เหมืองแร่ ...หายนะหรือความร่ำรวย

3037 25 Sep 2012

เหมืองแร่ ...หายนะหรือความร่ำรวย  by : เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย IP : (202.176.126.75) - เมื่อ : 4/09/2010 10:18 PM สังคม ไทยรับรู้มากน้อยแค่ไหนว่า อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยที่ภาครัฐคาดหวังถึงรายได้อันจะผลทาง เศรษฐกิจให้แก่ประเทศ แต่แท้จริงแล้วอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ที่มีการขุดเจาะทั้งแบบเปิด/ทำลายหน้าดิน และเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฐานทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ สังคม และสุขภาพในหลายมิติ เป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ แหล่งอาหาร ที่ทำมาหากิน และที่อยู่อาศัยของคนในชุมชนท้องถิ่นให้เสื่อมโทรม โดยไม่มีหน่วยงานหรือผู้ประกอบการใดแสดงความรับผิดชอบ ปัญหา ดังกล่าวได้พัฒนาไปสู่ปัญหาสังคม ความขัดแย้ง และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผลจากการกำหนดนโยบาย บังคับใช้กฎหมาย กฎระเบียบและการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ที่ไม่เป็นธรรม ภาย ใต้การแลกเปลี่ยน และนำเสนอปัญหา ของผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง 14 พื้นที่ ในเวทีเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย วันที่ 3-4 กันยายน 2553 ณ โรงแรมเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงของของผลกระทบที่รุนแรงอย่างกว้างขวาง ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งคำถามว่า "ที่ ผ่านมาการทำเหมืองแร่ในประเทศไทย ไม่มีที่ไหนที่ทำให้ชุมชนในพื้นที่ทำเหมืองได้ประโยชน์ อยู่ดีมีสุข มีแต่ต้องเจอกับปัญหามากมาย กลายเป็นทุกขลาภที่ถิ่นฐานของพื้นที่ที่มีแร่อยู่เท่านั้น" สำรวย ทองจันทร์ เครือข่ายอนุรักษ์ภูหินเหล็กไฟ จังหวัดเลย พูด จากความทุกข์ของทุกคนที่เกี่ยวข้องใน 14 พื้นที่ 14 ประเด็น มีปัญหาที่ทุกคนต้องการให้สังคมรับรู้ ผู้ ได้รับผลกระทบจากการลำเลียงถ่านหินจากพม่า หลังจากที่รัฐบาลไทยลงนามกับรัฐบาลพม่าเรื่องการสำรวจแหล่งแร่ใน เมืองก๊ก รัฐฉาน ประเทศพม่า แหล่งแร่ที่พบทำให้มีการกำหนดพื้นที่ทำเหมืองถ่านหิน และกำหนดเส้นทางลำเลียงแร่ จนมีการเลือกและสรุปเส้นทางขนถ่านหินวันละ 5,000 ตัน จากเมืองก๊ก ผ่านพื้นที่ 4 ตำบลในอำเภอแม่ฟ้าหลวง โดยรถบรรทุกไป-กลับ 400 เที่ยว มีที่กองถ่านหินที่ตำบลป่าซาง 500 ไร่ ลำเลียงถ่านหินผ่านอำเภอแม่จัน ถึงจังหวัดสระบุรี โดยไม่ได้คำนึงถึงมลพิษ การกระจายของฝุ่นถ่านหินที่จะซึมลงดินและแหล่งน้ำ แม่น้ำคำ และถนนบนไหล่เขา 2 เลน 47 กิโลเมตร ที่ปัจจุบันชาวบ้านใช้ขนส่งผลผลิตในการเกษตร วิถี ชีวิตของชาวบ้าน 2 อำเภอ การท่องเที่ยว และเส้นทางผ่านไปดอยแม่สลอง ตลอดจนผลกระทบตลอดสายลำเลียงจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่นับหมื่นไร่ อาเกอะ บอแช แกนนำเยาวชนจากตำบลเทิดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง สะท้อนว่า “ที่ เมืองก๊ก ชาวบ้านที่อยู่ในบริเวณที่กำลังจะมีการทำเหมืองถูกไล่ที่ไปแล้วจำนวนมาก ส่วนการขนส่งแร่ผ่านบ้านผมไปถึงสระบุรีเป็นความกังวลของคนในพื้นที่ เมื่อทำประชาคมทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบล ชาวบ้านทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับการลำเลียงถ่านหินผ่านพื้นที่... "มติของโลกสรุปแล้วว่าเหมืองแร่เป็นกิจกรรมที่อันตราย" พื้นที่ สำรวจและทำเหมืองแร่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด ยื่นขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ อาชญาบัตรพิเศษ และขอประทานบัตร ในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม 47 ราย เป็นพื้นที่จำนวน 39,659 ไร่ 3 งาน 154 ตารางวา ครอบคลุม 54 หมู่บ้าน หรือ 8 ใน 10 ตำบลของพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่ม ชนิด แร่ส่วนใหญ่เป็นแมงกานีส ถ่านหิน ดินขาว ฟลูออไรด์ เหล็ก และดีบุก เป็นต้น และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่อยู่ในลุ่มน้ำคุณภาพชั้น 1 เอ, 1 บี และลุ่มน้ำคุณภาพชั้น 2 ซึ่งไม่สามารถมีโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ พื้นที่ ทำเหมืองแร่สังกะสี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 250 ไร่ บนดอยผาแดง (กำลังทำให้ดิน ผลิตผลทางการเกษตร ข้าว ฯลฯ ในลุ่มน้ำแม่ตาว แม่กุ ปนเปื้อนแคดเมียม ส่งผลกระทบด้านสุขภาพต่อชาวบ้าน 8,000 ราย ใน 12 หมู่บ้าน 3 ตำบล คือ ตำบลพระธาตุผาแดง แม่กุ แม่ตาว พื้นที่ 13,228 ไร่ มีผู้ป่วยจากแคดเมียม 884 ราย ตาย 120 ราย ลุ่มน้ำแม่กุ และแม่ตาว อันเป็นลุ่มน้ำคุณภาพชั้น 1 เอ ไม่สามารถใช้อุปโภคปริโภค รวมถึงทรัพยากรทั้งหลายในทั้งสองลุ่มน้ำ รัฐบาลประกาศห้ามปลูกข้าว พืชอาหารทุกชนิด พื้นที่ สำรวจและทำเหมืองแร่ลุ่มน้ำแม่สรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ คลอบคลุมพื้นที่ 25 หมู่บ้าน 4 ตำบล รวมพื้นที่ 25,000 ไร่ ในพื้นที่ที่อยู่ในลุ่มน้ำคุณภาพชั้น 1 เอ แต่มีการอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่เหล็ก แร่ทองคำ รวมถึงแร่ชนิดอื่นๆ และในอนาคตจะกลายเป็นเป้าหมายพื้นที่สำรวจของผู้ประกอบการอีกนับ 100 แปลง พื้นที่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เฉพาะพื้นที่ทิ้งดินก็ส่งผลกระทบกับชาวบ้าน 4 หมู่บ้าน พื้นที่กว่า 10,000 ไร่ พื้นที่ สำรวจและทำเหมืองแร่ถ่านหินแอ่งงาว อำเภองาว จังหวัดลำปาง ผู้ประกอบการใช้อิทธิพลและหลอกลวงซื้อที่ดินจากชาวบ้านกว่า 2,000 ไร่ โดยอ้างว่าจะใช้พื้นที่เพื่อกิจการการเกษตร แต่ต่อมาได้ยื่นขอประทานบัตรทำกิจการเหมืองถ่านหินลิกไนต์ในเวลาต่อมา และ หากผู้ประกอบการสามารถขอประทานบัตรทำเหมืองได้ เฉพาะพื้นที่โครงการ 9 ตร.กม. ชาวบ้านใน 8 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่ ต้องได้รับผลกระทบจากมลพิษ พื้นที่ ทำเหมืองแร่ทองคำ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก บนเขาหม้อ 3,500 ไร่ กำลังสำรวจเพิ่มในเขตรอยต่อสามจังหวัดเพิ่มอีก 15,000 ไร่ ในระยะแรกของการทำเหมืองทองเกิดมลพิษทางเสียง ฝุ่น แรงสั่นสะเทือนจากการระเบิดหิน แหล่งน้ำไม่สามารถอุปโภค-บริโภค ชาวบ้านเริ่มเจ็บป่วย คลองร่องหอยแห้ง แหล่งน้ำปนเปื้อนไซยาไนด์ พื้นที่ ทำเหมืองแร่ทองคำ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย 13,000 ไร่ หากมีการทำเหมืองจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง 6 หมู่บ้าน ในตำบลเขาหลวง ลำ ห้วยฮวย ลำน้ำสาขาของแม่น้ำเลย มีค่าไซยาไนด์ แมงกานีส แคดเมียม สูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ในขณะที่มีการจองเพื่อยื่นขออนุญาตประทานบัตรไว้แล้วนับหมื่นไร่ พื้นที่ สำรวจแร่ทองแดง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 6,800 ไร่ ถ้ามีการทำเหมืองจะมีผู้ได้รับผลกระทบ 16 หมู่บ้าน 2 ตำบล รวมพื้นที่กว่า 15,000 ไร่ พื้นที่ขอประทานบัตรโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี ส่งผลกระทบกับชาวบ้าน 21 หมู่บ้าน ในตำบลหนองไผ่ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง, ตำบล ห้วยสามฟาด ตำบลนาม่วง ตำบลอุ่มจาน อำเภอประจักษ์ศิลปาคม รวมพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ 14000 ไร่ ในพื้นที่อุดรใต้ และ 53,347 ในพื้นที่อุดรเหนือ พื้นที่สำรวจแร่โปแตช จังหวัดมหาสารคาม 20,000 ไร่ ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน 2 ตำบล 36 หมู่บ้าน พื้นที่สำรวจแร่โปแตช จังหวัดขอนแก่น 200,000 ไร่ กระทบต่อชาวบ้าน 4 ตำบล 3 อำเภอ คือ อำเภอบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง อำเภอเมือง พื้นที่ สูบน้ำเกลือใต้ดิน จังหวัดนครราชสีมา กระทบ 8 หมู่บ้าน 2 อำเภอ คือ อำเภอพระทองคำ อำเภอโนนไทย ในรัศมี 3 กิโลเมตร จะมีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 6,500 คน ในพื้นที่ 2,500 ไร่ พื้นที่ ขออนุญาตดูดทรายแม่น้ำตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา พื้นที่ 43 ตารางกิโลเมตร หรือ 27,260 ไร่ มีปริมาณทรายที่จะขุดลอก 21 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยขออนุญาตผ่านกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการเกี่ยวกับการขุด ลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน พ.ศ.2547 เพื่อเลี่ยงใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหมืองแร่ ในขณะที่ทรายในบริเวณนั้นมีแร่ซิลิก้าเกิน 75% ซึ่งถือเป็นแร่ไม่ใช่แค่ทราย เดิม มีการให้ข้อมูลกับชาวบ้านว่า ทรายที่ขุดลอกขึ้นมาเป็นดินเค็มต้องนำไปทิ้งนอกพื้นที่ จะนำไปขายให้สิงคโปร์ ข้อมูลล่าสุดเปลี่ยนเป็นจะนำไปถมท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผล กระทบในเบื้องต้น ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ขุดลอกคลอง 4 ตำบล 2 อำเภอ ตลอดพื้นที่ขุดลอกคลอง 27,260 ไร่ ไม่สามารถดำรงชีพอย่างปกติสุขได้อีกต่อไป พื้นที่ ทำเหมืองหินเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รวม 223 ไร่ อยู่ลุ่มน้ำคุณภาพชั้น 1 บี ส่งผลกระทบกับ 14 หมู่บ้าน ในตำบลคูหาใต้ เทศบาลตำบลกำแพงเพชร ตำบลควนรู ตำบลท่าชะมวง (พื้นที่บางส่วนอยู่ในจังหวัดสงขลา) และบางส่วนในอำเภอป่าบอน ทิศ ทางการพัฒนาที่ไม่คำนึงถึงความยั่งยืนของฐานทรัพยากร วิถีชีวิต เจ้าหน้าที่รัฐที่เอื้อประโยชน์กับผู้ประกอบการ ข้อมูลข่าวสารที่ถูกปกปิด และบิดเบือนความเป็นจริง "ไม่ ว่าจะมีอีไอเอ หรือไม่มี โครงการเหมืองแร่ที่เกิดขึ้นอย่างไรก็เกิดผลกระทบ" หนูเพียร โคชารี ตำบลห้วยสามพาด พูดในฐานะที่เธอมีประสบการณ์จากการต่อสู้คัดค้านโครงการเหมืองแร่โปแตช จังหวัดอุดรธานี มายาวนานนับ 10 ปี บท เรียนของผลกระทบในที่รุนแรงในด้านต่างๆ เช่น การตาย ความเจ็บป่วย วิถีชีวิต วัฒนธรรมชุมชนฐานทรัพยากร และระบบนิเวศที่ถูกทำลาย ที่ปรากฏชัดแล้ว ได้กลายเป็นสาระสำคัญที่ผู้เข้าร่วมในเวทีนี้ต้องการให้รัฐบาล ผู้ประกอบการ และสังคมไทย ทบทวนกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการทำเหมือแร่ โดย เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ที่เริ่มรวมตัวกันเพื่อแก้ปัญหา ปกป้องวิถีชีวิต สิทธิชุมชนและปกป้องทรัพยากร จะมีการออกแถลงข่าว ในวันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน 2553 เวลา 11: 30 น. คำ ถามคือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสังคมไทย จะตระหนักได้หรือไม่ว่า ระหว่างรายได้จากการทำเหมืองแร่ระยะสั้นที่ให้ประโยชน์กับกลุ่มคนเพียงหยิบ มือ กับหายนะของทรัพยากรและสังคมรายรอบเหมือง ...ทางไหนที่สังคมไทยให้น้ำหนักมากกว่ากัน เชิญ สื่อมวลชลร่วมติดตามและประเมินผลกระทบของการสัมปทานเหมื่องแร่ ในการแถลงข่าวร่วมกันของเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย ตามวัน เวลาและสถานที่ดังกล่าวข้างต้น เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย ที่มา  http://www.thaingo.org/writer/view.php?id=1687

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม