พระนักสู้เพื่อคนจนแห่งวังชิ้น

1574 14 Sep 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: ชุมชนแม่สรอย บ้านปางงุ้น อ.วังชิ้น จ.แพร่ บทบาทพระกับการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนแม่สรอย       "วันนี้ ลุ่มน้ำสรอยของเราแม้ว่าน้ำจะไม่ท่วม ปัญหาภัยพิบัติไม่มี นี่คงเป็นเพราะสภาพของพื้นที่ป่าในลุ่มน้ำสรอยของเราฟื้นกลับคืนดีขึ้นกว่า เก่าบ้างแล้ว แต่พวกเราก็อย่าเพิ่งดีใจ ชะล่าใจ ว่าภัยพิบัติจะไม่เกิดขึ้นอีก ภัยพิบัติที่มาเงียบๆอย่างไม่รู้ตัวนั้นยังคงมีในลุ่มน้ำสรอยของเรา ภัยที่ว่านั้นก็คือภัยจากสารพิษต่างๆที่ปนเปื้อนในลำห้วยสรอยนั่นเอง ภัยดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและนับวันก็จะรุนแรงเพิ่มขึ้นเพราะ สารพิษต่างๆนั้นสะสมเพิ่มขึ้นมากเรื่อย หากคนในลุ่มน้ำสรอยของเราไม่คิดที่จะป้องกันเสียตั้งแต่วันนี้แล้ว โอกาสที่จะพบกับภัยพิบัติตัวนี้ก็จะมีในเร็ววันนี้เช่นกัน เพราะฉะนั้นพวกเราต้องเตรียมรับมือกันได้แล้วกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นนั้นพวกเราอย่าไปโทษธรรมชาติไม่ได้ลัยเพราะภัยตัวนี้ เป็นฝีมือของพวกเราเองที่ช่วยกันสร้างขึ้นมา คนที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็ต้องเป็นพวกเราคนลุ่มน้ำสรอยนี่แหละ ไม่ต้องรอใครมาช่วยเหลือเพราะเราเองต้องหาทางป้องกัน/แก้ไขกันเองถึงจะรอด พ้นภัยพิบัติในครั้งนี้ได้"          ลำ ห้วยสรอย เป็นลำห้วยสาขาหนึ่งของแม่น้ำยม ที่ไหลมาจากเทือกเขาบริเวณอุทยานแห่งชาติศรีสัชชนาลัย ต้นกำเนิดอยู่ที่บ้านปางงุ้น ตำบลสรอย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ซึ่งอยู่เขตติดต่อกับอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ลำห้วยสรอยไหลผ่านหมู่บ้านต่างๆในเขตตำบลสรอย,ตำบลป่าสัก,และตำบลแม่พุง แล้วไหลไปรวมกับแม่น้ำยมที่หมู่บ้านปางมะโอ ตำบลแม่พุง รวมได้ 17 หมู่บ้าน ระยะทางกว่า 30 กิโลเมตร ในเขตลุ่มน้ำสรอยเคยเกิดภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลาก โคลนดินถล่ม พัดบ้านเรือนตลอดแนวลุ่มน้ำสรอยเสียหายและตายกว่า 40 ศพ มาแล้วเมื่อปี 2544 ชีวิตวันนี้ของคนแม่สรอย กำลังกลายเป็นชะตากรรมที่เลวร้ายกว่าภัยพิบัติที่กระหน่ำซัดเป็นระลอกๆ เมื่อชุมชนที่เคยอยู่อย่างสงบเงียบอยู่ริมผืนป่ากำลังกลายเป็นแหล่งขุม ทรัพย์ซึ่งฝังอยู่ได้ผืนดิน ทั้ง ทอง แร่เหล็กและแร่อื่นๆ เป็นทุกขลาภที่ชาวบ้านไม่มีสิทธิแตะต้อง แต่อาจจะได้รับผลกระทบทุกด้าน ความเปลี่ยนแปลงเริ่มรุกคืบเข้ามาอย่างรวดเร็ว กระแสการกว้านซื้อ กดดัน และหลอกล่อ จูงใจ ด้วยมูลค่าที่ดินที่สูงลิ่วและการใช้ผู้นำชุมชน ท้องถิ่น มาเป็นเครื่องมือ กลับกัน มีขบวนการชาวบ้านกลุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นมากมายในพื้นที่เพื่อปกป้องพิทักษ์ทรัพยากร วิถีชีวิต ตลอดจนป่าไม้และระบบนิเวศของชุมชนตน อย่างเข้มแข็งเผชิญหน้าเกิดบุคลากรระดับแกนนำในแต่ละที่ขึ้นมากมาย เมื่อบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง ได้ยื่นขออาชญาผูกขาดสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่อำเภอวังชิ้น จดทะเบียนคำขอวันที่  16/2550 ลงวันที่ 11 กันยายน 2550  และได้รับการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ที่ 12/2551 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2551  ถึง วันที่ 27 กรกฎาคม 2552 จำนวน 2 แปลง ทำให้ชาวบ้านไม่เห็นชอบกับการสำรวจแร่เหล็กเพื่อทำเหมืองแร่ต่อไป จึงขอคัดค้านการยื่นขออนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดการสำรวจแร่เหล็ก ของบริษัท ณ ภัทรไมนิ่ง เพราะ ชาวบ้านไม่ต้องการได้รับผลกระทบ และกระบวนการออกอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ปี 2551 มีความไม่โปร่งใสในการออกเอกสารให้อนุญาตสำรวจแร่เหล็กในพื้นที่ พระอาจารย์ยงยุทธ    ทีปโก จากวัด ปางงุ้น    ตำบลสรอย หนึ่งในแกนนำสำคัญที่ร่วมคัดค่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิชุมชนกล่าวถึงบทบาทของ วัดในการร่วมต่อสู้ สร้างการเรียนรู้และร่วมปกป้องสิทธิชุมชน ว่า "การ ทำงานของอาตมากับชาวบ้าน คือเน้นการสร้างสำนึกคนซึ่งมีหลายวิธีนะ อย่างอาตมา อาตมาเลือกที่จะทำงานกับเยาวชนเพราะเรามุ่งหวังว่าการสร้างคนเหล่านี้ก็ เพื่ออนาคต ใน 10 ปี  20 ปี ข้างหน้า นอกนั้นก็สนใจคนผู้ใหญ่ที่เขาช่วยกันผลักดันงาน เคลื่อนไหวได้ แต่ผู้สูงอายุก็ไม่ได้มองข้ามนะ ก็สำคัญเหมือนกัน เพราะผู้สูงอายุมีภูมิปัญญามาก ก็ให้ผู้สูงอายุนี่แหละมาถ่ายทอดความรู้ให้เด็ก ให้เยาวชน มาสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ ให้เขาเข้าใจว่าอยู่รอดมาจนทุกวันนี้เขาคิดเขาทำอย่างไร นอกนั้นก็กิจกรรมต่างๆ ที่เด็กเยาวชนชอบทำ เช่น  แต่งรถ ซ่อมรถ เล่นดนตรี  อะไรต่างๆ ซึ่งเป็นอุบายให้เขามาเล่น มาทำกิจกรรมในวัด เพราะเขาเป็นเด็กเป็นเยาวชนซึ่งก็เป็นได้ครั้งเดียว ดังนั้น เราควรจะอบรมอะไรให้เขาบ้าง พอเขาขึ้นมาเป็นนาย ถ่ายบัตร มีลูกมีผัวมีเมีย ก็ไม่ได้เป็นเยาวชนแล้ว วิธีการสอนของอาตมาก็สอนให้เขาดูและรู้สึกนึกคิดว่าเมื่อก่อนเขาอยู่อย่างไร เขาเคยเดือดร้อนไหม ตอนนี้เป็นอย่างไร และถ้าเกิดเหมืองแล้วจะเป็นอย่างไร เรื่องน้ำท่า ป่าเขา ไหลดีไหม ฝนดีไหม สมัยก่อนอยู่อย่างไร อุดมสมบูรณ์ไหม  แต่ถ้าเขาทำลายปล่อยให้กลุ่มทุนทำลาย เขาจะอยู่อย่างไร เขาก็คิดกันได้นะ เพราะเขาทำนา ทำเกษตร ถ้าน้ำท่าไม่ดีจะอยู่กันไม่ได้  ในห้วยในหนองคลองบึง ถ้าไม่มีจะอยู่กันอย่างไร เราก็คุยกันและเขาก็เอาไปสอนลูกหลานต่อ ทำให้ชาวบ้านเริ่มสำนึกเป็นห่วงกลัวลูกหลานไม่มีที่อยู่ที่กิน ไม่อยากขายที่ให้ใครทำเหมือง จะอพยพแผ้วถางที่ใหม่ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราจึงต้องรักษาแผ่นดินถิ่นเกิดไว้ให้ได้ และนี่คือเรื่องที่อาตมาพูด อาตมาทำ"  พระอาจารย์ยงยุทธ เปิดเผยก่อนจะโต้แย้งมุมมองเรื่องบทบาทพระเกี่ยวกับกิจของสงฆ์  "มีคนถามมีคนสงสัยว่าพระมาทำอะไรแบบนี้ ไม่ใช่กิจของสงฆ์เลย  แต่ อาตมามองว่า เรากินข้าวชาวบ้าน อาศัยชาวบ้าน เพราะฉะนั้นเมื่อชาวบ้านเดือดร้อน ชาวบ้านสู้ เราก็ต้องออกมาเคียงข้างชาวบ้านเป็นกำลังใจให้ชาวบ้าน ซึ่งหากใครมองว่าอาตมาทำผิดหลักพระวินัยไหม ? ในเถรสมาคมก็มีบัญญัติไว้เหมือนกันว่าให้พระดำเนินกิจกรรมสังคมสงเคราะห์ ซึ่งสิ่งที่ทำอยู่นี้ก็เป็นบทบาทหนึ่งในการสังคมสงเคราะห์เช่นกัน เพราะอาตมาออกมาเตือนสติญาติโยมทั้งหลาย คำสอนของพระพุทธองค์ก่อนส่งพระภิกษุออกเผยแผ่ศาสนาท่านได้ให้โอวาทไปว่า "ท่านจงจาริกไป..."  ที่ ต้องจาริกไปก็เพื่อจะได้ช่วยเหลือชาวบ้าน ช่วยเหลือหมู่สัตว์ ให้เขาพ้นทุกข์ ทุกข์ของสัตว์ ทุกข์ของคน ทุกข์ของสังคม ถ้าเราไม่ทำอะไรนั่งนิ่งเฉยภาวนาอยู่อย่างเดียวโดยไม่ทำอะไร คงไม่ใช่แน่ๆ  เรา ต้องตอบแทนคุณข้าวปลาอาหารชาวบ้าน ที่เอามาถวายมาให้อาตมาฉัน ได้อิ่มไปวันๆ ใครจะมาบอกว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์คงไม่ใช่ ก็ในเมื่อคนในแผ่นดินนี้ยังเป็นทุกข์ แล้วพระ แล้ววัดจะอยู่ได้อย่างไร เราไม่ได้ทำนากินเอง เรากินข้าวชาวบ้าน นี่คือสิ่งอาตมาตระหนักเสมอ ชาวบ้านเราอยู่ได้เราอยู่ได้ ชาวบ้านเป็นทุกข์ เราจะสุขอยู่ได้ อย่างไร นี่เป็นความคิดของอาตมา นะ"  พระอาจารย์ยงยุทธ  เน้นย้ำ  

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แผนที่ธรณี ม่อนขุมคำ วังชิ้น

แผนที่ธรณี สบปราบ วังชิ้น

1122 แม่กระต๋อม วังชิ้น

2003 ปางงุ้น วังชิ้น

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม