ร่วมแสดงความคิดเห็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติแร่
1078 27 Sep 2012
บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่างพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ....
หลักการ
เพื่อปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับแร่ และกฎหมายเกี่ยวกับพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
เหตุผล
เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้รับรองสิทธิการมีส่วน ร่วมของประชาชนและชุมชนในการอนุรักษ์ การจัดการ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ประกอบกับพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ พ.ศ. 2509 ได้มีการประกาศใช้มานาน อยู่ต่างฉบับกันและมีความซ้ำซ้อน ทำให้ไม่มีความเหมาะสมกับการบริหารจัดการแร่และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมใน ปัจจุบัน เพราะการควบคุมกำกับดูแลการทำเหมืองไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างในขนาดของ เหมือง มีกระบวนการขั้นตอนการขออนุญาตมากเกินความจำเป็นและก่อให้เกิดความล่าช้า บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการแร่ยังมีน้อย การจัดสรรผลประโยชน์และการเยียวยาความเสียหายให้แก่ภาคส่วนต่างๆ และชุมชนที่ได้รับผลกระทบยังไม่เหมาะสม ประกอบกับไม่สามารถนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับกับแร่ที่นำเข้ามาจากต่าง ประเทศได้ จึงสมควรให้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแร่เพื่อให้อยู่ในฉบับเดียวกันและ สามารถบริหารจัดการแร่ทั้งที่อยู่ในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศได้ อย่างเป็นระบบ ส่งเสริมอุตสาหกรรมแร่ ก่อให้เกิดดุลยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อม มีหลักเกณฑ์การอนุญาตและการควบคุมกำกับดูแลการทำเหมืองและกิจกรรมที่เกี่ยว ข้องกับการทำเหมืองที่เหมาะสมกับขนาดของเหมืองและกิจกรรมดังกล่าว มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในเรื่องการสำรวจแร่และ การออกประทานบัตร ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางนโยบายและ แผนเกี่ยวกับทรัพยากรแร่ จัดสรรส่วนแบ่งผลประโยชน์จากทรัพยากรแร่เพิ่มมากขึ้นให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นและชุมชนอันเป็นที่ตั้งของพื้นที่ทำเหมืองและพื้นที่ซึ่งได้รับผล กระทบจากการทำเหมือง กำหนดให้มีการจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินอัน เป็นที่ตั้งของการทำเหมืองใต้ดิน และจัดตั้งกองทุนศึกษา พัฒนา และฟื้นฟูพื้นที่ และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
http://www.dpim.go.th/
May 6, 2012