R&D (Research and Development)

528 26 Jun 2024

 

 

ขออนุญาตกระแดะภาษาอังกฤษสักคำ นะครับ R & D หรือ งานวิจัยและพัฒนา คือกระบวนการหาความรู้ หาคำตอบและลงมือทำงาน ตามคำตอบนั้นๆ  เพื่อเล็งผลในเชิงปฏิบัติ ปรับปรุงพัฒนา จน จะกว่าจะบรรลุผล อันนี้คำอธิบายคร่าวๆ เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ

ผมมองเห็นศักยภาพของผลไม้พื้นบ้าน จากความเชื่อของตัวเอง และมาจากความหวงแหน อยากรักษาไว้ รวมถึงอยากให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ คนจะได้สนใจ จดจำ เพราะปัจจุบัน อะไรที่ไม่มีราคา ถูกกำจัด ตัดทิ้ง หรือทำลายทิ้งหมด จนโลกมนุษย์ใกล้จะกลายเป็นโลกเชิงเดี่ยวไปแล้ว ยางพาราก็ยางพาราทั้งเมือง คนเองก็เริ่ม เป็นมนุษย์เชิงเดี่ยว ที่ไม่ยอมปฏิสัมพันธ์กับใคร

 

อำนาจหรือ อิทธิพลของยุคสมัยแห่งทุนนิยม รุนแรงมาก หากไม่ตั้งมั่น เท่าทันรับมือ เราจะกลายเป็นเหยื่อมากกว่าจับต้องไขว่คว้าโอกาสนั้นได้ ทั้งโดนกำจัด โดนแยก ทำลาย กดทับ ทำให้สูญพันธุ์ หรือ เอาไปสร้างสิ่งใหม่ ใหม่แล้วใหม่อีก ใหม่แล้วใหม่อีก เพื่อเหตุผล เดียวคือ กำไร !!

 

ตะเปียงจู มีฐานะเป็นแค่วัชพืช ที่ยังดื้อรั้น อยู่รอด ไม่สูญพันธุ์หมดไปเสียที ทั้งๆ ที่ผจญ ยาฆ่ายามาสารพัด แต่ยังหลงเหลือติด ตกหล่นตามแนวรั้วที่ดิน ริมถนน  หรือ ตามหัวไร่ ปลายนา ผมเกิดและเติบโตกับการ ปอกเปลือกต้นตะเปียงจู กิน วิถีเด็กบ้านไร่บ้านป่าสมัยนั้น ไม่มีขนมกิน ไปเลี้ยงควาย ในช่วงหน้าร้อนก็จะไปตัด หรือ เด็ดยอดอ่อนตะเปียงจู มาลอก มาปอก จิ้มพริกเกลือกิน

 

พอมาเริ่มตั้งโจทย์ ทำไวน์ แปรรูปผลไม้พื้นเมือง อย่างแรกที่ผมคิดไว้แต่ต้นเลย คือ ตะเปียงจู เนื่องจาก ผมรู้สึกว่า มันมีความคล้ายองุ่น มาก  แต่ องุ่น ที่ปัจจุบันคนทั่วโลกนิยมนำมาทำ ไวน์ นั้น มีการับปรุง พัฒนา ค้นคว้า สะสมเป็นองค์ความรู้ สืบทอดกันมานับพันปี เขารู้ตั้งแต่ ตัวเมล็ดพันธุ์ ใด ให้รสให้ชาติอย่างไร การเพาะปลูกแบบไหน ที่ไหน เวลาไหนให้รสชาติ อย่างไร ไปจนถึง ว่า การหมัก การบ่ม อย่างไร ให้รสให้ชาติ อย่างไร หมักกี่วัน บ่มกี่ปี ดีที่สุด   แต่เรา ไม่มีองค์ความรู้ใดๆ เลย

 

ผมพยายามบอกหัวหน้าเกษตรอำเภอ มาหลายปี เรื่อง ลงมือวิจัย ศึกษาพันธุ์ตะเปียงจูได้แล้ว บอกอาจารย์หลายคน บอกผู้ปกครอง ผู้นำ นักการเมือง ตัวแทนพรรค บอกมาตลอด 6-7           ปี ที่ผ่านมา ว่าต้องการการวิจัย พัฒนาตะเปียงจู เพื่อทำไวน์

 

เมื่อวานซืน เหมือนโชคชะตาเดินเข้ามาหา อาจารย์ เมย์ ( ชนกเนตร ชัยวิชา)  อาจารย์สาขา ครุศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ที่สนใจ้นคว้าวิจัยเรื่องเมล็ดพันธุ์ ได้เข้ามาหารือ ว่าอยากหาความรู้เชิงวิจัย เรื่องการพัฒนา ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ตะเปียงจูเพื่อ ทำไวน์  โดยมี ลุงทำนอง เชื่อมกลาง ชาวบ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ ยกแปลงปลูกคัดพันธุ์  ส่วนผม ให้สัญญารับซื้อ (ผมตกลง)  แต่ผมคิดว่า ผมจะมีส่วนร่วมวิจัยเชิงลึกมากกว่านั้น นั่นคือ ผมจะเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติในส่วนการหมัก บ่ม  ดูรสชาติ

 

ความคิดความฝัน ผม ที่จะสร้างอาณาจักรไวน์ผลไม้พื้นเมือง สร้างชีวิตใหม่ ให้ชาวบ้าน สร้างฐานะให้พืชท้องถิ่น เริ่มชัดเจนขึ้นมาอีกก้าว ตอนนี้เรื่อง แปรรูปไม้ยางพารา เพื่อทำกล่อง ก็คืบหน้าไปมาก เรื่องแปรรูปเปลือกมะขามทำแทนนิน และแปรรูปไม้พะยอมทำถังบ่มไวน์ ก็คืบหน้าไปมาก แถมมีอาจารย์ เมย์ นักวิชาการรุ่นใหม่ไฟแรงมาร่วมแรงร่วมใจ ผมเห็นความหวังลางๆ ระเรื่อๆ  แล้วครับ...

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม