกันของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งมีข้อสรุปได้แก่ 1. เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานหนึ่งชุดเพื่อทำการศึกษาการจัดการแร่โปแตชในระดับ จังหวัดอุดรธานี อย่างรอบด้านทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม 2. เสนอ ให้ยุติบทบาทคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาและให้ความรู้ ความเข้าใจ กรณีการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานก่อน จนกว่าคณะทำงานตามข้อ 1. จะทำการศึกษาแล้วเสร็จ ทั้ง นี้ ข้อสรุปทั้ง 2 ข้อ ผู้ว่าราชการจังหวัด จะรายงานต่อประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการดำเนินการโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี (นายสมพร ใช้บางยาง) เพื่อพิจารณา(ร่าง) กรอบการศึกษาการจัดการแร่โปแตชระดับจังหวัดอุดรธานี
ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี
1.) รูปแบบของคณะทำงาน - ควรมีรูปแบบเป็นคณะทำงานชุดเล็กๆ ที่มีความเป็นอิสระในการทำงาน โดยชื่อว่า “คณะทำงานเรียนรู้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมเมืองอุดร” - มีการทำงานที่สอดคล้องกับคณะทำงานศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตช (SEA) ระดับชาติ ของ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาของเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) กรณีปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ ซึ่งแต่งตั้งโดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 2.) องค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วย (1.) อาจารย์รุ่งเรือง เลิศศิริวรกุล* คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2.) อาจารย์วงศา เลาหศิริวงศ์* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (3.) อาจารย์สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (4.) อาจารย์อัจฉรา จินวงษ์* คณะวิทยาศาสตร์ สาขาสาธารณสุขมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (5.) นายวิชิต อาวัชนาการ อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี (6.) นายกิตติคุณ บุตรคุณ ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดอุดรธานี (7.) นางสาววิลาวัณย์ เอื้อวงศ์กูล ภาคประชาสังคม (8.) ผู้แทนจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาคที่ 9 (9.) ผู้แทนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี * หมายถึง อยู่ระหว่างการประสานงานและทำความเข้าใจร่วมกัน 3.) อำนาจหน้าที่ (1.) ให้ศึกษายุทธศาสตร์การสำรวจและทำเหมืองแร่โปแตชและเกลือ จังหวัดอุดรธานี ให้ครบทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม และวัฒนธรรม (2.) ให้นำผลการศึกษาที่ได้ ไปให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนคนอุดร และส่วนอื่นๆ และเสนอผลการศึกษาดังกล่าวต่อรัฐบาลด้วย (3.) ขอให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจัดส่งเอกสาร ชี้แจงข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา (4.) ให้รายงานผลการศึกษา ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีโดยตรง 4.) ระยะเวลาการศึกษา - มีระยะเวลาทำการศึกษา 1 ปี และกำหนดให้มีการประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานทุกๆ 3 เดือน 5.) แหล่งงบประมาณ - จังหวัดอุดรธานี 6.) กรอบการศึกษา - ยึดกรอบตามเนื้อหาการศึกษายุทธศาสตร์แร่โปแตช (SEA) ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้ ให้คณะทำงานหารือ และพิจารณาร่วมกันในรายละเอียดเพื่อให้มีความเหมาะสมกับระดับจังหวัด05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม