จะหนุนเสริมนักศึกษาที่อพยพจากซูดานอย่างไร?

563 21 Jun 2023

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

 

ผู้ปกครองนักศึกษาชายแดนภาคใต้สะท้อนทั้งน้ำตาขอบคุณรัฐบาลไทยที่ตัดสินใจส่งเครื่องบินไปซาอุดิอารเบียอพยพคนไทยจากซูดาน ถึงบ้านอย่างปลอดภัยเพราะก่อนหน้านี้ “สุดวิตก อย่างมาก ซึ่งลูกเล่าให้ฟังที่ซูดานว่า มีการสู่รบอย่างหนักกลัวลูกหลง  กลัวไม่มีอาหารกิน “

อย่างไรก็แล้วหลังจากนี้ควรมีข้อเสนอแนะจะหนุนเสริมอย่างไรโดยเฉพาะการต่อยอดทางการศึกษาหรือนำความสามารถของนักศึกษาเหล่านี้เพื่อยังประโยชน์ต่อประเทศชาติ

# ภารกิจช่วยเหลือคน/ทยในซูดาน

 

ปฏิบัติการช่วยเหลืออพยพคนไทยในซูดาน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษามุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกองทัพอากาศส่งเครื่องบินไปรอรับที่ซาอุดิอาระเบีย อย่างไรก็แล้วแต่ปัญหาใหญ่คือการเดินทางจากซูดานมายังซาอุฯ ของคนไทยในซูดาน ท่ามกลางสถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพซูดาน กับกองกำลังกึ่งทหาร RFS ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะลดความรุนแรงลง แม้จะมีข้อตกลงหยุดยิงให้ผู้คนแต่ละประเทศอพยพโดยมีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 ศพแล้วโดยปฎิบัติการอพยพมีด้วยกันสองชุด สำหรับที่ชายแดนใต้นั้น

 

ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไทยมาถึงภูมิลำเนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุดแรกได้เดินทางกลับมาถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน จำนวน 71 คน และชุดที่ 2 เดินทางมาถึงอีกจำนวน 63   ของวันที่ 30 เมษายน 2566 รวมทั้งหมด 214 คนที่ได้อพยพกลับมายังประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย แบ่งเป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดชานแดนภาคใต้ จำนวน 134 คน

 

# ความรู้สึกนักศึกษาและผู้ปกครอง

 

ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค4ส่วนหน้า แจ้งว่า 

 

วันที่ (30 เมษายน 2566) คณะนักศึกษาไทยในซูดาน ชุดที่ 2 เดินทางกลับมาจากประเทศซูดาน ในเที่ยวบินที่ 2 จำนวน 63 คน ถึงประเทศไทยอย่างปลอดภัย แยกเป็นนักศึกษาไทยในซูดานที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 60 คน ซึ่งได้เดินทางถึงท่าอากาศยานปัตตานี ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นที่เรียบร้อยแล้วในเวลา 14.20 นาที ด้วยเครื่องบิน C- 130 ของกองทัพอากาศ โดยมี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 /ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วยพลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส  พร้อมด้วยส่วนราชการในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับคณะนักศึกษาไทยในซูดานอย่างอบอุ่น ด้วยการมอบดอกกุหลาบพร้อมกล่าว”ยินดีต้อนรับกลับบ้าน” “ดีใจด้วยได้กลับบ้านเราแล้ว”แทนความรักความห่วงใยและกำลังใจ พร้อมส่งน้องๆนักศึกษาฯขึ้นรถบัส ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จัดเตรียมไว้เพื่อนำคณะนักศึกษาฯ ไปยังสโมสรนายทหารสัญญาบัตร กองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นจุดนัดพบครอบครัว ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง ที่มารอรับอย่างใจจดใจจ่อด้วยความเป็นห่วงและคิดถึง

 

❣️นาย มูหัมมัดอามีน อัลอับดุลสลาม นักศึกษาไทยในซูดาน เปิดเผยว่าที่ตัดสินใจไปเรียนที่ซูดานเพราะอยากได้ความรู้และภาษาอาหรับ เมื่อจบกลับมาตั้งใจจะมาพัฒนาบ้านเกิด ซึ่งที่ผ่านมาที่ซูดานมีการประท้วงมีการชุมชนมาก่อนแต่ไม่รุนแรงเหมือนกับครั้งนี้  ซึ่งเหตุการณ์รุนแรงไม่สามารถออกจากที่พักได้เลย ไม่สามารถหาซื้อของอาหาร ไฟฟ้าสัญญาณการติดต่อถูกตัดขาด ซึ่งได้ส่งข่าวให้คนที่บ้าน และบอกครอบครัวว่าไม่ต้องห่วงเพราะรัฐบาลไทย ให้ความช่วยเหลือจนวันนี้ได้กลับมาบ้านด้วยความปลอดภัย ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐบาลไทย ขอบคุณนายกรัฐมนตรี ขอบคุณ ศอ.บต. และขอบคุณแม่ทัพภาคที่ 4 ที่ให้ความช่วยเหลือนักศึกษาไทยในซูดาน

 

????สำหรับผู้ปกครองและญาติๆที่มารอรับ ต่างดีใจและหมดห่วงคลายความกังวล มารอรับบุตรหลานด้วยใจจดใจจ่อ พร้อมกล่าวขอบคุณรัฐบาลไทย กระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานความั่นคง กอ.รมน.ภาค 4 สน. และ ศอ.บต. และส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ประสานงานให้ความช่วยเหลือคนไทยนักศึกษาไทยในซูดานกลับมาสู่บ้านเกิดอย่าปลอดภัย บรรยากาศอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ต่างโผเข้ากอดกันด้วยความคิดถึง เนื่องด้วยความเป็นห่วง และไม่ได้เจอกันมาหลายปี ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าดีใจมากๆและขอบคุณ ภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย ทุกครั้งที่เกิดเกิดวิกฤติปัญหาต่างๆ คนไทยรัฐบาลไทยไม่เคยทิ้งกัน”

 

ข้อเสนอแนะ

 

ด้วยสถานการณ์การเมืองซูดานครั้งนี้นักศึกษาไทยมีโอกาสกลับไปเรียนต่อยากขึ้นอันส่งผลต่อการจบของนักศึกษาด้วยเช่นในการนี้ทางออกหนึ่งที่น่าจะเป็นอีกทางเลือกโดยเฉพาะในสาขาอิสลามศึกษาคือเขาเหล่านั้นสามารถโอนหน่วยกิตเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในพื้นที่ทั้งรัฐและเอกชนไม่ว่าราชภัฏ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราลนครินทร์และมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งถ้าเดินเรื่องเป็นปกติอาจมีช่องทางแต่อาจจะล่าช้า ไม่สะดวก ดังนั้นจึงเสนอให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่และสมาคมนักศึกษาไทยในต่างประเทศเพื่อหาช่องทางที่รวดเร็ว ลดขั้นตอนรวมทั้งสามารถประสานกับมหาวิทยาลัยในซูดานผ่านกระทรวงต่างประเทศและศึกษาธิการ  อีกประการที่สำคัญไม่แพ้กันคือการจัดตั้งศูนย์ประสานงานนักเรียน-นักศึกษา-ประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ในต่างประเทศ (ศป.นศ.จชต.) เพื่อให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือประชาชน นักเรียน และนักศึกษาไทยที่พำนักอยู่ในสาธารณรัฐซูดาน ซึ่ง บางส่วนอาจจะยังไม่ได้อพยพกับสองชุดที่ผ่านมา นอกจากนี้ นักศึกษาหลายคนหากไม่ต้องการเรียนต่อแต่เขามีความสามารถด้านภาษาอาหรับเป็นอย่างจะต่อยอดในอาชีพการงานกับพวกเขาอย่างไรโดยเฉพาะแรงงานไทยที่จะส่งไปซาอุดีอาระเบียหลังรัฐบาลไทยฟื้นความสัมพันธ์และมีข้อตกลงนับแสนๆล้านโดยเฉพาะยังขาดแรงงานไทยอีกมากที่จะส่งไปซาอุดีอาระเบียอีกประการมีนักศึกษาไทยไม่น้อยเรียนสาขาแพทย์และพยาบาลที่ซูดานจะต่อยอดเขาอย่างไรแต่ถ้าเขาอยากทำงานในโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมากที่ให้บริการคนป่วยอาหรับทั้งในกรุงเทพมหานคร ภูเก็ตและหาดใหญ่ 

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม