607 08 Apr 2023
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International Commission of Jurists หรือ ICJ) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ออกแถลงการณ์ร่วมหลังที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายที่ล่าช้ามาเนิ่นนานมีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ โดยระบุว่า ยินดีที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ แต่เรียกร้องให้ประเทศไทยทบทวนการตัดสินใจเลื่อนการบังคับใช้มาตรา 22-25 ไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 และให้ปรับวันที่มีผลบังคับใช้ใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการปกป้องประชาชนจากการถูกทรมาน การกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหาย
โดยทาง ICJ และแอมเนสตี้เห็นว่า พระราชบัญญัติฯ นี้ทำให้การทรมาน การกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นความผิดทางอาญา และจัดให้มีกลไกคุ้มครองตามกฎหมายและวิธีพิจารณาความเพื่อป้องกันการกระทำดังกล่าว มาตราต่างๆ ในกฎหมายฉบับนี้ยังมีจุดประสงค์เพื่อรับรองว่าผู้เสียหายและบุคคลอื่นๆ สามารถร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานหรือการการกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงการกระทำให้บุคคลสูญหายได้โดยปราศจากความหวาดกลัว
ทั้งนี้ยังระบุว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นผลมาจากความพยายามอันไม่หยุดหย่อนของผู้เสียหายและครอบครัวของพวกเขา องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร สมาชิกรัฐสภา และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างสรรค์เครื่องมือในการป้องกันการก่อการละเมิดสิทธิอันร้ายแรงเหล่านี้ และการให้การเยียวยาแก่ผู้รอดชีวิต แม้ว่ากฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันนี้ แต่ภาครัฐได้เลื่อนการบังคับใช้บางมาตราที่สำคัญออกไปจนถึงเดือนตุลาคม
ดังนั้นทาง ICJ และแอมเนสตี้จึงขอให้ทางการไทยทบทวนการตัดสินใจเลื่อนการบังคับใช้ มาตรา 22-25 ของพระราชบัญญัติฯ ไปจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 อีกครั้ง และให้ปรับวันที่มีผลบังคับใช้ใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังเรียกร้องให้เร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance หรือ ICPPED) และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Optional Protocol to the Convention against Torture หรือ OP-CAT)
“การเลื่อนการบังคับใช้มาตราสำคัญบางมาตราของพระราชบัญญัติฯ นั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวล พวกเราขอ เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่หลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดความล่าช้ายิ่งขึ้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่สามารถเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพโดยสมบูรณ์และอาจไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในพื้นที่ได้” ทั้งสององค์กรย้ำ
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม