งานเข้า! กรรมการรับฟังความคิดเห็น EHIA ขยายโรงงานถลุงแร่ทองคำ มีส่วนได้ส่วนเสียกับ กพร. และอัคราไมนิ่ง

1512 08 Sep 2012

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: เหมืองทองคำพิจิตร กรรมการ สี่คนเป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาสอนวิชาเหมืองแร่ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักบริหารการมีส่วนร่วม สังกัดกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ทำงานภายใต้การบังคับบัญชาและรายงานตรงต่ออธิบดี กพร. อีก หนึ่งเป็นหมอที่ปรึกษาบริษัทเอสซีจีหรือปูนซีเมนต์ไทย และเป็นคณะกรรมการบริหารสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสุขภาพที่รู้จักกันดีในชื่อ สสส.                 จาก การที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านโครงการเหมืองแร่ (คชก.เหมืองแร่) ได้พิจารณาผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ‘โครงการขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด’ ไปเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา และได้นำส่ง EHIA ฉบับ ที่ผ่านความเห็นชอบแล้วให้แก่คณะกรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ หรือ กอสส. เพื่อให้ความเห็นประกอบ และนำส่งให้แก่ กพร. เพื่อดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย โดย กพร. ได้กำหนดวันจัดเวทีดังกล่าวขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2555 ที่หอประชุมที่ทำการอำเภอวังโป่ง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้ง นี้ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ฉบับลงวันที่ 29 ธันวาคม 2552 ที่ออกตามความในมาตรา 67 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ นั้น อธิบดี กพร. จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียขึ้น จำนวนมากสุดได้ 5 คน ซึ่งกรรมการทั้งห้าจะต้องมีคุณสมบัติไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการหรือกิจการ นั้น ๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม แต่ ปรากฏว่ากรรมการทั้งห้าล้วนเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับกิจการส่งเสริมและสนับ สนุนการทำเหมืองแร่ทั้งสิ้น โดยมีนักวิชาการจากภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 คน คือ ผศ.ดร.พันธุ์ลพ หัตถโกศล เป็นประธานกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ที่มีผลงานทางวิชาการที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำเหมืองประเภทต่าง ๆ มาตลอด ผศ.ดร.ชัยโรจน์ รัตนกวิน เป็นกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ อดีต เคยรับราชการกรมทรัพยากรธรณี (กพร.ปัจจุบัน) ซึ่งมีผลงานการศึกษาหลายชิ้นในระหว่างอยู่ที่กรมทรัพยากรธรณีที่ส่งเสริมและ สนับสนุนการทำเหมืองแร่ประเภทต่าง ๆ และ นายวิศิษฎ์ อภัยทาน เป็นกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ อดีตเคยรับราชการกรมทรัพยากรธรณี (กพร.ปัจจุบัน) ในตำแหน่งวิศวกรเหมืองแร่ประจำฝ่ายพัฒนาเหมืองแร่และเหมืองหิน กองการเหมืองแร่ รับผิดชอบงานรวบรวมข้อมูลด้านเทคนิคของการทำเหมืองแร่ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการทำเหมืองแร่ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกัน คน ที่สี่ คือ รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ เป็นกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็น กรรมการอิสระของบริษัท สยามสติลซินดิเกต จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทอิตาเลียนไทยที่เป็นเจ้าของโครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัด อุดรธานี เป็นกรรมการอยู่ในสมาคมวิศวกรเหมืองแร่ไทยที่มีบทบาทโดดเด่นในการผลักดันและรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษารับทำ EIA และ EHIA โครงการเหมืองแร่สำคัญหลายโครงการ เช่น โครงการเหมืองแร่โปแตชอุดรธานี โครงการ ศึกษาศักยภาพแร่ตะกั่ว อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องที่ชาวบ้านในหมู่บ้านคลิตี้ได้รับสารพิษ ตะกั่วจากการทำเหมืองแร่สังกะสี เป็นต้น และ ผลงานที่สำคัญคือเป็นหัวหน้าโครงการจัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการบริหาร จัดการทรัพยากรแร่ทองคำ โดยการว่าจ้างของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ทองคำสองแห่ง ที่จังหวัดพิจิตรและเลย ซึ่งเป็นของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด และบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ตามลำดับ นอก จากนี้กรรมการทั้งสี่คนที่กล่าวมาได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำสำนัก บริหารการมีส่วนร่วม สังกัดกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ทำงานภายใต้การบังคับบัญชาและรายงานตรงต่ออธิบดี กพร. จัดตั้งขึ้นมาเมื่อ 11 พฤษภาคม 2553 มีเป้าหมายเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหามวลชนที่มีปัญหาการคัดค้านหรือได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่เพื่อแก้ไขปัญหาให้การทำเหมืองแร่ดำเนินการต่อไปได้ ที่แปลกใหม่ซึ่งน่าสนใจยิ่งกว่าสี่คนแรกคือกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ คนที่ห้า คือ นายแพทย์กิจจา เรืองไทย ปัจจุบัน เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสุขภาพที่รู้จักกันดีในชื่อ สสส. นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งในองค์การเอกชนและหน่วยงานรัฐเกี่ยวกับชีวอนามัยและสุขภาพหลายแห่ง และ ที่น่าสนใจคือเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพและผู้บริหารศูนย์ส่งเสริมคุณภาพ งานบริษัทเอสซีจีหรือปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัททำเหมืองแร่หลายประเภท เช่น แร่ดินขาว แร่ยิปซั่ม แร่หินอุตสาหกรรม แร่เหล็ก แร่ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เป็นต้น นางสาวสื่อกัญญา ธีระชาติดำรง ชาวบ้านจากหมู่บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ซึ่ง เป็นผู้ได้รับผลกระทบและผู้มีส่วนได้เสียจากการขอขยายโรงงานแยกแร่ทองคำหรือ โรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำของบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด เพราะเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้เหมืองแร่และโรงแยกแร่ทองคำมากที่สุด ซึ่งเป็นผู้ที่ฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลกเพื่อขอให้เพิกถอนประทานบัตรทำ เหมืองแร่ทองคำของบริษัทดังกล่าวด้วย กล่าวว่า “บริษัท เอาเปรียบชาวบ้านทุกอย่าง โรงงานแยกแร่ทองคำที่ขอขยายกำลังการผลิตตั้งอยู่ฝั่งจังหวัดพิจิตรใกล้หมู่ บ้านเขาหม้อ แต่กลับไปจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ที่ทำการอำเภอวังโป่ง ฝั่งจังหวัดเพชรบูรณ์ เหตุก็เพราะว่าเขาควบคุมมวลชนได้ เพราะส่วนใหญ่ของผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. นายอำเภอ สนับสนุนเหมืองแร่ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ที่เข้าข้างอัคราฯ อย่างออกนอกหน้า ก็เพราะอัคราฯ ได้มอบทองคำบริสุทธิ์หนัก 84 บาท ให้เมื่อปีที่แล้วเพื่อนำไปสร้างพระพุทธรูปข้างศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ แล้ว กพร. ยังจะมาแต่งตั้งกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ทั้งห้าคน ที่อยู่ในแวดวงการทำเหมืองแร่อย่างนี้อีก เป็นเรื่องที่สุดจะทนจริง ๆ คงจะต้องทำการคัดค้านไม่ยอมรับเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ที่จะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 9 กันยายนนี้ หากไม่ยอมเปลี่ยนกรรมการทั้งห้าคนที่มีส่วนสนับสนุนและส่งเสริมหรืออยู่ใน ธุรกิจการทำเหมืองแร่มาดำเนินการจัดเวทีดังกล่าว” ด้านนายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า “กำลัง ทำหนังสือถึงอธิบดี กพร. เพื่อคัดค้านการทำหน้าที่ของกรรมการทั้งห้าคนที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียกับ โครงการขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำของบริษัทอัคราไมนิ่ง ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง แต่โดยพฤติกรรมองค์กรที่แต่ละคนสังกัดอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งผลงานในอดีต ส่อให้เห็นถึงเจตนาที่เอนเอียง ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมต่อประชาชนที่เป็นคนเล็กคนน้อยที่อาศัยอยู่ในชุมชนหมู่ บ้านใกล้เขตเหมืองแร่ ที่ไม่มีพลังต่อรองหรือต่อสู้กับเจ้าของเหมืองแร่เลย แล้ว กพร. ยังจะแต่งตั้งกรรมการที่เอาเปรียบชาวบ้านเช่นนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง “นอก จากนี้จะร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน หรือ ก.พ. เพื่อให้ตรวจสอบจริยธรรมข้าราชการของอธิบดี กพร. คนปัจจุบัน คือนายสมเกียรติ ภู่ธงชัยฤทธิ์ ที่เซ็นต์คำสั่งแต่งตั้งกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ โดยสี่คนที่เป็นนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษามีรายชื่อซ้ำซ้อนเป็นผู้เชี่ยว ชาญประจำสำนักบริหารการมีส่วนร่วม สังกัด กพร. ทำงานภายใต้การสั่งการของอธิบดี กพร. อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย เพราะเห็นว่ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม กดขี่ ข่มเหง รังแก เอาเปรียบต่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เหมืองแร่และโรงถลุงแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯ ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการ แทนที่จะตั้งกรรมการที่มีความเป็นกลางมากกว่านี้แต่กลับไม่ทำ” แหล่ง ข่าวในจังหวัดพิจิตรรายงานเพิ่มเติมว่าขณะนี้บริษัทอัคราฯ กำลังเดินสายเกณฑ์คนงานรายวันที่ทำงานอยู่ในเหมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านหลายหมู่บ้านรอบเขตเหมืองแร่ที่อยู่บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์และพิษณุโลก รวมทั้งพนักงานประจำ ให้เข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อรายงาน EHIA โครงการ ขยายโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำอย่างเต็มกำลัง ในวันที่ 9 กันยายน 2555 นี้ โดยจะให้วันดังกล่าวเป็นวันหยุดพนักงาน แต่คนงานรายวันยังได้รับค่าจ้างเช่นเดิม เพื่อป้องกันการคัดค้านจากชาวบ้านอีกส่วนหนึ่งที่อยู่รอบเขตเหมืองแร่ที่ เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่และการถลุงแร่ทองคำที่ผ่านมา ซึ่งได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านทำการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองพิษณุโลกไปสองคดีแล้ว คือ คดีแรกฟ้องให้เพิกถอนประทานบัตร และคดีที่สองฟ้องให้ระงับยับยั้งการดำเนินการของโรงประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ ส่วนขยายที่สร้างเสร็จและดำเนินการแยกแร่แล้ว แต่จัดทำรายงาน EHIA ที่กำลังจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในวันที่ 9 กันยายน 2555 นี้ เพื่อที่จะนำไปขอใบอนุญาตตามหลัง นายเลิศศักดิ์ กล่าวในตอนท้ายอีกว่า “นอก จากการทำหนังสือถึงอธิบดี กพร. และ ก.พ. แล้ว ยังจะทำหนังสือถึงสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจุฬาฯ เพื่อให้สอบสวนตรวจสอบจริยธรรมของนักวิชาการทั้งสี่ด้วย รวมทั้งจะทำหนังสือถึง สสส. ให้สอบสวนตรวจสอบจริยธรรมของหมอกิจจา เรืองไทย ที่มีตำแหน่งหน้าที่หลายบทบาทซ้ำซ้อน ซ่อนเร้น มั่วไปหมด ด้านหนึ่งอยู่ในองค์กรขอสัมปทานทำเหมืองแร่อย่างเอสซีจี อีกด้านหนึ่งมีบทบาทเสมือนเป็นนักบุญคนดีอยู่ในองค์กรอย่าง สสส. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้กับ องค์กรชุมชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อนโยบายและโครงการการพัฒนาจากภายนอกที่ เข้ามาทำลายวิถีชีวิต ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น “คนพวกนี้มีเยอะ ส่วนใหญ่เป็นพวกหมอ เข้าไปมีตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ เอกชน หรือองค์กรอิสระ เหมือนว่าจะเป็นนักบุญ เป็นคนดีไม่สูบบุหรี่กินเหล้า อย่างที่ สสส. รณรงค์ แต่มือถือสากปากถือศีล รับใช้องค์กรที่ขอสัมปทานทำเหมืองแร่ที่เป็นสาเหตุในการก่อผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพกระจายทั่วไปหมดทั้งประเทศอย่างเอสซีจี เป็นบุคคลที่น่ารังเกียจสิ้นดี”.

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม