เมื่อข้าราชการและนักการเมือง “ทำตามหน้าที่” ปล่อยให้กระบวนการ และขั้นตอนการขอสัมปทานเหมืองแร่เหล็กที่ผิดกฎหมายเดินหน้าต่อไป

1491 27 Sep 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง พื้นที่ แม่ถอดยังไม่มีเหมืองเกิดขึ้น อยู่ระหว่างการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เหล็ก ประเด็นมันอยู่ที่ว่าพื้นที่ตรงนี้เขาทำกันมาแบบเงียบ ๆ ตั้งแต่ประมาณปี 2550/51 โดยชาวบ้านไม่รู้เรื่องอะไรเลย ค่อย ๆ ทำมา และเมื่อปี 2552 เขามาประกาศว่าจะทำเหมืองแร่ตรงนี้ ชาวบ้านก็ไปคัดค้านกัน คัดค้านเสร็จเขาก็เอาเอกสารที่เราคัดค้านไปกองไว้ตรงไหนไม่รู้ มันก็เงียบไป ไม่มีปฏิกิริยาจากหน่วยงานภาครัฐอะไร การทำงานของชาวบ้านเราทำงานไปแล้วเหมือนไม่ค่อยมีผลอะไร อย่างที่เราคัดค้านไปเมื่อปี 2552 ดูเหมือนว่าการคัดค้านของเราจะไม่มีผลอะไรต่อการยื่นขอประทานบัตร เขาก็ยังดำเนินการขอประทานบัตรต่อมาเรื่อย ๆ จน มาถึงล่าสุดในปีนี้ มีข่าวชกต่อยกันบนสภาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2554  โดยใช้ห้องประชุมที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอเถิน (สภ.เถิน) เป็นสภาแทน เหตุเกิดมาจากประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง ดื้อรั้นยื่นเรื่องขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ สมัยที่ 2/2554 ครั้งที่ 1 เพื่อดันญัตติการให้บริษัท ยุพินวัฒนาธุรกิจ จำกัด เปิดสัมปทานเหมืองแร่เหล็กในพื้นที่ ต.แม่ถอด เข้าพิจารณาอย่างเร่งด่วนอีกครั้งหนึ่ง จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านไม่พอใจออกมาชุมนุมเรียกร้องมากกว่าทุกครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองแล้วที่ประธานสภา อบต.แม่ถอด ขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญเพื่อดันญัตตินี้ หลังจากที่ล้มเหลวมาแล้วในครั้งแรกเมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการชุมนุมเรียกร้องของชาวบ้านจนมีการทำบันทึกข้อตกลง ร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ผู้บริหารและสภา อบต.แม่ถอด ว่าจะไม่มีการเสนอเรื่องการพิจารณาอนุญาตให้ขอประทานบัตรเหมืองแร่เหล็กของ บริษัทยุพินฯ เข้าพิจารณาขอความเห็นชอบในที่ประชุมสภา อบต. แม่ถอดอีกจนกว่าจะมีการไต่สวนคำขอประทานบัตรและทำประชาคมหมู่บ้านใหม่ ให้ครบทั้ง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านแม่ถอดเหนือ หมู่ 2 บ้านแม่ถอดใต้ หมู่ 10 และบ้านท่าสามัคคี หมู่ 11 รวมทั้งร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและ อบต.แม่ถอด ทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพต่อประชาชนเสียก่อน ความ พยายามในครั้งนี้ ประธานสภา อบต.แม่ถอด ทำหนังสือขอความร่วมมือจากตำรวจ โดยย้ายการประชุมจากที่ทำการ อบต.แม่ถอด มาที่ห้องประชุมสถานีตำรวจภูธรอำเภอเถิน โดยอ้างความปลอดภัยเพราะเกรงว่าชาวบ้านจะขัดขวางการประชุม ซึ่งทางประธานสภา อบต.แม่ถอด กับพวกคงคิดกันว่าถ้ามาประชุมที่ สภ.เถิน แล้วชาวบ้านจะไม่กล้ามาชุมนุมขัดขวางอย่างแน่นอน แต่ผิดคาดชาวบ้านออกมาชุมนุมเรียกร้องมากกว่าทุกครั้งเพราะสังคมวัฒนธรรมของ ชาวบ้านจะรับไม่ได้กับคนที่ไม่ทำตามคำพูดหรือสัญญาที่ให้ไว้ เหตุการณ์ในวันนั้นมะรุมมะตุ้มวุ่นวายไปหมดจนเป็นเหตุกดดันให้รองนายก อบต.แม่ถอด ลุกขึ้นรัวหมัดชกหน้าประธานสภา อบต. หลายครั้ง ช่วง เวลาก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ชกต่อยกันไม่นานนัก ชาวบ้านที่มารวมตัวชุมนุมกว่า 500 คน เห็นว่าทำยังไงก็ไม่สามารถที่จะทำให้ประธานสภา อบต.แม่ถอด และพวกยกเลิกการประชุมได้ เพราะคงรับคำสั่งจากนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ให้ลงมติอนุญาต เปิดสัมปทานเหมืองแร่เหล็กให้ได้ จึงได้ย้ายการชุมนุมจากหน้า สภ.เถิน มารวมตัวปิดถนนหน้า สภ.เถิน บนถนนพหลโยธิน หลักกิโลเมตรที่ 618-619 ต.ล้อมแรด และ ย้ายไปปิดถนนท่าผา-วังชิ้น หลักกิโลเมตร 620 ต.แม่ปะ อ.เถิน จ.ลำปาง เพื่อกดดันเรียกร้องให้ประธานสภา อบต.แม่ถอด ลาออกจากตำแหน่ง และยุบสภา อบต.แม่ถอด คืนอำนาจแก่ประชาชน โดยต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เดินทางมาตกลงกับชาวบ้าน เหตุการณ์ คลี่คลายเมื่อเวลาประมาณ 17.30 น. ในวันเดียวกัน เมื่อป้องกันจังหวัดลำปาง เป็นตัวแทนผู้ว่าฯ เดินทางมาเจรจากับชาวบ้านที่ชุมนุมอยู่ โดยรับปากว่าจะมีการตรวจสอบเรื่องการพิจารณาการขอประทานบัตรเหมืองแร่เหล็ก ของสภา อบต.แม่ถอด  เรื่องการทำประชาคมหมู่บ้านใหม่ รวมทั้งการให้ประธานสภา อบต.แม่ถอด ลาออกจากตำแหน่ง และยุบสภาคืนอำนาจแก่ประชาชน ภายใน 15 วัน ซึ่งทำให้กลุ่มชาวบ้านพอใจยอมสลายตัวไปในที่สุด เรื่อง ราวมาถึงวันนี้ ได้ทำให้เรามองกลับไปว่าเราคัดค้านกันขนาดนี้แล้วทำไมเขายังยื่นเรื่องต่อไป ได้ ทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านเราไม่เห็นด้วย ทำไมการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐถึงเอื้อประโยชน์ถือหางฝ่ายผู้ประกอบการเช่น นี้ คำที่ข้าราชการใช้บ่อยกับชาวบ้านก็คือ “ทำตามหน้าที่” เป็นอะไรที่ฟังแล้วรู้สึกไม่ค่อยดีที่ข้าราชการบอกว่าทำตามหน้าที่ ถ้าทำตามหน้าที่จริงทำไมถึงปล่อยให้ชาวบ้านเดือดร้อนอย่างนี้ล่ะ การทำตามหน้าที่หมายถึงปล่อยให้กระบวนการหรือขั้นตอนการอนุญาตสัมปทานเหมือง แร่ที่ผิดกฎหมายมันเดินหน้าต่อไปอย่างงั้นหรือ ฉายภาพผ่านจอ LCD ประกอบการพูดคุย--พื้นที่ ตรงนี้ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของหมู่บ้านถ้าจะเทียบกับหมู่บ้านคลิตี้ล่างก็ไม่ต่าง กันเลย หมู่บ้านแม่ถอดก็อยู่ตรงท้ายน้ำเหมือนหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ถ้าตรงนี้ถูกทำลายก็จะเผชิญชะตากรรมเดียวกันกับหมู่บ้านคลิตี้ล่าง พวกเราก็คงจะเอาเด็ก ๆ มาทำให้สังคมได้รับรู้ว่าเราก็ได้รับผลกระทบเหมือนกับหมู่บ้านคลิตี้ รู้สึกว่าการกระทำของนายทุนเหมือนเป็นอาชญากรจริง ๆ กระบวน การของพวกเราสู้มาไม่นานเท่าไหร่ เริ่มคัดค้านเมื่อปี 2552 ก็เงียบไป เราคิดว่ามันไม่หยุดแล้ว แต่มาเดือนมกราคม ปี 2554 ก็ได้ยินว่าเขาจะเอาเรื่องเข้าสภา อบต. เราก็สู้มาตลอดจนถึงวันนี้  จึงทำให้เรารู้จักพวกพี่ ๆ และมายืนอยู่ ณ ที่นี้ และก็ได้มาพบปะกับพี่น้องหลายท่านที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่แห่ง อื่น ล่าสุดตรงพื้นที่นี้ก็มีการฟ้องศาลคดีเรื่องของการทำประชาคมหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านหาว่าพวกเราเอาเรื่องเท็จและเอกสารเท็จไปพูดป่าวประกาศฟ้องร้อง ในแต่ละแห่ง ๆ ทำให้แกเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ศาลตัดสินยกฟ้องบอกว่าไม่มีมูลความจริง เรื่องที่เราไปฟ้องร้องในแต่ละที่ก็คือมีการปลอมลายเซ็นผู้เข้าร่วมประชุม ประชาคมว่าเห็นชอบให้มีเหมืองแร่ได้ทั้ง ๆ ที่เจ้าตัวคัดค้านเหมืองแร่  จัดทำประชาคมเรื่องหนึ่งแต่กลับเอาเรื่องเหมืองแร่มาสอดไส้เข้าไปภายหลัง  รายงานการไต่สวนคำขอประทานบัตรมีข้อมูลที่เป็นเท็จเพราะเขาบอกว่าไม่มีทาง น้ำหรือแหล่งน้ำในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร ทั้งที่พื้นที่ตรงนั้นเป็นแหล่งต้นน้ำที่ส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทุ่งข้าวของชาว บ้าน เป็นต้น ศาลยกฟ้องบอกว่าไม่มีมูลความจริง และการต่อสู้ของเราก็มาจบตรงที่เรื่องเข้าสภา อบต. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา มีการชกต่อยกันตามที่เป็นข่าว เหตุการณ์วันนั้นเราไม่ตั้งใจทำให้มันเกิด แต่ว่าต้องขอบคุณฝ่ายบริหารของ อบต. ที่เห็นใจชาวบ้าน ทำให้การประชุมวันนั้นต้องยุติกลางคัน ผม ขอวกกลับไปพื้นที่ที่ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ พื้นที่ตรงนี้ถ้าเกิดการทำเหมืองแร่จริง ๆ ก็คงเป็นหลุมขนาดใหญ่ แต่เดิมเป็นป่าต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก วันที่มีการลงพื้นที่สำรวจกับหน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วยงาน ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา พื้นที่ตรงนี้น่าจะเป็นป่าโซนเอด้วยซ้ำ แต่ก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเขากำหนดให้พื้นที่ตรงนี้เป็นป่าโซนอี และพื้นที่ตรงนี้ก็มีถ้ำที่มีความสวยงาม ถ้ำตรงนี้ชื่อว่าถ้ำ ‘ผากาน’ ไม่ใหญ่นัก ติดกับพื้นที่ประทานบัตรประมาณ 50 เมตร ติดกับรอยเขตหลักหมุดที่เขาปักเพื่อขอประทานบัตรเพียง 50 เมตร  และมีอีกถ้ำหนึ่งเป็นพื้นที่ห่างจากเส้นทางผ่านพื้นที่ขอประทานบัตรที่จะไป หาถ้ำ 800 เมตร ชื่อว่าถ้ำ ‘ผาขรรค์’ ซึ่งถ้ำตรงนี้เป็นถ้ำที่ใหญ่มาก ๆ ทางฝั่งบ้านแม่ต๋ำ ในเขตตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ที่อยู่คนละฟากภูเขา เคยเอานักเรียนเข้าสำรวจประมาณ 500 คน เข้าได้หมดโดยไม่รู้สึกแออัด ล่าสุดก็เข้าไปหลายเที่ยว ไปถ่ายรูปมาทำสารคดี เป็นถ้ำที่ใหญ่มาก ๆ และช่วงหน้าฝนก็มีน้ำไหลอยู่ในถ้ำเป็นภาพที่งดงามมาก ๆ พื้นที่ ตรงนี้เป็นพื้นที่ไม่ไกลจากพื้นที่ขอประทานบัตร ถ้ำนี้เป็นถ้ำที่ชาวบ้านหวงแหนมาก ถ้าไม่เชื่อไปดูได้ทางบ้านแม่ต๋ำ เนื้อหาในคำขวัญของบ้านแม่ต๋ำมีคำว่าถ้ำผาขรรค์ เนื่องจากว่ารอยต่อหรือสันปันน้ำบนภูเขาลูกนี้ (ภูเขาที่บริษัทยุพินฯ ขอประทานบัตรทำเหมืองแร่เหล็ก) ใกล้ศูนย์ศิลปาชีพโครงการพัฒนาบ้านแม่ต๋ำของสมเด็จท่าน (สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ) ทางชาวบ้านแม่ต๋ำคิดว่าพื้นที่นี้เป็นของเขา แต่เนื่องจากว่าสันปันน้ำมันไหลมาทางแม่ถอดเท่านั้น ถ้ำตรงนี้เป็นถ้ำที่มีความสวยงามมาก สมมุติว่าวันใดวันหนึ่งเกิดเหมืองแร่เหล็ก ไม่ใช่ว่าแค่ตะกอนอย่างเดียว เท่ากับว่าถ้ำได้ถูกทำลายไปด้วย เราเคยมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวเขายังบอกว่าจะกลับมาอีกเนื่องจากว่ามัน กว้างใหญ่มากเที่ยวไม่หมด. download เอกสารเพิ่มเติม เอกสารเผยแพร่แม่ถอด.pdf สัมปทาน-4.pdf

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม