วิธีคิด และ วิธีการ

16 21 Feb 2025

 

 

อาทิตย์ที่ผ่านมา ลูกค้าประจำของ DeSimone ที่เมืองทองธานี ข้อความมาถามหลายคน ว่า รอบนี้มาขายอีกไหม ซึ่งตอนโอท็อปศิลปาชีพ (สิงหาคม) ผมได้บอกเขาไว้ว่า จะมา เพราะตามสิทธิ ผลิตภัณฑ์ใดที่ผ่านการคัดสรร ดาว ขึ้นไปจะได้ มาขายที่เมืองทองธานี แต่ในทางปฏิบัติที่เป็นจริง คือ จะถูกเลือก จากทีม พช.จังหวัด อีกชั้นหนึ่ง ดังนั้น จะได้มาหรือไม่ได้ จึงต้องลุ้นเอา ตอนใกล้งาน !!

 

งานเมืองทองธานี ไม่ใช่ ดินแดนในฝันของเหล่าบรรดาผลิตภัณฑ์ชุมชน เหมือนแต่ก่อน ในยุคแรกๆ ราวๆ 20 ปี ก่อน พฤติกรรมการบริโภคเองก็เปลี่ยนไปไม่น้อย กลุ่มคนที่เดินจะเหลือแค่คนแก่ ที่ยังชมชอบขนม ผลไม้แปรรูป สมุนไพร ของหัตถกรรมฝีมือและผ้าทอ เครื่องประดับ

 

ที่กำลังกลายเป็นสินค้า พื้นบ้านที่สถานะต่ำต้อย หรือเป็นทางเลือก ซึ่งบทบาทของพัฒนาชุมชน ที่ผลักดันโอท็อป ผมเคยพูดมาตั้งแต่ เริ่มเยื้องย่างเข้าเมืองทอง คือ การทำให้สินค้า มีฐานะ ของความเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ล้ำค่า และเป็น Hand made ที่ ปรานีต หายาก ต้องทำให้พื้นที่เมืองทองธานีคือ แหล่งรวมที่สำคัญ ทำให้คนไทย หรือ ผู้บริโภคต้อง ต้องตารอ เพื่อมาซื้อสินค้าที่ กับผู้ผลิต โดยตรง ดังนั้น การโฆษณา การสร้างกระแสคุณค่าจึงจำเป็นต้องทำให้เกิด ไม่ใช่ ถึงเวลาก็จัดสถานที่พอเสร็จ ๆ แล้วก็ทิ้งให้ ผู้ประกอบการนั่งเหม่อมอง รอคอยลูกค้า หรือคนมาเดิน แบบนั่งหรี่ริบ

 

การทำสินค้า การก่อเกิดความหวัง ความฝัน ทำให้มุ่งมั่นพัฒนา ตัวสินค้า รวมถึง วิ่งตาม ร่วมกิจกรรมกับจังหวัด กับหน่วยงาน เพื่อว่าเราจะประสบความสำเร็จ สมหวังทางการตลาด ซึ่งกลับตรงกันข้าม เจ้าหน้าที่สนใจแต่ยอดขายแต่ละวัน และ/หรือ แต่งเติม ทอดทิ้งความจริง ความล้มเหลว ที่ควรจะต้องสอบถาม แก้ไข ตั้งโจทย์ ว่าจะทำอย่างให้ ผู้คนแห่แหนมาเที่ยว มาจับจ่ายซื้อของ ทำให้ผู้ประกอบการขายได้คุ้มทุน !!

 

พช. หรือ โอท็อป เปรียบเหมือน กระทรวงพาณิชย์ของคนชาวบ้าน หรือ ผู้ประกอบการบ้านๆ จนๆ แน่นอน เรื่อง การพัฒนาคุณภาพสินค้า ต้องทำ แต่ก็ต้องทำควบคู่ไปถึง การพัฒนา ช่องทางซื้อขาย หรือตลาด การพัฒนาหรือ ปรับรูปแบบ การจัดงาน วิธีการโฆษณา การเลือกพื้นที่ การเน้นภาพสินคา แต่ละรอบ แต่ละช่วง ซึ่งที่ผ่าน กลับอยู่กับรูปแบบเดิมๆ และ หมกมุ่นไปกับการ เน้นย้ำพิธีกรรมเทิดทูนสถาบัน กับ ผลิตภัณฑ์ อภิสิทธิ์ อาทิ ผ้าไหม ฯลฯ ทำให้ผู้ประกอบการ ที่อุตส่าห์ ขนสินค้า ไปจำหน่าย เป็นเหมือน ผลิตภัณฑ์ชายขอบ ยิ่งเป็นกลุ่มสุรา ต่างๆ ยิ่ง ถูกจำกัด กีดกัน และจัดวางตำแหน่ง เหมือนซุกซ่อนปกปิด!!

 

สุดท้ายสิ่งที่ค้นพบ คือ แม้แต่สินค้า จากประชาชน เหมือนกัน จากชาวบ้านคล้ายกัน ก็มีสถานะ ไม่เท่าเทียม ยิ่งจังหวัดสุรินทร์ ยิ่งหนักหนาสาหัส คือถ้าคุณ ไม่ได้ เลี้ยงช้าง ทำงาช้าง ทอผ้าไหม สินค้านั้นๆ จะไม่ถูกใส่ใจ ถามถึง ไม่มีงบประมาณใดๆ สนับสนุน และไม่มีพื้นที่ตลาด ให้จำหน่าย !!

 

ต่อให้คุณเสียภาษีสารพัด จนเหือดแห้งตาย ก็ไม่ถูกสนใจให้ความสำคัญ ผมไม่ได้ ส่งสินค้าคัดสรรอีกแล้ว เพื่อประท้วง เล็กๆ ตามวิถีทาง ผู้ประกอบการบ้านๆที่ทำ สินค้าไร้สถานะ การเกาะเกี่ยวทางชนชั้น มันอาจจะไม่ทำให้เกิดการส่งเสียงถึงเบื้องบน อย่างน้อย ผมก็ได้ทำในฐานะคนไทย และผู้เสียภาษี เพื่อให้การบริหารโอกาสและความหวังของฝ่ายราชการ และการเมือง ในนามรัฐบาล ฟังเสียงประชาชนบ้าง ปรับแก้วิธีคิด วิธีการ เพื่อให้เสียงสะท้อนนี้ ถูกสนใจ ถูกนำไปพิจารณา แก้ไข สรรค์สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจรากหญ้า ให้มากกว่านี้

 

 

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม