617 27 May 2023
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
หลังจาก'วันนอร์' ชี้ MOU ควรเขียนกว้าง ห่วงสมรสเท่าเทียม-สุราเสรี ควรปรับถ้อยคำ ปรากฎว่า มีวาทะร้อนในโลกโซเชี่ยลระหว่างแฟนคลับทั้งจากพรรคก้าวไกลและประชาชาติที่ค่อนข้างรุนแรง ส่อการร่วมรัฐบาลอาจมีปัญหาซึ่งแฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง
#บทสัมภาษณ์วันนอร์ที่ทำให้แฟนคลับทั้งสองออกมาโต้กัน
วันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ (ปช.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ว่า ในเอ็มโอยูมีการพูดถึงหลักการกว้างๆ ในหลายๆเรื่อง แต่สิ่งที่พรรคประชาชาติต้องการให้ปรับ มี 2 ประเด็นหลัก คือ เรื่องสุราเสรีที่กระทบกับหลักศาสนา อยากให้มีการปรับถ้อยคำลงไม่ให้กระทบกับศาสนาใด อีกประเด็นคือเรื่องให้ความเคารพในความหลากหลายทางเพศ ซึ่งสื่อโยงไปถึงนโยบายสมรสเท่าเทียม
โดยประเด็นเหล่านี้ พรรคไม่สามารถยอมรับให้มีในเอ็มโอยูได้โดยไม่มีข้อยกเว้น เราขัดข้องเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น และได้เสนอให้คณะทำงานร่างเอ็มโอยูดูว่าเรื่องนี้จะทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งพรรคเสนอไปว่าอย่างน้อยที่สุดในเอ็มโอยูหรือกฎหมายที่จะเดินหน้าต่อจากนี้
ทั้งนี้ต้องบอกว่าเรื่องดังกล่าวจะต้องไม่มีผลบังคับไปถึงผู้นับถือศาสนาอิสลาม เพราะเป็นเรื่องที่ขัดกับหลักศาสนา รวมถึงศาสนาอื่นๆ ที่เรื่องนี้ขัดหลักศาสนาเขาด้วย
เมื่อถามว่าคิดว่าการเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลจะสำเร็จลุล่วงได้หรือไม่ นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า คิดว่าการตั้งรัฐบาลไม่น่ามีปัญหา มีพรรคเล็กๆ เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ
#นโยบายแก้ปัญหาชายแดนใต้สอดคล้องกันแต่
มีข้อกังวล สองเด็น “สมรสเท่าเทียมกับสุราก้าวหน้า”จากพรรคประชาชาติ
ถ้าพิจารณาพรรคก้าวไกลเสนอการแก้ปัญหา เชิงโครงสร้างชายแดนใต้ กว่า 18 ปี แตกต่างจากรูปแบบเดิม สอดคล้องกับข้อเสนอแนะทางวิชาการและประชาสังคมเพียงแต่คนชายแดนภาคใต้มีข้อกังวล สองเด็น “สมรสเท่าเทียมกับสุราก้าวหน้า” สำหรับ 3 ปรับแก้ปัญหาชายแดนใต้ คือ 1 ปรับเป้าหมายความสงบ ให้ควบคู่กับความชอบธรรม 2 คือปรับเจ้าภาพในการนำไปสู่กระบวนการสันติภาพ ควรเป็นรัฐบาลพลเรื่อนไม่ใช่รัฐบาลทหาร ให้ ปชช.มีส่วนร่วมมากขึ้น และปรับที่ 3 คือ ปรับวิธีการ ปฏิรูปหน่วยงานและกฎหมายความมั่นคง หนุนให้ ต้องยกเลิกกฎอัยการศึก ดั่งที่รอมฎอน ปัญจอร์ ว่าที่สส.ก้าวไกลได้ยืนยันว่า “เร็ว ๆ นี้ ตามสัญญาครับจะมีการยกร่าง พ.ร.บ.กฎอัยการศึกใหม่ที่มีอารยะและทันสมัย จัดที่ทางที่เหมาะสมของกองทัพในรัฐประชาธิปไตย แทนที่ของเก่าซึ่งมีอายุ 109 ปี”
รวมทั้งจะการกระจายอำนาจที่ผู้บริหารท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้ง และยุบให้เหลือ 1 ตำแหน่ง อย่างผู้ว่าฯ ราชการจังหวัดที่เลือกตั้งเข้ามา และเพิ่มงบประมาณให้ท้องถิ่นให้มากขึ้น รวมทั้ง ต้องแก้กฎหมายให้อำนาจ จัดทำบริการสาธารณะไปอยู่กับท้องถิ่นเพื่อบริหารจัดการ ได้ ให้ไม่เหมือนเดิมที่ต้องฟังจากส่วนกลางอย่างเดียว รวมทั้งการกระจายอำนาจทางการศึกษาทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่” ซึ่งนโยบายเหล่านี้สอดคล้องกับพรรคประชาชาติอีกทั้งไม่ทิ้งประเด็นการศึกษาชายแดนใต้ที่แตกต่างจะที่อื่นๆหาก “การกระจายอำนาจทางการศึกษาทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ มิใช่เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น”
รศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรีผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ให้ทัศนะว่า “ การเข้ามามีบทบาทของพรรคประชาชาติ ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากนายวันนอร์ หัวหน้าพรรคฯ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำประเทศมาเลเซีย และสามารถประสานการพูดคุยเรื่องกระบวนการสันติภาพในพื้นที่
…นโยบายจังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคประชาติ สอดคล้องกับพรรคก้าวไกลหลายประเด็น โดยเฉพาะการลดบทบาทของทหารหรือหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ แต่เพิ่มบทบาทให้หัวหน้าคณะเจรจาสันติภาพฝ่ายพลเรือนมากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้การเมืองนำการทหารในครั้งแรกของพื้นที่
จึงน่าจับตาว่า พรรคท้องถิ่นนิยมอย่าง “ประชาชาติ” จะเข้ามามีบทบาทในกระบวนการสันติภาพเพื่อลดปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างไร?(อ้างอิงจาก https://mgronline.com) อย่างไรก็ตามนักวิชาการหลายท่านกังวลหน่วยความมั่นคงว่าจะยอมหรือ?
นอกจากนี้มีการปั่นกระแสรายวันหลังเลือกตั้ง “วาทกรรมสร้างความหวาดกลัวเช่นชายแดนใต้จะถูกแบ่งแยกดินแดน สอดคล้องกับการเมืองส่วนกลางว่า ล้มเจ้า เป็นลูกไล่อเมริกา หรืออเมริกาจะตั้งฐานทัพ”นี่เป็นข้อท้าทายของพรรคก้าวไกลซึ่งมีโอกาสทำงานร่วมกับพรรคประชาชาติ
#นักวิชาการเสนอให้แฟนประชาชาติและก้าวไกลต้องเรียรู้ที่ต้องเข้าใจในบริบทที่จะรัฐบาลร่วมในประเทศไทยหลังชนะเลือกตั้ง
ทัศนะนักวิชาการสำหรับแฟนคลับทั้งสอง
หนึ่งสำหรับแฟนคลับก้าวไกล
อาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ ชาวยะลา อาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย ให้ทัศนะดังนี้
1. แฟนด้อมของส้มควรเปิดใจ เรียนรู้ถึงความแตกต่างและหลักความเชื่อทางศาสนาอื่นบ้าง อาจารย์วันนอร์ได้ยืนยันในหลักการของศาสนาที่ไม่อาจยอมรับในเรื่องนี้และเรื่องนี้ก็เป็นนโยบายของพรรคประชาชาติมาโดยตลอด
2. อาจารย์วันนอร์ก็ยังเสนอทางออกของ กม.นี้ถ้าผ่านก็ให้มีข้อยกเว้นไม่บังคับใช้กับมุสลิม (ซึ่งกฎหมายนี้เมื่อโหวตในสภาก็ต้องผ่านแน่นอน ประชาชาติมีแค่ 9 เสียงเอง)
3. ในสิงค์โปร์ที่เป็นเซคคิวลาร์สุดๆ มีรับรองอาชีพโสเภณีถูกกฎหมาย แต่มีข้อยกเว้นว่าอาชีพนี้ไม่ให้มุสลิมทำ เพราะในประเทศเขาก็มีประชากรมุสลิม
4. มาเลเซียประเทศมุสลิมแท้ ๆ มีคาสิโน การพนันถูกกฎหมายแต่ก็มีข้อยกเว้น ห้ามมุสลิมยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจนี้ในทุกด้าน
5. ประเทศไทยมีความหลากหลายทางความเชื่อศาสนา กำลังจะมีประชาธิปไตยที่เบิกบาน กำลังจะมีสิทธิเสรีภาพ แต่การแสวงจุดร่วม สงวนในความต่าง เป็นสิ่งที่ควรมีเช่นกัน การถล่มก่นด่าไปถึงศาสนาอื่น มันไม่ควรเกิดขึ้นเลยในสังคมอารยะแบบนี้
6. ขอให้การจัดตั้งรัฐบาลสำเร็จโดยเร็ว เราสนับสนุนพิธาเป็นนายก อะไรๆ ที่สะดุดขัดขวางก็ให้ฝ่าฟันผ่านไปได้ด้วยดี
สองสำหรับแฟนคลับพรรคประชาชาติ
อาจารย์กามาล อับดุลวาฮับ สะท้อนว่า
“หลายปีก่อน มีงานศึกษาน่าสนใจชิ้นหนึ่งของ The Islamicity Foundation ที่ลองเปรียบเทียบประเทศต่างๆที่มีค่านิยมหรือหลักปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของอิสลามในประเด็นของระบบเศรษฐกิจ การพัฒนามนุษย์ หลักกฏหมายและระบบธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชนและการเมืองการปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยตัดประเด็นหลักปฏิบัติที่เป็นคำสอนเฉพาะมุสลิมเช่น การละหมาด ถือศิลอดและการประกอบพิธีฮัจย์ออกไป พบว่าลำดับต้นๆกลับเป็นประเทศตะวันตกทั้งหมด สูงสุดคือนิวซีแลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์ ขณะที่ชาติมุสลิมกลับอยู่ลำดับท้ายๆ ก็ไม่น่าแปลกใจ ที่ปรากฏว่าขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่ออิสลามอย่างสันติวิธีมักจะเลือกชาติตะวันตกเหล่านั้นเป็นที่ลี้ภัย อิสลามดำเนินอยู่ได้อย่างเสรีและเติบโตเบ่งบานในประเทศตะวันตก แต่หากกลับไปยังประเทศบ้านเกิดอาจจะถูกเพ่งเล็ง หรือแม้แต่ถูกจับกุมเพราะมองว่าเป็นการเคลื่อนไหวเพื่อล้มล้างรัฐบาล เพราะผู้ปกครองประเทศอิสลามส่วนใหญ่เป็นฝ่ายอำนาจนิยม เต็มไปด้วยระบบอุปถัมภ์ ผลประโยชน์ของพวกพ้อง ไม่ต้องการฝ่ายที่เห็นต่าง
พรรคก้าวไกลก็คงไม่ต่างจากชาติตะวันตกเหล่านั้น หากเอาตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับคำสอนของอิสลามเฉพาะประเด็นความโปร่งใส ความมีธรรมาภิบาล ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน แนวคิดของพรรคก้าวไกลจะอยู่ลำดับแรกๆ แน่นอน และค่านิยมแบบนี้ืที่น่าจะส่งเสริมให้เกิดกับเยาวชนบ้านเราอะไรที่ไม่ตรงกับหลักการของเรา ก็ต้องบอกว่าไม่เห็นด้วย แสดงจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากในสังคมประชาธิปไตย”
ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด “อิสลามไม่มีทางตันทางการเมือง แนวปฏิบัติของท่านนบี ศอลฯ สำหรับนักปกครอง ในการรักษาเป้าหมายใหญ่ (มัศละหะฮ์) แม้ต้องเลี่ยงหลักรองๆ”
จากประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองอิสลามสามารถกล่าวได้ว่า หลักใหญ่ใจความของการเมืองในอิสลามไม่ใช่เรื่องถูก-ผิด ขาว-ดำ แต่เป็นเรื่องของการมองหาสิ่งที่ดีกว่า - มัศละหะฮ์ - สิ่งที่สำคัญกว่า สิ่งที่มีประโยชน์มากกว่า
หลักการนี้ ปวงปราชญ์ใหญ่ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เห็นพ้องและปรากฏอยู่ในตำรับตำราอิสลามมากมาย
อิหม่ามสะยูตีย์ กล่าวไว้ในตำรา الاشباه والنظائر ว่า
الْقَاعِدَةُ الْخَامِسَةُ: تَصَرُّفُ الْإِمَامِ عَلَى الرَّعِيَّةِ مَنُوطٌ بِالْمَصْلَحَةِ
"กฎข้อที่ 5 การปฏิบัติของประมุขแห่งรัฐที่มีต่อประชาชน ตั้งอยู่บนหลักประโยชน์-มัศละหะฮ์- ตามหลักการศาสนา"
หลักการนี้มีที่มาจากอัลกุรอานและหะดีษดังกล่าวข้างต้น
เพื่อการปกป้องรัฐอิสลาม อันเป็นเป้าหมายใหญ่ ท่านนบี ศอลฯ ยอมให้งดเว้นการใช้หลักการห้ามโกหกหลอกลวง อันเป็นหลักทั่วไปในยามปกติ
หลักการอิสลามสำหรับคนทำงานอิสลามระดับสูง จึงไม่ได้ขาว-ดำ อย่างชัดเจน แต่เป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการเดินสู่เป้าหมายท่ามกลางอุปสรรคทุกชนิดที่เข้ามาทดสอบกึ๋นความสามารถ
หลังจากดร.ฆอซาลี เขียนบทความนี้ มีผู้ถามท่านว่า “ดังนั้นเราควรมองข้างเรื่องนโยบายของพรรคก้าวไกลที่ขัดกับหลักการอิสลามไปก่อนใช่ไม่ครับ อย่างน้อยให้ได้ร่วมรัฐบาล ได้เป็นรมต.ดีกว่า แล้วค่อยเจรจาหรือไม่ก็งดออกเสียงไป?
ท่านตอบว่า “ก็แล้วแต่สถานการณ์ครับ ว่าจะออกเบอร์ไหน 1) ไม่เห็นด้วย 2) งดออกเสียง หรือ 3) เห็นด้วย โดยเปรียบเทียบกับข้อแลกเปลี่ยนที่เป็นผลประโยชน์สูงสุดของสังคมมุสลิม และการคุ้มครองชีวิตและเสรีภาพของ ปชช.จชต. ซึ่งอิสลามถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าสำคัญกว่าและสำคัญกว่าเรื่องเหล่านี้ อยากให้ศึกษาตัวอย่างตุรกี ที่ปัจจุบันยังมีกฎหมายโสเภณีถูกกฎหมายและอีกหลายฉบับที่ขัดแย้งกับอิสลาม เวลาพรรคร่วมรัฐบาลเสนอ แอร์โดกันทำอย่างไร เดาว่า ยังไงก็ไม่ปัดตกทั้งหรอก ต้องมีเห็นด้วยบ้าง ซึ่งผลเสียยังน้อยกว่าหลุดจากอำนาจปกครอง ที่จะทำลายโอกาสปกป้องชีวิตกลุ่มผู้ลี้ภัยและหลักการอิสลามอีกมากมายนับไม่หวาดไม่ไหว”
#ประชาสังคมชายแดนใต้เห็นสอดคล้องกับกระแสประชาสังคมและนักวิชาการทั้งประเทศให้หนุนโหวดพิธา
ประชาสังคมชายแดนใต้สององค์กรใหญ่คือสภาประชาสังคมชายแดนใต้และสมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ( CAP ) เห็นสอดคล้องกับกระแสประชาสังคมและนักวิชาการทั้งประเทศให้เคารพหลักการประชาธิปไตย โดยสนับสนุนให้พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จนมีจำนวน ส.ส. มากที่สุดคือให้หนุนโหวดพิธา (อ่านเพิ่มใน https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000032183)
18 พฤษภาคม 2566 นายแวรอมลี แวบูละ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้
เปิดเผยว่า “สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงขอวิงวอนให้นักการเมืองและ สว.ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมมีเหตุมีผลในการโหวตเลือกแคนดิเดตนายรัฐมนตรีในครั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจต่อบ้านเมือง รู้รัก รู้สามัคคี และการให้อภัยเพื่อให้ประเทศชาติเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ทุกภูมิภาครวมทั้งปาตานี/ชายแดนใต้พึงปรารถนา
ด้วยจิตคารวะ สส.และ สว.ทุกท่าน” กล่าวคือ
“ชาวชุมชนปาตานี/ชายแดนใต้ (Patani Community) ทุกศาสนิกในพื้นที่ชายแดนใต้ต้องทนอยู่กับภาวะความกลัวในสถานการณ์ความรุนแรงมาอย่างยาวนานเกือบสองทศวรรษวิถีการดำรงชีวิตเต็มไปด้วยข้อจำกัดที่ไม่พึงประสงค์
จึงมีความคาดหวังสูงต่อการบรรลุผลของกระบวนการพูดคุยสร้างสันติภาพในพื้นที่ในระยะเวลาที่ไม่นานนัก ด้วยความเชื่อมั่นว่ากระบวนการทางประชาธิปไตยถือเป็นหนึ่งแนวทางสำคัญที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนของประชาชน
ในการหาทางออกของปัญหาที่ดำรงอยู่
ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคมที่ผ่านมา ประชาชนทุกภูมิภาค
ทั่วประเทศไทยได้มอบความไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อการเมืองฝ้ายประชาธิปไตยอย่างท่วมท้นและขณะนี้มีแคนดิเดตนายกรัฐมนาตรี ชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ จากพรรคก้าวไกล
แต่กลับปรากฏว่า มีตัวแปรสำคัญที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญไทยฉบับ พ.ศ. 2560 ที่จะเป็นปัญหา
ต่อการดำเนินทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขให้ลุล่วงไปด้วยดี คือ การที่มี สว.จำนวน 250 ท่านมีส่วนในการโหวตคะแนนเลือกผู้นำประเทศในครั้งนี้ด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะงดออกเสียงหรือออกเสียงคัดเสียงการเลือกนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้
ทางสภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศ
ในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง ด้วยเกรงว่าสถานการณ์ความขัดแย้งจะยิ่งยึดระยะเวลายาวนาน
ทำให้การพัฒนาประเทศโดยรวมยิ่งถดถอย โดยเฉพาะสำหรับพื้นที่ปาตานีชายแดนใต้
ที่มีความสุ่มเสี่ยงในหลายๆด้าน มีความเปราะบางในวิถีการดำรงชีวิตตลอดเวลาระยะที่ผ่านมาจวบจนถึงทุกวันนี้
สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จึงขอวิงวอนให้นักการเมืองและ สว.ทุกท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณที่เหมาะสมมีเหตุมีผลในการโหวตเลือกแคนดิเดตนายรัฐมนตรีในครั้งนี้โดยอยู่บนพื้นฐานความบริสุทธิ์ใจต่อบ้านเมือง รู้รัก รู้สามัคคี และการให้อภัยเพื่อให้ประเทศชาติเข้าสู่ภาวะประชาธิปไตยที่ประชาชนส่วนใหญ่ทุกภูมิภาครวมทั้งปาตานี/ชายแดนใต้พึง
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม