หนังสือสองเราไม่เท่าเทียม โดย สุชีลา ตันชัยนันท์

1090 17 Jan 2012

ผู้เขียนได้สรุปเนื้อหาประเด็นสตรีที่น่าห่วงใยเป็นพิเศษ 4 กลุ่มเรื่อง และเรื่องที่ 5 เป็น เรื่องการเสริมพลังอำนาจในตัวเองของผู้หญิง ประเด็นแรกที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงคือเรื่อง เซ็กส์กับผู้หญิง ซึ่งสะท้อนผ่านปัญหาทวิมาตรฐานในเรื่องเพศ คือ มารดานอกสมรสและการทำแท้ง หรือเรื่อง “ท้อง-แท้ง” ในภาษาชาวบ้านนั่นเอง ประเด็นที่ 2 ผู้ เขียนเน้นเรื่อง ความรุนแรงต่อผู้หญิง ซึ่งการแก้ไขกฏหมายเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้ช่วยลดปัญหาความลดแรงต่อผู้หญิง ได้ ทั้งนี้คงต้องเริ่มปรับเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อ ค่านิยมดั้งเดิมที่แฝงด้วยความอคติต่อผู้หญิงด้วย ประเด็นที่ 3 เพศ ภาวะกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง การศึกษาหลายชิ้นพบว่า แม้ผู้หญิงจะมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ภาระงานกลับหนักขึ้นกว่าเดิม นั่นคือ ผู้หญิงต้องรับภาระทั้งงานบ้านและงานนอกบ้าน สำหรับครัวเรือนที่ล้มเหลวในการปรับตัวได้นำไปสู่ความรุนแรงทางตรงต่อ ผู้หญิง นั่นคือการใช้ความรุนแรงควบคุมแรงงาน ร่างกาย และเพศของผู้หญิงเปลี่ยนไปจากเดิม ประเด็นที่ 4 รัฐ กับผู้หญิง ผู้เขียนสะท้อนว่า นโยบายและการดำเนินงานของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน คือ การมองไม่เห็นความสำคัญของเรื่องเพศภาวะ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า gender-blind หรือความไม่เสมอภาคทางเพศนั่นเอง ประเด็นสุดท้ายคือ เหตุมดจึงต้องมี “สตรีศึกษา” และ “สตรีศึกษา” จะเสริมพลังอำนาจแก่ผู้หญิงอย่างไร และอาจมีคนถามว่า ทำไมไม่มี “บุรุษศึกษา” บ้าง ผู้เขียนได้สรุปให้ชัดเจนในส่วนนี้ ท้ายสุดเมื่ออ่านจบครบ ทั้งเล่มแล้ว ผู้เขียนหวังไว้ว่า “สองเราไม่เท่าเทียม” ปรารถนาให้สังคมคืนความเป็นมนุษย์ให้แก่ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย นั่นเอง หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป ราคา 150 บาท สั่งซื้อจำนวนมาก โทร 085 488 0487

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม