สุดทน! สมัชชาคนจนเคลื่อนบุกทำเนียบ

1257 11 Jul 2012

20 พฤษภาคม 2555 เครือข่ายองค์กรชาวบ้านสมัชชาคนจน ซึ่งเป็นชาวบ้านที่รวมกลุ่มกันเพราะได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากผลกระทบ จากนโยบายการพัฒนาของรัฐและผลกระทบจากภาคอุตสาหกรรม จำนวนประมาณ 400 คน เดินทางมาจาก 6 เครือข่ายทั่วประเทศ ได้แก่ เขื่อน ป่าไม้  ที่ดิน ประมงพื้นบ้านภาคใต้ เกษตรกรรมทางเลือก สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงานแห่งประเทศไทย หลังจากเดินทางถึงทำเนียบในช่วงเช้าแถลงการณ์ฉบับแรกได้ถูกเปิดผนึกแสดง เจตนารมณ์ในการชุมนุมครั้งนี้ โดยมีข้อเรียกร้องเสนอต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้เปิดการเจราจาหาแนวทางแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสมัชชาคนจนได้มีการยื่นหนังสือถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี ถึง 3 ฉบับ 3 สถานที่ แต่ไม่มีผล วันที่ 18 สิงหาคม 2554 บริเวณสันเขื่อนราษีไศลได้มีการยื่นหนังสือฉบับแรกถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี โดยผ่านผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ โดยมีข้อเสนอทั้งการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายและการแก้ไขปัญหารายกรณี ด้วยความคาดหวังว่ารัฐบาลจะเข้ามาแก้ไขปัญหาของคนจน ข้อเสนอของสมัชชาคนจน 1.ปัญหารายกรณี ซึ่งได้มีการประชุมเจรจาแก้ไขปัญหามาตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ขอให้รัฐบาลปัจจุบันเปิดการเจรจาแก้ไขปัญหากับสมัชชาคนจนต่อเนื่องจากรัฐบาล ที่แล้ว ภายในเดือนกันยายน 2554   2.ข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.1) การจัดการน้ำ 2.1.1) รัฐต้องยุติโครงการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนโป่งขุนเพชร เขื่อนท่าแซะ และอื่นๆ รวมทั้งยุติโครงการผันน้ำข้ามลุ่มน้ำ 2.1.2) รัฐต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน เช่น เขื่อนราษีไศล เขื่อนหัวนา เขื่อนปากมูล และเขื่อนอื่นๆ 2.1.3) รัฐต้องสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนโดยองค์กรชุมชน 2.2)การจัดการป่าไม้ 2.2.1)ให้รัฐแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้ คือ พรบ.ป่าไม้, พรบ.อุทยานแห่งชาติ, พรบ.ป่าสงวนแห่งชาติ, พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า, พรบ.สวนป่า 2.2.2)ยกเลิกอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ประกาศทับที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชุมชน 2.2.3)ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 2.2.4)สร้างกฎหมายและกลไกสนับสนุนการจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยองค์กรชุมชน 2.3) การปฏิรูปที่ดิน 2.3.1)ให้รัฐยกเลิกประมวลกฎหมายที่ดิน 2.3.2)ให้รัฐยกเลิก พรบ.ที่ราชพัสดุ 2.3.3)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินข้างต้นขึ้นใหม่โดยให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมด้วย 2.3.4)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายกระจายการถือครองที่ดิน 2.3.5)ให้รัฐจัดกระบวนการยกร่างเพื่อออกกฎหมายเก็บภาษีที่ดินอัตราก้าวหน้า 2.4) ผู้ใช้แรงงานและผู้เจ็บป่วย 2.4.1)รัฐต้องปรับโครงสร้างอนุกรรมการยกร่างสถาบันส่งเสริมสถาบันความ ปลอดภัยฯ โดยให้สหภาพแรงงานและสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมและการทำงาน แห่งประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วม 2.5) เกษตรกรรม 2.5.1)รัฐต้องปกป้องคุ้มครองเกษตรกรรายย่อย  เพิ่มอำนาจต่อรองให้เกษตรกรรายย่อยโดยการสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นเจ้าของ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีในระดับที่เกษตรกรควบคุมได้ 2.5.2)สนับสนุนการรวมตัวและการมีส่วนร่วมในการจัดการตลาดของเกษตรกรรายย่อย 2.5.3)ให้รัฐรักษาสมดุลของการขยายตัวของพืชเศรษฐกิจพืชพลังงาน เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปกป้องทรัพยากรอาหารของท้องถิ่น รวมถึงการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร เช่น การควบคุมการโฆษณาการส่งเสริมการขาย 2.6)ประมง 2.6.1) ให้พิจารณา พรบ.ประมงฉบับภาคประชาชน วันที่ 30 กันยายน 2554 เครือข่ายสมัชชาคนจนได้รวมตัวกันอีกครั้ง ณ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามความคืบหน้า โดยนายแพทย์ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขานุการนายกเป็นเป็นตัวแทนรับหนังสือ แต่ยังไม่เป็นผลเพราะเกิดสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ รัฐบาลขอเวลาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้แล้วเสร็จ จวบจน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 การประชุม ครม.สัญจร ที่ จ.อุดรธานี สมัชชาคนจนได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเป็นฉบับที่ 3 โดยนายพายัพ ชินวัตรและ สส.วิเชียร ขาวขำ เป็นตัวแทนมารับหนังสือ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ วันที่ 21 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.30 น.นายสมเกรียติ พ้นภัย แกนนำชาวบ้านกรณีเขื่อนปากมูล ได้ร่วมกับชาวบ้านประมาณ 400 คนกันทำกิจกรรมเดินรณรงค์ ชี้แจงให้กับประชาชนในกรุงเทพฯให้เข้าใจปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็น เวลา 20 ปีแล้วมากกว่า 7 รัฐบาล และได้เดินรณรงค์มา รอบทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้นายยงยุทธ นวนิยม ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ดังนี้ บัดนี้ เป็นเวลากว่า 10 เดือนแล้วนับจากการยื่นหนังสือขอนัดหมายเจรจาครั้งแรก เราต้องสลดใจที่รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคการเมืองที่ได้รับเสียงสนับสนุนของ คนรากหญ้ากลับละเลยเพิกเฉยต่อปัญหาความทุกข์ร้อนของคนยากคนจนพอกันที สำหรับการเตะถ่วงซื้อเวลา วันนี้ ณ ที่นี้ เรา, สมัชชาคนจน ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ทำหน้าที่ให้สมกับที่คนรากหญ้าไว้วางใจ เราขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ขอให้รัฐบาลเปิดการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหารายกรณีของสมัชชาคนจนทันที โดยให้มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในที่ประชุม “ประชาธิปไตยต้องกินได้ การเมืองไทยต้องเห็นหัวคนจน” หลังจากนั้นได้มีการยื่นถึงรัฐบาล ผ่านนางอัจจิมา  จันสุวานิชย์ ตัวแทนจากสำนักรับเรื่องราวร้องทุกข์สำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือ โดยนางอัจจิมา  จะรับหน้าที่ประสานและรายงานให้ท่านนายกทราบต่อไปเพื่อดำเนินการต่อไป นายสมเกรียติ พ้นภัย แกนนำชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนจากกรณีปัญหาเขื่อนปากมูล กล่าวว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทั้ง 6 เครือข่ายนี้ จะชุมนุมรอคอยวันนัดหมายกำหนดวันเจรจาจากรัฐบาล และยังหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของคนรากหญ้า นั้นจะแก้ไขปัญหาให้กับพวกเขา วันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.00 น. ชาวบ้านสมัชชาคนจนประมาณ 400 คน ร่วมกันทำกิจกรรมเดินรณรงค์ ชี้แจงให้กับประชาชนในกรุงเทพฯให้เข้าใจปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขมาเป็น เวลา 20 ปีแล้วมากกว่า 7 รัฐบาล และได้เดินรณรงค์มา รอบทำเนียบรัฐบาล ทั้งนี้ได้มีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 2 โดยมีเนื้อหาหลักว่า รัฐบาลต้องต้องเปิดการเจรจาโดยด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนชาวบ้านซึ่งเป็น ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการของรัฐแต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยต่อการแก้ไขปัญหา กิจกรรม วันที่ 22 พ.ค.55 สมัชชาคนจนได้เดินทางเพื่อยื่นหนังสือถึงกระทรวงต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนประกอบไปด้วยหลายกรณีปัญหาและ เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายกระทรวงทบวงกรม นับเป็น ๓ วันแล้วที่สมัชชาคนจนเดินทางมาชุมนุมที่หน้าทำเนียบดังนั้น จึงขอให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีการกำหนดวันนัดหมายในการ เจรจาพร้อมกับประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมเจรจาพร้อมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องรายละเอียดตามเอกสารที่แนบมาด้วย
  1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมกรมชลประทาน
  2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติพร้อมกับกรมอุทยาน
  3. กระทรวงมหาดไทยพร้อมกับ กรมการปรกครอง กรมที่ดิน
  4. กระทรวงการคลัง พร้อมกับกรมธนารักษ์
  5. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  6. กระทรวงแรงงาน พร้อมกับกรมสวัสดิการแรงงาน
  7. กระทรวงศึกษาธิการ
  8. กระทรวง พลังงาน
นายพุฒ บุญเต็ม ตัวแทนเครือข่ายเขื่อน กล่าวว่า ชาวบ้านไม่มีความต้องการเดินทางมายังทำเทียบรัฐบาลแต่สถานการณ์บีบบังคับ เพราะเรามานานแล้ว เพราะการเดินทางลงชุมนุมแต่ครั้งชาวบ้านต้องสิ้นเปลื้องงบประมาณส่วนตัว ครั้งมากพอสมควร  เช่นกรณีชาวบ้านราษีไศล ต้องขอรับบริจาคเงินจากสมาชิกเครือข่ายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครั้งนี้ จำนวน 100,000 บาท ซึ่งเป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับการแก้ไขและเยียว ยาจากรัฐบาลอย่างจริงจังและจริงใจ พวกเราจะชุมนุมรอจนกว่ารัฐบาลจะเปิดการเจรจากับสมัชชาคนจน เราถอยกลับไม่ได้แล้ว ปัญหาคนจนต้องได้รับการแก้ไขและเยียวยา

22 พฤษภาคม 2555 ทีมข่าวกลุ่มสื่อเสียงคนอีสาน จ.ศรีสะเกษ

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม