โครงการแก้จน

105 21 Aug 2024

 

 

ระยะนี้จะเห็นว่า ผมได้เข้าไปเกี่ยวข้องนิดๆ กับโครงการหนึ่ง ที่สนใจเพราะเป็นงานที่มีวิธีการทำงานหลายอย่างคล้ายงาน NGOs อาชีพอันยาวนานของผมอาชีพหนึ่ง คล้ายในเชิงรูปแบบการทำงานกับชาวบ้าน แบบเกาะติด ชวนทำ ติดตาม และ ขยายผล  ทำงานมีเชิงลึก ต่างจากวิธีการแบบราชการทำงานทั่วไป ซึ่ง 20 หรือ 30 ปี ก็ยังเดิมๆ เปลี่ยนแปลงอะไรได้น้อย

 

คะแนนคนทำงานชุมชนครึ่งหนึ่งเลยสำหรับผมคือ การเกาะติดฝังตัว สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งหัวใจสำคัญวิธีการนี้ คือการทำให้เขาเองเรียนรู้วิธีคิดในการแก้ไขปัญหา อาทิ อะไรที่ทำให้ครัวเรือนเกษตรกร หรือคนชนบท มีภาวะยากจน คำตอบแรกเลยคือ รายจ่าย มากกว่ารายรับ หนึ่งในรายการจ่ายที่จำเป็นคือ ค่าอาหารแต่ละวัน แต่ละมื้อ เพราะปัจจุบันข้าวของ ค่าครองชีพคนชนบทเอง ก็สูงมาก อันที่สอง คือ รายได้ไม่พอรายจ่าย ทางออกคือ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ เพิ่มจากวิธีเดิมคงยาก เพราะที่ดินเท่าเดิม ทำแบบเดิม และราคาผันผวน ทรงๆทรุดๆ เหมือนเดิม ก็ต้องมาคิดว่า หารายได้อย่างไร กับ ลดรายจ่ายอย่างไร ก็มีทางออกเดียวคือ สร้างความมั่นคงอาหาร

 

หัวข้อโครงการนี้ ผมสนใจเพราะ ผมติดตาม ปัญหาความยากจนของชาวบ้าน มานาน และคิดทางหาวิธีทางออกมาตลอด โครงการที่ผมคิดสมัยนั้น คือ “โครงการไร่นาป่าสวน” นั่นมาจาก การเข้าใจว่า สภาพที่ดินแบบที่ราบลูกฟูกของโซนบ้านเรา คือ มีเนิน  มีแอ่ง เป็นราบเชิงเขา ลักษณะเป็นดินทราย มีการกัดเซาะสูง  ไม่ได้ราบเรียบเป็นทุ่ง เหมือนโซนที่ราบลุ่ม ตรงเนินแล้ง ปลูกอะไรก็ไม่งาม ส่วนที่ต่ำ ก็น้ำขังรากเน่า ใส่ปุ๋ยก็ชะไว หรือ ซึมผ่านง่าย เพราะเป็นดินทราย ทำให้ต้นทุนสูง แต่ได้ผลผลิตต่ำ !!

 

ความยากจนจึงมีมิติซับซ้อนมาก ที่ผมติดตามคือ แนวคิดของโครงการนี้ เข้าใจปัญหาความยากจนแค่ไหน และวิธีคิดวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอเป็นทาง มีการออกแบบได้เฉียบลึกตอบโจทย์ปัญหาได้ตรงจุด มากน้อยอย่างไร

 

ผมได้สนทนากับเจ้าหน้าที่ พอได้ทราบงานนิดๆหน่อยๆ ใจจริง แอบเชียร์ และชอบมากที่เห็นรัฐมีโครงการแบบนี้ ลงมาทำงาน และผมก็แอบบอกน้องไปว่า งานนี้โครงการแก้จน ฉะนั้นเล่นๆ แบบนักเศรษฐศาสตร์ ว่า ค่าใช้จ่าย คุณกับคณะ ลงมาทำกิจกรรมกับชาวบ้าน คล้ายๆ สร้างอาชีพ อาทิ ปลูกผัก เพาะกล้าไม้ ทำผ้าลายธรามชาติ ฯลฯ ซึ่งดูเป็นกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ ต้องคิดมุมกลับแบบรักเศรษฐศาสตร์ด้วย ค่ารถ ค่าตอบแทน เบี้ยเลี้ยง ค่าอาหารและอื่นๆ ที่จ่ายไป แต่ละกิจกรรมเป็นเงินเท่าไหร่ พูดง่ายๆคือ ค่ใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม สูงมากกว่า ยอดรายได้จากผักที่ร่วมกันปลูก ผมถือว่า เป็นโครงการที่ขาดทุน หรือ ต้นทุนสูงเกินไป จึงไม่คุ้มทุน อีกทั้ง  ได้ผลลัพธ์ยั่งยืนจริงๆไหม ?  ก็ยังตอบไม่ได้ !!

 

ผมไม่ได้ห้าม สำหรับโครงการดีๆ แบบนี้ แต่ต้องคิดโจทย์ อันซับซ้อน เกี่ยวกับปัญหาความยากจนนี้ให้แตก อาทิ จนเพราะ ขาดโอกาส เข้าไม่ถึงแหล่งทุน ในทุกๆ พื้นที่ หมู่บ้าน มีคนจำพวกคิดต่าง หรือ เก่ง มีฝีมือ แต่ขาดโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน หรือ ตลาด หรือ สอง ขาดการพัฒนาศักยภาพให้ต่อเนื่อง เพราะรัฐมักสนใจแต่ภาพการรวมกลุ่ม ทั้งๆ ที่ ทุกคนที่ทำงานจริงๆ ต่างก็รู้ว่า การรวมกลุ่มบางครั้งไม่ได้ทำให้ศักยภาพสูงขึ้น แต่กลับดึง หรือ รั้งกันเองให้ช้า ด้วยกระบวนการ ร่วมกันมากเกินไป การจัดการจึงไร้ประสิทธิภาพ มัวแต่ถาม มัวแต่ขี้แจง รอมติที่ประขุม  ทำให้ทำมาหากินไม่ทันเพื่อน แต่รูปแบบผู้ประกอบการรายเดียว หรือ เฉพาะคนสนิทที่สนใจ ข้อดีคือสามารถตัดสินใจได้เร็ว ทันกระแส ทันตลาด จึงก้าวได้ดีกว่าแบบวิสาหกิจ หรือแบบกลุ่ม

 

ความยากจน เรื้อรัง ต้องปูฐานวางรากระยะยาว ต้องสร้างทักษะใหม่ๆ หรือ สกิลการสร้างอาชีพใหม่ๆ ต้องมีทุนพร้อมซับพอร์ต แบบให้โอกาส ( ไม่แนะนำเรื่องให้ฟรี แต่ให้เน้นปลอดดอก หรือดอกต่ำ อย่างน้อยในระยะแรก เพื่อให้ กลุ่มหรือ ผู้ประกอบการ มีความรับผิดชอบ) และสร้าวทัศนะคติ ปัญหาที่แก้ยากที่สุดในวิถีชีวิตคนชนบทคือ การคิดอะไรแคบๆ ทำอะไรซ้ำๆ และไม่ชอบความท้าทายทความเปลี่ยนแปลง ผมมักพูดเสมอว่า ใช้สิธีการเดิมๆ ทำงาน มันคาดหวังผลลัพธ์ ใหม่ๆ ไม่ได้ ความรวย หรือ ความหลุดพ้น ความยากจน จะให้เกิดขึ้นได้ เราต้องเปลี่ยนวิธีการ

 

อาทิ กิจกรรมการค้นคว้าพัฒนา พันธุ์ต้นตะเปียงจู จากในป่า รสชาติแย่ มาเป็นตะเปียงจู กินสด หรือ เหมาะสำหรับทำไวน์ เหมือนองุ่นบางพันธุ์ของฝรั่ง การคิดแบบนี้ ที่ผมชื่นชม คือ การสร้างทางเลือกใหม่ๆ จากพืชท้องถิ่น หมายถึง ทนสภาพแวดล้อม ทนโรค ทนแล้ง ทนสู้ ในพื้นที่ได้ดี เราพัฒนาสายพันธุ์ เราจดสิทธิบัตร ขายเมล็ด ขายกล้าได้ เราสร้างนวตกรรม ไวน์จากพืชตระกูลใหม่ ทำให้ทำตลาด ได้กว้าง และไวน์ คนรู้ทั้งโลก !!

 

ถ้าสินค้ามีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่น มีรสชาติ หรือมีคุณภาพ ถูกยอมรับ ก็มี ตลาด เมื่อมีตลาด การผลิตก็ขยับขยาย สร้างงานสร้างรายได้ในท้องถิ่น สร้างชื่อเสียง สร้างโอกาสเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดูงาน คนมามากๆ ของกินของใช้ของฝาก ก็ต้องการมาก คนมามากๆ ที่หลับที่นอนที่กินที่พัก ก็ต้องมาก โรงแรม รีสอร์ต ห้องเช่า ผุดขึ้นมา มากมาย  กระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ขยายตัว คนมีงานทำ มั่นคง ก็ใช้จ่ายเต็มที่ เกษตรกรขายผลผลิตได้ ผักปลาผลไม้ หมูเห็ดเป็ดไก่ ขายได้ นี่คือการแก้ไขปัญหาความยากจน ที่ถูกต้อง ยั่งยืนและควรทำ

 

ในความเป็นจริง คือ ใบประกาศสี่ดาว โอท็อป ของกรมพัฒนาชุมชน  ที่ใบเบิกว่าคุณจะมีสิทธิ์ไปขายที่เมืองทองธานี ซึ่งมีปีละ 2 ครั้ง สิงหาคมกับธันวาคม สรุปแล้ว เมื่อวานพึ่งได้คำตอบว่า DeSimone ไม่ได้ไป ปีนี้ถูกตัดสิทธิ์ ไม่แปลกที่ผม บอกว่า กับน้องเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนว่า ใบประกาศสี่ดาวเอาไปทำอะไรได้บ้าง ? และมากกว่านั้น แผนการต่างๆ ที่อยากจะให้ชาวบ้านลืมตาอ้าปากได้ ไม่มีความจริงในแผน อย่างน้อยๆ ก็จังหวัดสุรินทร์  ที่กีดกันเราทุกทาง...

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม