ร่วมกับคนทั่วโลกและผู้ประสบภัย เรียกร้องไม่ให้มีการใช้ทุ่นระเบิดอีกต่อไป

1683 11 Jul 2012

Join people around the world and land mine victims

calling for a final stop to landmines

ร่วมกับคนทั่วโลกและผู้ประสบภัยเรียกร้องไม่ให้มีการใช้ทุ่นระเบิดอีกต่อไป !

กรุงเทพฯ, 4 เมษายน 2555: วันนี้เป็นวันรณรงค์ทุ่นระเบิดสากล ผู้คนจากมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกจะม้วนขากางเกงและยืนเคียงข้างกับผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดและ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบพากันเรียกร้องให้หยุดความโหดร้ายที่เกิดขึ้นจากทุ่น ระเบิด นักรณรงค์จากทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยจะมีส่วนร่วมกับ “Lend Your Leg ขอยืมขาคุณหน่อย” กิจกรรมที่ร่วมกันทั่วโลกมาตั้งแต่เดือนที่แล้ว เพื่อเรียกร้องให้สิ้นสุดความหายนะที่เกิดขึ้นจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล อัคเซล สตีน-นิลเซน ผู้จัดการโครงการประเทศไทย องค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์กล่าวว่า “เพียงแค่การม้วนขากางเกงขึ้น คือการที่พวกเราทุกคนช่วยกันเตือนโลกของเราว่าทุ่นระเบิดยังคงทำให้เกิด อันตรายอย่างมหาศาลและยังคงทำลายล้างชีวิตผู้คน ในประเทศไทยนี้ เราต้องการให้ทุ่นระเบิดได้รับการกวาดล้างให้หมดภายในปี 2561 ตามกำหนดเวลา ตามพันธกรณีมาตรา 5 ของอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิด” จากการสำรวจผลกระทบจากระเบิดขั้นที่ 1 โดยองค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ให้ห้วงปี 2543 ถึง 2544 ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 2,557 ตารางกิโลเมตรที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิด หลังจากปฏิบัติการกวาดล้างมาได้ 10 ปี โดยหน่วยงานหลักคือศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติและองค์กรพัฒนาเอกชน ปัจจุบันมีพื้นที่ที่ต้องสงสัยและที่ยืนยันว่ามีทุ่นระเบิดราว 528 ตารางกิโลเมตรที่ยังเหลืออยู่ให้จัดการ นอกจากหน่วยปฏิบัติการทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมทั้ง 4 หน่วยแล้ว ปัจจุบันมีองค์กรเอกชน 4 องค์กร (NPA, TDA, Apopo และ PRO) ที่ดำเนินการด้วยเทคนิคแลนด์ รีลีซ “เราเชื่อว่าด้วยกรรมวิธีแบบแลนด์ รีลีซนี้ จะทำให้การปฏิบัติการกวาดล้างทุ่นระเบิดในประเทศไทยรวดเร็วขึ้น และถ้ายิ่งประกอบด้วยคำมั่นจากระดับนโยบายแล้ว ประเทศไทยจะสามารถทำให้สำเร็จภายในกำหนดเวลา” อัคเซลกล่าวเพิ่มเติม “การเพิ่มความตระหนักด้านปฏิบัติการทุ่นระเบิดและให้ความช่วยเหลือผู้ ประสบภัยมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ประเทศไทยมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากใน 13 ปีที่ผ่านมา คุณภาพชีวิตของผู้รอดชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่เพื่อนของผมบางคนก็ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความพยายามต่างๆ จะดำเนินต่อไป และผู้ประสบภัยที่อยู่ในพื้นที่ จะได้รับประโยชน์ต่างๆ มากยิ่งขึ้น ในอนาคตผมอยากจะเห็นประเทศไทยไม่มีผู้ประสบภัยรายใหม่อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นคนหรือช้าง” ชูศักดิ์ แซ่ลี้ ผู้นำกลุ่มผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิดในอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรีกล่าว ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีผู้ประสบภัยรายใหม่ 20-30 คนต่อปี ตัวเลขนี้ลดลงจากประมาณการที่ 50 – 100 คนต่อปีในปี 2546 จำนวนของผู้ประสบภัยมีอย่างน้อย 3,468 คน (เสียชีวิต 1497 บาดเจ็บ 1971) วันที่ 1 มีนาคม เป็นวันครบรอบปีที่ 13 ที่อนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดกลายเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดจากทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยร่วมกับเลขาธิการสห ประชาชาติ บัน คี-มูน เริ่มต้นแคมเปญ Lend Your Leg ตั้งแต่บัดนั้น นักกิจกรรมรณรงค์ เจ้าหน้าองค์การสหประชาชาติ นักการเมือง บุคคลที่มีชื่อเสียง ผู้สื่อข่าว และบุคคลทั่วไปจากทุกหนทุกแห่งต่างพากันรณรงค์กิจกรรม Lend Your Leg นี้ เพื่อที่จะแสดงเสียงต่อต้านอาวุธที่ทำร้ายผู้คนไม่เลือกหน้า “Lend Your Leg ขอยืมขาคุณหน่อย เป็นกิจกรรมที่คนทั่วโลกพากันรณรงค์ร่วมกัน ไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น เราให้ยืมขาของเราเป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเราสนับสนุนผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด เราไม่ต้องการให้มีการใช้ทุ่นระเบิดอีกต่อไป เราไม่ต้องการให้มีใครตายหรือบาดเจ็บจากทุ่นระเบิดอีก มีความเสียหายเกิดขึ้นมากเกินไปแล้ว ขอเชิญชวนให้เข้าไปดูที่หน้าเฟซบุ้คของเรา จะได้เห็นคนไทยจากทั่วประเทศหรือแม้แต่ที่อยู่ต่างประเทศ รวมทั้งคนต่างชาติในประเทศไทยแสดงความต้องการที่จะให้ประเทศไทยมีสันติภาพ แต่ไม่มีทุ่นระเบิด” เสริมสิริ อิงคะวณิช ผู้ประสานงานโครงการต่อต้านทุ่นระเบิดและระเบิดพวงจากองค์การเยสุ อิตสงเคราะห์ผู้ลี้ภัยกล่าว ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2540 พันธกรณีของอนุสัญญาคือ จะต้องทำลายทุ่นระเบิดในคลัง, ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากทุ่นระเบิด และเก็บกู้ทุ่นระเบิดให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี ในปี 2551 ประเทศไทยได้ขอขยายเวลาเก็บกู้ทุ่นระเบิดจากที่ประชุมรัฐภาคีออกไปอีก 10 ปี ไทยจะต้องเก็บกู้ให้หมดภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2561   Lend Your Leg ขอยืมขาคุณหน่อย ในประเทศไทยและทั่วโลก   บุคคลที่จะร่วมให้ยืมขาในวันนี้เช่น รัฐมนตรีและผู้บริหารประเทศจากแอลบาเนีย ชิลี เดนมาร์ก เอล ซัลวาดอร์ นอร์เวย์ และโคลอมเบีย รวมทั้ง นักกีฬาชื่อดังและนักดนตรีชื่อดังจากนอร์เวย์ เป็น ต้น ในประเทศไทย เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ เอกอัครทูตออสเตรเลีย เอกอัครราชทูตเบลเยี่ยม ประจำประเทศไทย ผู้อำนวยการและผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ สมาชิกเครือข่ายประเทศไทยเพื่อการลดอาวุธด้านมนุษยธรรมและภาคี เจ้าหน้าที่เก็บกู้ทุ่นระเบิด ผู้ประสบภัย นักเรียน นักศึกษา ผู้พลัดถิ่น และอื่นๆ อีกมากมาย ต่างร่วมกันให้ยืมขาแล้ว Lend Your Leg ขอยืมขาคุณหน่อย ปี 2012 ในระดับนานาชาติเป็นแคมเปญที่มีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการโดย องค์การสากลรณรงค์เพื่อยุติกับระเบิดนานาชาติ และองค์การสหประชาชาติ โดยได้รับความสนับสนุนจากขบวนการกากบาทและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ (Red Cross/Red Crescent Movement) จบ   ติดต่อ ศุษิรา ชนเห็นชอบ (อ้น) Programme and Advocacy Officer, Norwegian People’s Aid Thailand Email: shushirac@npaid.org Cell: 081 912 5255 เสริมสิริ อิงคะวณิช (ชมพู่) Ban Landmines and Cluster Munitions Campaign Coordinator of Jesuit Refugee Service Email: sermsiri@jrs.or.th Cell: 084 461 8901 Note to editors VIDEO:To see / embed the Lend Your Leg video featuring Ban Ki-moon please visit the ICBL on YouTube www.youtube.com/icblnetwork IMAGES: For high resolution images of the ICBL’s work all over the world visit us on Flickr: www.flickr.com/minefreeworld. Please credit images as shown. GLOBAL COMMUNITY: ICBL Facebook: www.facebook.com/minefreeworld ICBL Twitter www.twitter.com/minefreeworld LEND YOUR LEG: to join the global campaign, or to find out more information, please visit the website: www.lendyourleg.org LEND YOUR LEG THAILAND facebook page: visit http://www.facebook.com/pages/Lend-Your-Leg-Thailand/244273068995795 LANDMINE FACTS: For more facts and stats on the global landmine problem, and to view a detailed breakdown of the situation in each country, please visit the Landmine Monitor: www.the-monitor.org About the Thailand Network for Humanitarian Disarmament (TNHD) and partners Thailand Network for Thailand network for Humanitarian Disarmament (TNHD) is a network of civil society in Thailand working on disarmament, which is motivated by humanitarian and development considerations. The focus including ban landmines, cluster munitions and armed violence. It focuses on policy and advocacy. TNHD currently has four founding members. Four organizations are in the process of becoming a member. TNHD also works with partners in the country and works hand in hand with global networks i.e. International Campaign to Ban Landmines and Cluster Munitions Coalition. About the Mine Ban Treaty Adopted in 1997, the Mine Ban Treaty entered into force on 1 March 1999. The treaty comprehensively bans all antipersonnel mines, requires destruction of stockpiled mines within four years, requires destruction of mines already in the ground within 10 years, and urges extensive programs to assist the victims of landmines. For more information please visit www.icbl.org/Treaty สัมภาษณ์เพิ่มเติม ภาษาอังกฤษ English speakers: Aksel Steen-Nilsen, Programme Manager, Norwegian People’s Aid Thailand, for mine clearance and land release Andrew Sully, Programme Manager, Apopo Thailand, for mine clearance and land release ภาษาไทย ศุษิรา ชนเห็นชอบ องค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ สำหรับเรื่องการกวาดล้างและการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เสริมสิริ อิงคะวณิช เจอาร์เอส เรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ศิวะ บุญเลิศ โคเออร์ เรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย การให้ความรู้เรื่องการลดความเสี่ยงภัย ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ชูศักดิ์ แซ่ลี้ ผู้รอดชีวิตจากจังหวัดจันทบุรี ฯลฯ

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม