958 08 Apr 2023
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้จัดงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565” (Media Awards 2022) ณ ห้องกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล กรุงเทพ
โดยมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนประเภทข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทสื่อโทรทัศน์ สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าวประเภทรายการโทรทัศน์ ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ และภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน และ “Hope” ประเภทบุคคลทั่วไป
ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล ประธานกรรมการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดเผยว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือน “แสงเทียน” ที่ฉายแสงส่องให้คนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเชิญชวนให้เราต่างบ่มเพาะความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดมอบรางวัลผลงานสื่อมวลชนดีเด่นด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของสื่อในการเป็นแนวหน้าของการติดตามถกเถียงประเด็นสิทธิมนุษยชน และสื่อมวลชนจะได้มีพลังในการยืนหยัดที่จะทำงานเพื่อปกป้องส่งเสริมสิทธิมนุษยชนต่อไป ในส่วนของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่ต้องได้รับการคุ้มครอง ไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม
ประธานแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2565 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีข่าว ประเภทสื่อออนไลน์ 6 รางวัล ได้แก่
สำนักข่าวออนไลน์ Decode
สำนักข่าวออนไลน์ HaRDstories
สำนักข่าว The Isaander
รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
3 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยสารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
2 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 2 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์ 5 รางวัล ได้แก่
เว็บไซต์ WAY Magazine
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 4 รางวัล ได้แก่
รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Protect the Protest” ประเภทสื่อมวลชน 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลดีเด่นภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
รางวัลชมเชยภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 4 รางวัล ได้แก่
รางวัลป๊อปปูล่าโหวตภาพถ่ายในหัวข้อ “Hope” ประเภทประชาชนทั่วไป 1 รางวัล ได้แก่
ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล กล่าวต่อว่าในปีนี้ยังจัดให้มีการพูดคุยในหัวข้อ “Voice of Rights: เสียงจากชาวประมง คนรุ่นใหม่ สื่อสำคัญมากแค่ไหน ในวันที่ประชาชนลุกขึ้นส่งเสียงเพื่อทวงถามความยุติธรรมและเสรีภาพ” โดยเบนจา อะปัญ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ และวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย สองคนต้นเรื่องของผลงานที่ได้เข้าชิงรางวัลในปี 2565
ในตอนท้าย ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้กล่าวขอบคุณสื่อมวลชนที่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดของงานในวันนี้ที่ได้ช่วยกันขับเคลื่อนและเป็นสื่อกลางในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและให้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั้งที่ผ่านมาและจะทำต่อไป
////
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ เนาวรัตน์ เสือสอาด หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย มือถือ 089 922 9585 หรืออีเมล media@amnesty.or.th
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม