ฉีกหน้ากากเบื้องหลังปตท. คนดีหรือสุดแสบร่วมฉ้อโกงประชาชน 2

2141 03 Sep 2012

ลับลวงพรางราคาพลังงาน ไทย รวยกระจุก จนกระจาย ใกล้เกลือกินด่าง 24 กค 55 พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี thai9lee@gmail.com แหล่งพลังงานไทย ทั้งน้ำมันและก๊าซมีมากมายเป็นอันดับต้นๆของโลก เช่นมีก๊าซธรรมชาติ อันดับที่24มีน้ำมันดิบอันดับที่ 33 ของโลก จากเวบไซ์อเมริกา ข้อมูลมล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี (http://tonto.eia.doe.gov/cfapps/ipdbproject/iedindex3.cfm?tid=3&pid=3&ai... ที่มา: Energy Information Administration Official Energy Statistics from the U.S. Government) แหล่งพลังงาน จากน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมา จากข้อมูลหม่อมหลวงกร และจาก หน้าเวบไซด์ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ พบว่า จำนวนแหล่งพลังงานที่ขุดได้ในประเทศ ประมาณ 700,000-800,000 บาเรลล์ ต่อวัน (http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=yearSupply ปี 54 ) คนไทยใช้ประมาณ 1ล้านบาเรลล์ต่อวัน หนึ่งบาเรลล์ประมาณ​159 ลิตร (http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=2575) และยังมีการมอบสัมปทานให้บริษัทต่างๆทั้งในและต่างประเทศ เช่นเชฟรอน ได้สัมปทานมากสุด ที่มีคนไทยมีเอี่ยวด้วย (จากบทความ ผ่าไส้กลุ่มเชฟรอน โยงใย 15 บ.ไทย-ต่างชาติ บิ๊กกลุ่มทุน ปตท.-กฟผ.-ยักษ์ชิปปิ้ง-ตระกูลแบงก์ดัง หุ้นส่วนhttp://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P12331443/P12331443.html ) จากการตรวจสอบพบว่า กลุ่มทุนชั้นนำเมืองไทยที่ร่วมลงทุนกับเชฟรอนมี 4 บริษัทได้แก่ 1.กลุ่ม ปตท. ร่วมถือหุ้นใน บริษัท บี 8/32 พาร์ทเนอร์ จำกัด เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2548 โดยใช้ชื่อ บริษัท พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด หลังจากนั้น วันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 บริษัท พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ จำกัด ได้ย้ายไปจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน สัญชาติ เคย์แมน ไอซ์แลนด์ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น พีทีทีอีพี ออฟชอร์ อินเวสเมนต์ คัมปะนี ลิมิเต็ด จนถึงปัจจุบัน 2.บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด (กลุ่ม กฟผ.) ร่วมถือหุ้น บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด จำนวน 12,838,875 หุ้น(กลุ่มก.) และ 375 หุ้น (กลุ่ม ค.) หุ้นละ 100 บาท คิดเป็น 50% กระทั่งถือหุ้นจนปัจจุบันทั้งนี้ บริษัท ราชบุรีแก๊ส จำกัด ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ถือหุ้น 100% ( การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย –กฟผ. ถือหุ้นใน บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 45%) 3.บริษัท ยูไนเต็ดไทย ชิปปิ้ง จำกัด (กลุ่มนายชวลิต เชาว์) ร่วมถือหุ้น บริษัท ซียูอีแอล จำกัด (ชื่อเดิมบริษัท คลัฟ-ยูนิไทย เอนจิเนียริ่ง จำกัด) นาย ชวลิต เชาว์ ถือหุ้น 50.99% ไอเอ็มซี อินดัสเทรียล ลิมิเต็ด สัญชาติ เบอร์มิวด้า 44.31% กระทรวงการคลัง 4.68% 4.กลุ่มโสภณพนิช จากการตรวจสอบพบว่าร่วมถือหุ้นกับกลุ่มเชฟรอน 2 บริษัท ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2554 จำนวน 1 หุ้น หลังจากนั้นเพิ่มเป็น 3,301 หุ้น เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 กระทั่งเหลือ 3,300 หุ้นหรือ 0.33% แสดงว่า น้ำมันและก๊าซที่คนไทยใช้เกือบเพียงพอ สำหรับภายในประเทศ บริษัทสัมปทานได้รายได้ปีละ สี่ห้าแสนล้านจากรายได้แหล่งพลังงานไทย แบ่งค่าภาคหลวงให้รัฐ สี่ห้าหมื่นล้าน ต่อปี http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=saleValueRoyalty&year=2011 ข้อหมกเม็ดของปตท คือ แจ้งว่าพลังงานในประเทศไม่มี หรือมีน้อย แต่ ต้องนำเข้าจากที่นั่นที่นี่ โดยการตั้งราคาตามตลาดโลก (ที่แพงกว่าตลาดโลก )โดยยึดมติครม 21 พค 34 ให้ลอยตัวราคาน้ำมัน ตามตลาดโลก ต้องอิงราคาตลาดโลก แต่ เท่าที่ตรวจพบกลับปรากฎว่าคนไทยถูกแหกตาคือ การตั้งราคาตามมติครม บวกค่าการกลั่น ค่าขนส่ง รวมแล้ว5-7 บาทต่อลิตร แถมยังบวกค่าเงินกองทุนน้ำมันอีก 2-7 บาทต่อลิตร (สำหรับน้ำมัน และสำหรับก๊าซ 3-11 บาทต่อกก ) และค่าการตลาด อีก1-5 บาทต่อลิตร รวมแล้วประชาชนต้องจ่ายแพง กว่า 10-20 บาทต่อลิตร โดยเฉพาะ เบนซิน 95 http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html ดังนั้น ที่ว่าทำไม มาเลเซียถึงขาย ได้ 19 บาทต่อลิตร ซึ่งได้บวกภาษี และกำไรต่างๆไว้แล้ว แต่ไทยขาย 43 บาทต่อลิตร และทำไมไทยจึงขายน้ำมันสำเร็จรูปไปพม่า ผ่านด่านระนองได้ในราคา 18 บาทต่อลิตร อีกส่วนหนึ่งแหกตาประชาชน คือมักบอกราคาน้ำมันดิบเป็นเหรียญต่อบาเรลล์แต่ไม่แปลงเป้นบาทต่อลิตร เช่นราคา80เหรียญต่อบาเรลล์ก็จะเท่ากับ ประมาณ 16.5บาท จ.1 ข้อเท็จจริงด้านราคาก๊าซ และน้ำมัน 1. กำหนดราคาหน้าโรงกลั่นสูง แพงกว่า ราคาตลาดโลกhttp://www.eppo.go.th/petro/price/index.html ไม่เป็นไปตามมติครม. มีการบวกค่ากำไรเกินควร เช่น วันที่11-12 มิถุนายน 2555 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 82-83 $ต่อบาเรลล์​ซึ่งเท่ากับ 16.34 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 21บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5บาทต่อลิตร เป็นกำไรหน้าโรงกลั่น ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นของปตทถือหุ้นใหญ่ ครอบคุมตลาด ถึง 85 % วันที่ 25-26 มิย 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 78-80$ ต่อบาเรลล์​ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 15.75 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 20.85 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5บาทต่อลิตร วันที่ 4-6 กค 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 83-84 $ต่อบาเรลล์​ซึ่งเท่ากับ 16.64 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 21-22.46 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 5-6 บาทต่อลิตร วันที่ 14-16 กค 51 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ขึ้นสูงสุด อยู่ที่ 130-145 $ต่อบาเรลล์​ซึ่งเท่ากับประมาณ 27-31 บาทต่อลิตร ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 30.9 บาทต่อลิตร เท่าความจริง วันที่ 2-11 เม.ย. 55 ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก อยู่ที่ 101-105 $ต่อบาเรลล์​ซึ่งเท่ากับ ประมาณ 20.76 บาทต่อลิตร แต่ราคาหน้าโรงกลั่น อยู่ที่ 27.36-28.36 บาทต่อลิตร เเพงเกินจริง อยู่ 7-8 บาทต่อลิตร (ทั้งหมดใช้เทียบเฉพาะเบนซิน 95 ตัวเดียว กัน) ยังผลให้ โรงกลั่นต่างๆกำไร เพิ่มขึ้นเป็นพันล้าน เพิ่มจากปี 2554 เช่นบริษัท ESSO กำไรในปี 2555 ในไตรมาสแรก (มค-มีค 55 ) กำไรก่อนหักภาษี เท่ากับ 2508.71 ล้านบาท เทียบเท่ากับทั้งปี 2554 กำไรสุทธิ 939.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จำนวน 1,568.96 ล้านบาท ระยะเวลา แค่ เพียงสามเดือน หากทั้งปี อาจจะกำไรถึง หมื่นล้านบาท หรือ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ใน ปี 2555 ในไตรมาสแรก (มค-มีค 55 ) กำไรก่อนหักภาษี เท่ากับ 2,438.32 ล้านบาท เทียบเท่ากับทั้งปี 2554 กำไรสุทธิ 5,632.00ล้านบาท ระยะเวลา แค่ เพียงสามเดือน หากทั้งปี อาจจะกำไรถึง หมื่นล้านบาท มากกว่า ปี 2554 เกือบสองเท่า ซึ่งทั้งบางจากและ Esso ล้วนเป็นบริษัทของเอกชน จ.1.2 กำหนด เงินเข้ากองทุนน้ำมันที่เอื้อต่อ เอกชนที่ถือหุ้นปิโตรคมี เช่นบริษัทPTTโกลบอล จำกัด ปตท ถือหุ้น 49% มีกำไร เพิ่มจากเดิมปี 54 กำไร 2,113.44 ล้าน บาท ในปี 2555 สามเดือนแรก(มค-มีค 55 ) กำไร 9,852.19 ล้านบาท แต่หมกเม็ดแจ้งต่อประชาชนว่า ประชาชนใช้ก๊าซ จำนวนมากต้องนำเข้า และต้องนำเงินกองทุนน้ำมัน ที่เก็บจากประชาชนทุกคน รวมทั้งอุตสาหกรรมต่างๆที่ใช้ก๊าซ และประชาชนที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมันและก๊าซ ลิตรละ 1-12 บาท ไปชดเชยต้นทุนของ บริษัท ปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท มีเอกชน ถือหุ้นอยู่ด้วย แต่ที่จริงนำเข้ามาใช้ในปิโตรเคมี เพื่อการส่งออกทั้งยังขาย ก๊าซLPG ให้บริษัทลูก ถูกกว่าขายให้ประชาชน และถูกกว่าราคาขายต่างประเทศ เช่นปี 2551 ราคาตลาดโลกอยู่ที่ 27 บาทต่อกก . ขายให้ บริษัทปิโตรเคมี 16.45 บาทต่อกก ขายปลีกให้ประชาชน 18.13 บาทต่อกก ( ที่มา คณะกรรมาธิการวุฒิสภา ฯ ) [news270855-4] ส่วนในปี 2554 ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน ) เทียบกับปี 53 (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้ LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น 11พันตัน ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 12 พันตัน ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 54 พันตัน (ที่มากรมธุรกิจ พลังงาน) ดังนั้น การนำเข้า ก๊าซ LPG ที่นำเข้ามานั้น ใช้ในอุตาหกรรม ปิโตรเคมีมากกว่า ครัวเรือน และขนส่ง มาก ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง เท่ากับ เสนอข้อมูลฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีดเงินค่าน้ำมัน และก๊าซไปชดเชยการนำเข้าก๊าซเพื่อปิโตรเคมีที่เป็นบริษัทลูกของปตท.แต่ออก ข่าวเสมือน หนึ่งว่าประชาชน ใช้มากในครัวเรือนและยานยนต์ ถือเป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ผู้อื่น แต่ขูดรีด และสร้างภาระเกินควรแก่ประชาชน สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคม แต่สร้างความร่ำรวยให้เอกชนที่ถือหุ้น ปิโตรเคมี เช่นปี 2554 มีการชดเชยการนำเข้าLPG และอื่นๆกว่าห้าหมื่นล้านบาท http://www.efai.or.th/fin/monthly%20report-cash08.pdf จ.1.3.กำหนดค่าการตลาดที่เอื้อเอกชน เจ้าของปัมพ์น้ำมัน เช่นค่าการตลาด ค่าการตลาดอยุ่ที่1.5-5บาท ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าความจริงและคณะกรรมการกลางว่าด้วย สินค้าและบริการ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ปล่อยให้ ปตท และรมตพลังงาน กำหนดราคาน้ำมันและก๊าซตามอำเภอใจ จึงเป็นผู้ร่วม หรือสนับสนุน ให้เกิดการหมกเม็ดข้อมูล เพื่อฉ้อโกงประชาชน เป็นการการกระทำ ที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341 มาตรา 148 มาตรา 152มาตรา 157 ขัดประมวลจริยะ ธรรมนักการเมือง ข้อ 6 (5) ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ14 และรัฐธรรมนูญมาตรา 66 67 84(4) (6) ขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน ข้อประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน จ.1.4 กำหนดราคาก๊าซNGV เอื้อเอกชนผู้ถือหุ้นในเครือปตท . ก่อนที่จะมีการลอยตัวเอ็นจีวี ปตท. มักจะพูดอยู่เสมอว่า มีผลขาดทุนสะสมจากการขายก๊าซเอ็นจีวีอยู่ 30,000 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่เคยแสดงหลักฐานการซื้อขายNGV จริง จากข้อมูลของ สนพ. หลังจากลอยตัวก๊าซที่ใช้ในภาคขนส่ง ในปี 2555 ปตท. จะมีรายรับจากการขายเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 1,758 ล้านบาท เป็น 2,999 ล้านบาท ส่วนแอลพีจีจะมีรายรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเดือนละ 1,460 ล้านบาท เป็น 2,117 ล้านบาท ประการสำคัญราคาเนื้อก๊าซที่ ปตท. นำมาแสดงต่อสาธารณชนเป็นราคาที่สูงเกินจริงถึง 4 เท่าตัว เพราะ ปตท. ไม่เคยแสดงหลักฐาน ว่าเนื้อก๊าซที่ไปซื้อมาจากปากหลุมราคาเท่าไหร่ แต่ไปเอาราคาก๊าซเอ็นจีวีที่ขายให้กับ กฟผ. มาแสดง แล้วก็บอกว่านี่ราคาต้นทุนเนื้อก๊าซ ตามข้อมูลของ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ราคาก๊าซปากหลุมที่ปตทซื้อ ราคาตำกว่าตลาดโลกตั้งแต่ 45-67% ราคาก๊าซของไทยแค่2บาทเท่านั้น(และราคาตลาดโลกลดลงไปเรื่อยๆ เอกสารแนบ… 16. แต่ ปตท.กลับอ้างต้นทุนตนเองสูง และ เพิ่มราคาจนประชาชนเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ส่วน ปตท.สผ. ปตท. กรรมการบริษัท ในเครือ และ ผู้ถือหุ้นต่าง ร่ำรวยถ้วนหน้าโดยขูดรีดจากประชาชนทุกหมู่เหล่า ) แต่ปตท.กลับอ้างขาดทุนก๊าซNGV ทั้งที่บริษัทลูก กำไรจากการขายก๊าซให้กับปตท หลายหมื่นล้าน จ.1.5 ขึ้นราคา LPG โดยเอื้อเอกชน และฉ้อโกงประชาชน จากราคาก๊าซLPG เดือน ธันวาคม 2554 ราคาขายก๊าซอยู่ที่ 18.13 บาทต่อลิตร เมื่อมีมติครม. ให้ขึ้นราคาก๊าซ เมื่อวันที่ 4 ตค 54 โดยอ้างต้องนำเข้า LPG ตามต้นทุนที่แท้จริง ปรากฎว่า ราคาที่เพิ่มขึ้นในเดือน เมษายน 2555 (เอกสารแนบ 9 ) ราคาก๊าซ LPG อยู่ที่ 20.38 บาทต่อลิตร สำหรับรถยนต์ และ 30.13 บาทต่อลิตร สำหรับภาคอุตสาหกรรม และส่วนที่เพิ่มจากราคาเดิมคือ เงินในกองทุนน้ำมัน (2) โดยเพิ่มขึ้น 2.1027 บาทต่อลิตร สำหรับก๊าซใช้ในรถยนต์ และ 11.215 บาทต่อลิตร สำหรับก๊าซในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งกองทุนเหล่านี้เอาเงิน ไปชดเชย การนำเข้าก๊าซโพรเพนและบิวเทนใน ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และไม่ปรากฎการแสดง ราคาก๊าซเหล่านี้ ในภาคปิโตรเคมี ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท . รวมทั้งก๊าซที่ได้จากการ ขุดเจาะในประเทศ มีปริมาณพอเพียง ต่อใช้ ในภาคครัวเรือน และยานยนต์ ทั้งก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ในประเทศ ปริมาณเกินความสามารถ ในการกลั่น ต้องนำก๊าซทั้งหมดที่ขุดจากหลุม ส่งไปผลิตไฟฟ้า และเผาทิ้งส่วนหนึ่งเพราะ โรงแยกก๊าซไม่เพียงพอ ต่อปริมาณ ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ในประเทศ​ซึ่งเป็นการกำหนดนโยบาย และการบริหารเพื่อให้เกิดการนำเข้า ก๊าซและ เป็นก๊าซ เพื่อปิโตรเคมี ไม่ใช่เพื่อครัวเรือน จึงเป็นการฉ้อโกงประชาชน โดยอาศัย มติครม สัดส่วนรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ ปตท. ณ วันที่ 9 กันยายน 2554 ปตท ถือหุ้น 51% ที่เหลือเอกชนถือหุ้น ส่วนบริษัท ปตท สผ มีปตท ถือหุ้น62% ที่เหลือเอกชนถือหุ้นอยู่ด้วย จากข้อมูลในตารางจะเห็นได้ว่ากำไรปตท 1. เพิ่มขึ้นทุกปีกว่าแสนล้านบาท 2. สัดส่วนกำไร มาจากการผลิต สำรวจและขุดเจาะก๊าซ 70-80 % ซึ่ง เป็นบริษัทลูกในเครือปตท สัดส่วนถือหุ้น 62 % ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางและราคา และการบริหารได้ทุกอย่าง จึงสามารถกำหนดราคาขายกีาซเอ็นจีวี เพื่อให้ปตทผส. กำไร แต่บริษัทแม่ (ปตท.)อ้างว่าขาดทุนราคาต้นทุนก๊าซ แต่แท้ที่จริงคือให้บริษัท ลูก (ปตทสผ) กำไรสูง เพื่อความชอบธรรมในการขอขึ้นราคาก๊าซธรรมชาติ 3. ในปี54 กำไรสุทธิ 105,296 ล้านบาท หลังหักภาษี และดอกเบี้ย ซึ่งส่วนใหญ่มา จากการ สำรวจและผลิต และขายก๊าซ 4. ในไตรมาสแรกของปี 55 ปรากฎว่าปตท กำไรสุทธิ37385.78 ล้านบาท จะเห็นว่า ปตท ล้วนกำหนดหรือสนับสนุนให้กำหนดราคาน้ำมันและก๊าซที่สร้างความร่ำรวยแก่ บริษัทปตท และบริษัทในเครือ ที่มีเอกชนร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วยแต่ ประชาชนทั่วไปทุกคนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันและราคาสินค้า ทุกอย่าง เพื่อไปชดชเยความร่ำรวยของธุรกิจของปตท และบริษัทในเครือ เมื่อ วิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน แยกตามกลุ่มธุรกิ0 อ้างอิงจาก รายงาน 56-1 ประจำปี 2553 หน้า 306 , 311หน่วยล้านบาท ปี กำไรก่อน หักดอกเบี้ยและภาษี (ล้านบาท) กำไรก่อนหัก ภาษีและดอกเบี้ย หน่วยธุรกิจก๊าซ ธรรมชาติ (ล้านบาท) กำไรจากธุรกิจ สำรวจและผลิต (ปตท สผ) (ล้านบาท) กำไร(ขาดทุน) จากธุรกิจน้ำมัน (ล้านบาท) จากการค้า ระหว่าง ประเทศ (ล้านบาท) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (ล้านบาท) กำไรสุทธิ ทั้งปี (ล้านบาท) กำไรต่อหุ้น (บาท) 2551 109,882.83 48,505 74,643 (1,720) 4,310 18,190 66,535 18 2552 102,004.71 32,921 51570 9000 2016 22,322 68,690 21 2553 123,625 37,955 69,536 9,717 2,342 24,196 99,930 29 2554 155,430 46992 84,480 10,781 3,277 21,052 105,296 36.91 นอกจากการมีน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในประเทศแล้ว บริษัทในเครือปตท ยังสามารถส่งออกน้ำมัน สำเร็จรูป มูลค่ากว่าสามแสนล้านบาท เป็นอันดับสี่ของมวลรวมการส่งออกของประเทศ และเมื่อรวม ผลิตภัณฑ์ต่างๆจากน้ำมัน ดิบ เช่นเม็ด พลาสติค เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป ส่งออกรวมมูลค่ามากกว่า800,000 ล้านบาท และมีมูลค่า มากกว่าส่งออกข้าว ผู้ประกอบการและผู้ถือหุ้น ปตท รวยขึ้น โกยกำไร เป็นแสนล้าน ส่วนกรรมการปตท กลับมีรายได้ ปีละหลายสิบล้านบาท ( 40-80 ล้านบาท ) จาก โบนัส และเงินเดือนเบี้ยประชุม รวมทั้งเอกชน มีรายได้จากการปันกำไร รวมตั้งแต่ปี 2543 -2550 รวมแล้วกว่า สองแสน ล้านบาท (216,384.49 ล้านบาท )แต่คนทั้งประเทศจนลง จากวิจัยของหอการค้า ทั้งนี้ รายจ่ายที่เกิดขึ้น ล้วนมาจาก ผลจากการที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ค่าไฟฟ้า ต้นทุนสินค้า อาหาร ค่าบริการ ค่าเดินทาง ขนส่ง ต้นทุนไปทำงาน ฯลฯ ต้องแพงขึ้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน และมติดังกล่าวยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 85(4) ที่กำหนดให้ประชาชนได้ประโยชน์จาก ทรัพยากร ของประเทศอย่างเป็นธรรม และสมดุลย์ ขัดต่อ มาตรา 84 ด้านกระจายรายได้ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ โดย (6) ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้ อย่างเป็นธรรม จ.2 ข้อเท็จจริงด้านการขึ้นค่าไฟฟ้า เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. กล่าวว่า ทาง กกพ. มีมติปรับขึ้นค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือค่าเอฟที ในงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม55 อีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าบ้าน ปรับขึ้นประมาณ 3.30 บาทต่อหน่วย หรือราว 7-8 เปอร์เซ็นต์ หากผู้ใช้คนใดเคยจ่ายค่าไฟประมาณเดือนละ 100 บาท จะต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นอีก 7-8 บาท ทั้งนี้ นายดิเรก กล่าวว่า ค่าเอฟทีที่สูงขึ้น เป็น ผลมาจาก 1 ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน อีกทั้ง 2 ความต้องการในการใช้ไฟฟ้างวดใหม่ ยังเพิ่มขึ้นด้วย ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์ว่า ปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 แต่ในความเป็นจริง มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.32 หรือ 51,955 ล้านหน่วย ซึ่งเป็นผลมาจากอากาศร้อน การใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม ก็ทำให้การใช้ไฟเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 4 ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน ข้อเท็จจริง ราคาก๊าซในตลาดโลกลดลง และขณะนี้เดือนกค. 55 เลยหน้าร้อนมาแล้ว แต่ปตท ร่วมกัน อนุมัติ หรือสนับสนุน ให้มีการเพิ่มราคาก๊าซ และค่าไฟฟ้า และจากการที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอ้างว่า ต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เพิ่มขึ้นเพราะท่อก๊าซ ของปตทรั่วต้องนำเข้าน้ำมันเตามาผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้ไฟฟ้าในอัตราสูง แต่ปัจจุบัน ราคาก๊าซ ธรรมชาติในตลาดโลกลดลงมาก และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง แต่การไฟฟ้าขอเพิ่มค่าเอฟที 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งข้ออ้างต่างๆ อ.ประสาทมีแต้ม ได้เขียนไว้ในผู้จัดการดังนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้ประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟที อีก 30 สตางค์ โดยอ้าง ราคาก๊าซขึ้นราคา และต้องใช้น้ำมันเตาทดแทน แต่จากการศึกษาข้อมูลของดร.ประสาท มีแต้มพบว่าสัดส่วนน้ำมันเตาใช้เพียง. 0.08%. ไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ต่อต้นทุนการผลิต ไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังยินยอม ให้ปตท ขายก๊าซแพง กว่าขายให้เอกชนรายอื่นๆในไทย 30 บาทต่อล้านบีทียู และแพงกว่า อเมริกา 70 บาทต่อล้านบีทียู ทำให้ต้นทุน ค่าไฟฟฟ้า ก๊าซ หนึ่งล้านบีทียู ผลิตไฟฟ้าได้ 120 หน่วย ทำให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าแพงขึ้นกว่าทั่วไปอีก 25 สตางค์ ต่อยูนิท ซึ่ง แสดงถึงการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันสนับสนุน หรือร่วมอนุมัติหรือเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ ราคาก๊าซ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่บริษัทในเครือปตท และเอกชนผู้ถือหุ้น เป็นการใช้ดุลย์พินิจที่มิชอบ เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือผู้อื่น แม้นจะอ้างเรื่องกฎหมายให้อำนาจ ที่มีสิทธิเป็นกรรมการในหลายบริษัทในเครือปตท หรือมิให้อำนาจคณะกรรมการการ กกพ. ในการ แต่ก็เป็นการร่วมกันเสนอร่างกฎหมายและผ่านกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ตนเองและพวกพ้องจากการ มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมาย เพราะทั้งอัยการ สูงสุด ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบ เลขาสำนักงานกฤษฎีกา เจ้าหน้าที่ สตง ล้วนมีหน้าที่ตรวจสอบ ความโปร่งใส และ หรือ การทุจริต แต่กลับ ไปเป็นกรรมการบริษัท ซึ่งมีค่าตอบแทน เป็นล้านๆบาท เป็นการออกกฎหมายเพื่อให้ตนเอง หรือผู้อื่นกระทำถูกกฎหมาย และเอื้อประโยชน์ตนเองและ หรือพวกพ้อง ขัดประมวลจริยธธรรมตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 279 และนับตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึงกันยายน 2555 ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องเสียค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 30 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งประเทศเราใช้ไฟฟ้าปีละประมาณ 1.5 แสนล้านหน่วย ส่งผลให้เงินในกระเป๋าของประชาชนต้องนำไปส่งส่วย สร้างความร่ำรวย แก่คณะกรรมการบอร์ด คณะกรรมการ และเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนที่อยู่ในบริษัทในเครือปตท รวมทั้งผู้ถือหุ้น เครือปตท ที่มีเอกชนเกือบครึ่ง อีก 4.5 หมื่นล้านบาทต่อปี ยังไม่นับค่าราคาสินค้าที่ จะเพิ่มตามมาอีกมากมาย ยังผลให้ปตท กำไรจากการขายก๊าซ แต่ละปีเป็นหมื่นๆล้าน เช่นปี 53 กำไรเฉพาะจากส่วนของการค้าก๊าซ ธรรมชาติ 37,954 ล้านบาท ปี 54 กำไร จากก๊าซ 46,992 ล้านบาท และบริษัท ปตท สผ.ที่เป็นบริษัทขุดเจาะ และสำรวจ แหล่งพลังงานและเป็นบริษัทที่ขายก๊าซให้ ปตท กำไร ปี 52กำไร51,570 ปี 53กำไร 69,536ล้านบาท สำหรับค่าเอฟที เหตุผลที่ใช้ในการขอขึ้นค่าเอฟทีครั้งนี้คือ หนึ่งสาเหตุหลักเกิดจาก ความเชื่อว่าน้ำมันเตาเป็นตัวแปร หลักในการกำหนดราคาก๊าซ ธรรมชาติ (ไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้า 70% ของทั้งหมด) เมื่อน้ำมันดิบขึ้นราคา ก๊าซธรรมชาติก็ขึ้นตามไปด้วย แต่ความจริงคือราคาก๊าซ และน้ำมันในตลาดโลกลดลง ในเดือนพค ,มิย 55 และราคาน้ำมันมิได้ขึ้นสูงมากเหมือนปี 2551 ที่ขึ้นไปถึง 145 $ต่อบาเรลล์ ที่ราคาค่าไฟฟ้าอยู่ที่สองบาทกว่า ปัจจุบันอยู่ที่ 80-85 $ต่อบาเรลล์ ราคาไฟฟ้ากว่าสามบาทต่อหน่วย สอง ราคาก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มขึ้นจาก 292.65 เป็น 301.28 บาทต่อล้านบีทียู (เพิ่มขึ้น 8.63 บาท) เมื่อ กค 2551 ราคาน้ำมันสูงสุด อยู่ที่ 145$/บาเรลล์ ค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 2บาทกว่า เดือนมิย 55 ราคาน้ำมันดิบโลกอยู่ที่ 80-85 $ /บาเรลล์ แต่ค่าไฟฟ้า กลับพุ่งขึ้นเป็นประมาณ 3.30 บาท ทั้งราคาก๊าซในตลาดโลกก็ลดลง มาก แต่ กลับมมีมติครม.ให้ ขึ้นราคาก๊าซตามต้นทุนไทยที่แพงเกินจริงเวลา ราคาน้ำมันโลกสูงกว่า ต้นทุนไทยก็อ้างอิงราคาน้ำมันโลก เวลา ราคาก๊าซ ตลาดโลก ถูกกว่าต้นทุนไทย ก็อ้างอิง ราคาไทย ทั้งปตท และรมตพลังงาน ล้วนร่วมกัน เป็นผู้ออกกฎหรือสนับสนุนให้ออกกฎ หรือ ผู้ใช้กฎที่ ทั้งหมดเพื่อ ผลประโยชน์ที่เอื้อเอกชนทั้งสิ้นถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อเอื้อประโยชน์เอกชนผู้ถือหุ้น ผิดกฎหมายอาญามาตรา 157 ส่วนที่ว่าราคาก๊าซจะขึ้นไปอยู่ที่ 301.28 บาท ดังนั้นต้นทุนค่าก๊าซในการผลิตไฟฟ้าไทยจะอยู่ที่ 2.51 บาทต่อหน่วย ( จากรายงานประจำปี 2553 ของ กฟผ. ตัวเลขอยู่ที่ 1.824 บาท) ถ้ายึดตามตัวเลขของ กฟผ.ที่ ว่าราคาก๊าซจะเพิ่มขึ้น 8.63 บาทต่อล้านบีทียู จะทำให้ค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้นเพียง 7.17 สตางค์ต่อหน่วยเท่านั้น ไม่ใช่ 57.45 สตางค์ ส่วนที่ว่าราคาน้ำมันดีเซล น้ำมันเตาสูงขึ้น นั้นเป็นส่วนเล็กน้อย มาก เพราะเราใช้แค่นิดเดียวคือ 0.8 และ 0.02% (ที่มาอ.ประสาท. มีแต้ม) ถือหมกเม็ดบิดเบือนข้อมูล เอื้อประโยชน์เอกชนทางอ้อม ทั้งหมดคือลับลวงพราง และ ปตท. โจรหรือนักบุญ สุดแสบ ร่วมกับ นักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และนักการเมือง ให้เราๆท่านคิดกันเอาเองจะทำอะไร และอย่างไรให้ประเทศเรา

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม