510 31 Oct 2024
เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูเพื่อมาตรฐานความยั่งยืน (Regenerative Agriculture for Sustainability Standards)
ประโยชน์ของหลักสูตร
พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้แก่ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนและผู้ประกอบการในการรับรองมาตรฐานการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืน
ลดต้นทุนการผลิต และสร้างผลกระทบเชิงบวกด้านสิ่งแวดล้อม
ลดความเสี่ยงในการผลิตและการตลาด
เพิ่มโอกาสทางการตลาด และการเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน
สนับสนุนการลดและการกักเก็บก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากร
เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์โดยสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ยั่งยืน ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล
วันที่จัดการอบรม:
23 - 24 พฤศจิกายน 2567
7 - 8 ธันวาคม 2567
14 ธันวาคม 2567
วันแรก: การแนะนำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูและมาตรฐานความยั่งยืน
แนะนำหลักการเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู โอกาสและวิธีการเพิ่มความยั่งยืนและประสิทธิภาพในการปลูกอ้อย
อธิบายมาตรฐานความยั่งยืนสำหรับอ้อย และข้อกำหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานเหล่านี้
การประเมินสถานะปัจจุบันของการผลิตอ้อย ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม
การอภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช เช่น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการใช้สารเคมี
วันที่สอง: ฟื้นฟูสุขภาพดินและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
เรียนรู้ความสำคัญของการดูแลดิน โดยเน้นการเพิ่มอินทรียวัตถุและการกักเก็บคาร์บอนในดิน
แนวทางการปฏิบัติที่ช่วยฟื้นฟูดิน เช่น การหมุนเวียนพืช การปลูกพืชคลุมดิน และการลดการใช้สารเคมี
เทคนิคการจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพสำหรับอ้อยและข้าว เช่น การชลประทานอย่างยั่งยืน การใช้น้ำอย่างประหยัด และการป้องกันการปนเปื้อน
ฝึกปฏิบัติการใช้เทคนิคการอนุรักษ์น้ำและปรับปรุงคุณภาพน้ำในแปลงปลูก
วันที่สาม: ลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในการผลิตอ้อย
วิเคราะห์แหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกลยุทธ์การลดการปล่อยคาร์บอน
เทคนิคการดูดซับคาร์บอนเข้าสู่ดิน เช่น การลดการไถพรวน และการปลูกพืชที่ช่วยกักเก็บคาร์บอน
การส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงอ้อย เพื่อสร้างระบบนิเวศที่แข็งแรงและสมดุล
กรณีศึกษาเกี่ยวกับการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
วันที่สี่: การแปรรูปของเสียสู่พลังงานที่ยั่งยืน
แนวทางการใช้ของเสียจากอ้อย เช่น ใบและ ชานอ้อย เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซชีวภาพ Biochar
สำรวจเทคนิคการผลิตพลังงานยั่งยืน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการแปรรูปของเสีย
การใช้ประโยชน์จากของเสียทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดปริมาณขยะ
การศึกษาตัวอย่างจริงจากฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีการแปรรูปของเสียเป็นพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
วันที่ห้า: การประเมินความยั่งยืน การ Claim Carbon Reduction and Removal และการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืนสำหรับอ้อย
แนะนำเครื่องมือคำนวณความยั่งยืน เพื่อวัดการปล่อยคาร์บอน การใช้น้ำ และการจัดการพลังงานในแปลงปลูก
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือเพื่อประเมินผลลัพธ์และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานที่ยั่งยืน
แนวทางการ Claim การลดและกำจัดคาร์บอน โดยมีการจัดทำข้อมูลเพื่อการรับรอง
ขั้นตอนการรับรองมาตรฐาน สำหรับอ้อย รวมถึงการเตรียมพร้อมเพื่อให้ได้การรับรอง
กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ยั่งยืน โดยใช้ผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับผลิตภัณฑ์
การวางแผนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรักษามาตรฐานความยั่งยืนในระยะยาว
ลงทะเบียน https://docs.google.com/forms/d/1py_06eNtcV4sQwT-AhR_8lPJtXxiXW1Hl6mpn2ISbrg/edit
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม