820 30 Nov 2023
ชาวบ้านที่อยู่ได้อย่างเข้มแข็งไม่ผันผวนปัญหาปากท้อง หรือ เศรษฐกิจในครัวเรือน ค่อนข้างดี หัวใจสำคัญ ไม่ใช่ การหารายได้เก่ง แต่คือการคุมรายจ่าย หรือ บริหารการใช้จ่ายได้ดี ค่อนไปทางเข้มงวด ต่างๆ นอกจากนั้น ยังรวมถึงการางแผน ต่างๆ ได้ดี อาทิ ปลูกพริก ผัก มะเขือ ไว้กินในฤดูแล้ง ( เพราะผักแพงมาก) หมายถึง มีแผนต่างๆ เพื่อลดรายจ่าย ซึ่งหมวดรายจ่ายที่หนักหนาสาหัส แทบทุกครัวเรือน คือ อาหาร และ ค่าเล่าเรียนลูก ทำไม ชาวนาถึง “ตาย” ทั้งเป็ฯ เพราะอาชีพทำนา เป็นอาชีพรายได้ ครั้งเดียว แต่ ชีวิตคนมีรายจ่ายทุกวัน และมีรายได้ทุกเดือน หลักๆ คือ ค่าน้ำค่าไฟ ค่ารถรับส่งนักเรียน ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ
ประเทศที่เจริญแล้ว อย่างยุโรป เขามีแผนลดเวลาทำงาน เพื่อให้คน มีเวลากับชีวิต หมายถึงหาความสุขมากขึ้น แต่ประเทศในโซนเอเชีย ทำงานหนักเพิ่มเท่าตัว คือ กลางคืนกรีดยางพารา กลางวันรับจ้างทั่วไป ถ้าทำ 2 กะ แบบนี้ เฉลี่ยรายได้ 500-700 บาท ถ้าหากทำ 2 คน ( ผัวเมีย ) ก็อาจจะมีกินมีใช้สบายๆ เพราะตกเฉลี่ย ต่ำๆ วันละ 1000 กว่าบาท ส่วนรายได้ ค่าอาหาร ถ้าครอบครัวมีสมาชิก 3-4 คน รายจ่ายค่าอาหาร วัน 300-400 บาท ลูกๆ ไปเรียนเฉลี่ย คนละ 40-60 บาท ต่อคน ฉะนั้น รายได้ในครอบครัวที่ 500 บาท ถือว่าตึง อยู่ยาก
ปัจจุบัน ช่องทางการดิ้นรน หางาน หารายได้ มีจำกัดมากใน ชนบทผลพวงจากาการบริหารประเทศที่ไร้ประสืทธิภาพ ทำให้เศรษฐกิจฝืดเคือง ต่อเนื่องมาหลายปี แถมฝนฟ้าแปลกประหลาด เป็นอุปสรรคทางธรรมชาติมากขึ้น ผลผลิตไม่ได้ผล ราคาผลผลิตตกต่ำ แต่ราคาปัจจัยการผลิต ปุ๋ย น้ำมัน ยาฆ่าแมลง เครื่องจักร และค่าแรง กลับแพงขึ้น ไม่มีผันผวนหรือตกลง
ผมเห็นใจคนงานโรงบ่มมาก พยายามแอบบอก กันตลอดว่าให้ บริหารดีๆ แต่ก็เข้าใจ ว่า ควบคุมค่าใช้จ่ายในครัวเรือนยากมาก เพราะนั่นก็สำคัญ นี่ก็ลูก ลูกที่ ปัจจุบันนี้ โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ไม่เข้าไร่เช้าสวนหรือ ช่วยงานพ่อแม่ หาเงินจุนเจือ เบาแรง ก็ยิ่งหนัก
ปากท้องคือรากฐานของความสุขของทุกคน ด้านหนึ่งก็เป็นหน้าที่ผู้บริหารบ้านเมือง ที่จะทำให้เศรษฐกิจฟูฟ่องในเชิงนโยบาย ต่างๆ ที่ทำให้คนมีแรงจูงใจ มีพลังดิ้นรน และได้มีความหวัง การควบคุมราคา การกีดกันสินค้า การคุ้มครองผลิตภัณฑ์ ผ่านภาษี ใบอนุญาต และการสนับสนุน ต่างๆ เพื่อให้คน คิด กล้า ที่จะสร้างหรือไขว่คว้าหาโอกาส ทำงาน สะสม เก็บออม หรือ บริโภคอย่างมีแผน กลาย เป็นความมั่งคั่ง โดยรวม แต่อีกด้าน ทุกคนก็ต้องพัฒนาตัวเอง หาวิธี หารูปแบบ ต่างๆ เป้าหมายก็เพื่อการอยู่รอด
การนั่งพินิจ ต้นทุนชีวิตในครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญมาก หารายรั่วของเงินทอง หาช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม รูรั่วที่ทุกคน ไม่ค่อยทบทวน คือ รายจ่ายประจำวัน ค่าอาหาร นี่แหละมากสุด กรณีผม ทุกเช้าผมจะตื่นมาคิดเลยว่า จะทำเมนูอะไร ต้นทุน เท่าไหร่ พริก หอม กระเทียม หมู น้ำปลา ฯลฯ กี่บาท เมนูไหน ใช้วัตถุดิบธรรมชาติบ้าง และ ถ้ามื้อเช้าหนัก ( หมายถึงเมนูแพง) เที่ยงก็จะเบา และเย็นก็จะน้อยๆ น้ำพริกนิดหน่อย
ในหนึ่งเดือนก็จะคิด ทบทวน ตัวเองและกันเงินรายได้ ไว้สำหรับรายจ่ายประจำ ที่สำคัญ ค่าน้ำค่าไฟ ค่าต่างๆ ที่เราขอผ่อนผันไม่ได้ เก็บส่วนนรี้ไว้ หักส่วนนั้นออก เหลือส่วนนี้ใช้ได้ และในทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี เตือนตัวเองเสมอ ว่า ต้องประหยัด
ชีวิตคนจนๆ วุ่นวน ทุกวันกับเรื่องแค่นี้ แหละ มากที่สุด จนบางครั้ง ผมต้องเตือน เหล่านักล่าบุญในหมู่บ้านทั้งหลาย ว่า ถ้าไม่จำเป็นอย่ารบกวนชาวบ้าน ไม่มใช่แค่เงิน แต่เวลา ต่างๆ ด้วย เดี๋ยวกฐินวัดโน้น เดี๋ยวผ้าป่าวัดนี่ เพราะลำพัง งานศพ งานซอง หลายคนก็หนักแล้ว ยังมีกิจกรรมในชุมชนอีก
หลายวันมานี่ ผมให้พนักงาน ( อ้อม กับ อร ) หยุด เพราะไม่มีงบประมาณจ้างแล้ว งานก็เหลือนน้อยด้วย !! อยากช่วย อยากให้งานทำ อยากรับเข้าอีกหลายคน แต่ เราก็เป็นแค่ผู้ประกอบการรายเล็ก ได้แต่อดทนและขออภัย กับพนักงาน ที่ยังให้งานมั่นคงไม่ได้
สิ่งที่ รัฐบาล จะต้องทำงานให้ถึง คือการมองให้เห็นปัญหา ปลีกย่อย ในระดับชุมชน หมู่บ้าน เงื่อนไขที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ ให้เข้มแข็งมากขึ้น การสร้างงานในท้องถิ่น ให้แรงงานภาคเกษตร สามารถหารายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากภาคเกษตร เพราะภาคเกษตร ณ เวลานี้ รายได้ไม่เพียงพอครองชีพ ทำแค่ไหนก็ยังไม่เพียงพอ ไม่คุ้มทุน ทุกครัวฝืดเคืองมาก ต้องการงานทำ ต้องการรายได้เสริม ต้องการแปรรูปเพิ่มมูลค่า ผลผลิตภาคเกษตร ครับ
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม