1314 26 Jan 2023
( ขอบคุณภาพจาก :http://www.geog.pn.psu.ac.th/1VRGEOG360/SocialIndex.html )
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
6 ธันวาคม 2565 นายสุกรี มาดะกะกุล หนึ่งในผู้สื่อข่าวชายแดนใต้รายงานว่า “ กรณีผู้ว่าเมาะ หรือพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีที่ภาพทำให้เข้าใจผิดเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมทำพิธี ฯด้วย แต่ความเป็นจริงในส่วนพิธีการนั้นท่าน มอบให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดทำการแทนหมด ซึ่งภาพที่เห็นคือช่วงที่ท่านจะกลับ เข้าไปไหว้สวัสดีลา เจ้าคณะฯ เป็นโอกาสคารวะด้วย เพราะมีในกำหนดการเยียมผู้นำทั้ง 4คืออิสลามบาบอแม หรืออับดุลรอแม มะมิงจิประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีหลังจากนั้นไปศาลเจ้าจีน และจบที่ ผู้นำศาสนาคริสต์”นั้นทำให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์มากหรือภาษาข่าวเรียกว่าดราม่านั้นเอง เหล่านี้คือความท้าทายของมุสลิมในสังคมพหุวัฒนธรรมทั้งระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเองมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน
#
ความท้าทายของมุสลิม:พหุวัฒนธรรมระหว่างต่างศาสนิกเเละมุสลิมด้วยกันเอง
เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 30 มีนาคม 2561 ผู้เขียนได้ร่วมเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “ สนทนากับพหุวัฒนธรรม บทสะท้อนจากนักวิชาการอิสลาม"ซึ่งมีนักวิชาการอิสลามอย่าง ผศ.เจ๊ะเลาะ แขกพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด คณบดีคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) กรรมการฝ่ายวิชาการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ อุสตาซซอลาฮุดดิน หะยียูโซ๊ะ เลขานุการคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำเเหง และรองผู้อำนวยการสถาบันวะสะฏียะฮ์เพื่อสันติภาพและการพัฒนา สำนักจุฬาราชมนตรี
จากการเสวนาครั้งนี้มีความท้าทายสำหรับผู้เขียนในการจัดการพหุวัฒนธรรมสองส่วน
หนึ่งพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกับต่างศาสนิก
สองพหุวัฒนธรรมระหว่างมุสลิมกันเอง
สำหรับข้อที่หนึ่งผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดในหนังสือผู้เขียนได้ในหนังสือวิถีมุสลิมกับความหลากหลายวัฒนธรรม ( โปรดอ่านรายละเอียดใน http://www.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=75311)ซึ่งในหนังสือนี้จะฉายภาพถึงวิถีชีวิตมุสลิมในภาพรวมมีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติที่เเตกต่างจากคนต่างศาสนิก ในขณะที่เป้าหมายของศาสนาอิสลามซึ่งพระเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัดเพื่อให้ความเมตตาต่อประชาชาติทั้งมวล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด เชื้อชาติ สีผิวใดหรือเเม้กระทั่งสิงห์สาราสัตว์ เเต่เมื่อกลับไปดูปฏิบัติการณ์บางอย่าง บางคน ในพื้นที่ซึ่งได้รับข้อมูลจากคนต่างศาสนิกโดยเฉพาะพระในพื้นที่เช่นเด็กๆมุสลิมบางส่วนเมื่อเห็นพระยังถ่มนำ้ลายต่อพระ ซึ่งสิ่งนี้ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับนักวิชาการมุสลิมว่าจะทำอย่างไรที่จะอธิบายให้คนของตัวเองได้เข้าใจในหลักการอิสลามที่ถูกต้องจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติให้ได้ ไม่เพียงเท่านั้นหากกิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรม(อาจจะ)ร่วมเเต่อาจจะมีบางส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนาเช่นกิจกรรมวันไหว้ครู การเสียชีวิตของต่างศาสนิกเเละกิจกรรมทางสังคมที่อาจมีบางส่วนที่อาจมีพิธีกรรมทางศาสนา เรื่องเหล่านี้ก็เป็นโจทย์สำคัญสำหรับมุสลิมโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะช่วยชี้เหตุผล หลักการว่าส่วนไหนทำได้ไม่ได้เเค่ไหนอย่างไรเพื่อมุสลิมเองจะได้ปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน รัฐได้จัดการได้ถูกต้องเเละชาวบ้านต่างศาสนิกจะได้เข้าใจ
#แน่นอนมุสลิมต้องระวังให้มากหากจะปฏิบัติอย่างไรโดยเฉพาะในยุคโซเซียลปัจจุบัน ที่สิ่งที่เราเห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เราคิด สำหรับผู้เขียนแล้วมันไม่ใช่ความท้าทายของข้าราชการมุสลิมอย่างเดียว มันเป็นความท้าทายผู้รับสารมุสลิมเราที่จะสื่อสารอย่างไรเรามิใช่มุฟตี ผู้ตัดสินประเด็นนศาสนาคือมุฟตีย์คือจุฬาราชมนตรีถ้าเมืองไทย เราเป็นแค่ดาอีย์ ในขณะเดียวกันสื่อชายแดนภาคใต้ก็เช่นกันจะสื่อสารอย่างไรต่อผู้รับสารเพื่อสันติภาพ อีกทั้งปัจจุบันทุกคนมีมือถือ สามารถเป็นสื่อได้ และผู้บริหารโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ฝากเรื่องนี้เช่นกัน(6 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนอิสลามประชานุเคราะห์ อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี) ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด นักวิชาการอิสลามศึกษาชื่อดัง กล่าวว่า “ มุฟตีย์โซเซี่ยลสร้างปัญหา ดาอีย์ล้ำเส้นเป็นมุฟตีย์ ความผิดพลาดที่มักมองไม่เห็น”รวมทั้งสอดคล้องกับทัศนะผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีที่ท่านมองว่าเป็นความท้าทายของสื่อในสังคมพหุวัฒนธรรมยุคโซเชี่ยลโลกไร้พรมแดน (ดูคลิปจากสุกรี มาดะกะกุล เพจแอดชายแดนใต้
#ข้อเสนอแนะ
สำหรับประเด็นนี้ผู้เขียนมีข้อเสนอเเนะดังนี้คือหนึ่งการศึกษาหลักการอิสลามกับพหุวัฒนธรรม สองการยอมรับเรื่องพหุงัฒนธรรม สามการสานเสวนาระหว่างคนต่างศาสนิกต่างวัฒนธรรมในทุกระดับไม่ว่าประชาชน นักวิชาการ ผู้นำศาสนา สี่การหนุนเสริมการเเก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ห้าการจัดทำหรือปรับปรุงคู่มือทักษะวัฒนธรรม(อ่านเพิ่มเติมใน http://thesis.swu.ac.th/swuebook/A419513.pdf)
สำหรับความท้าทายข้อที่สองคือความเห็นต่างระหว่างนักวิชาการอิสลามในพื้นที่ในประเด็นปลีกย่อยด้านหลักศรัทธา(ท่านสามารถอ่านรายละเอียดวิทยานิพนธ์ผู้เขียนได้ในhttp://soreda.oas.psu.ac.th/show_detail.php?research_id=108)หรือความเเตกต่างด้านหลักปฏิบัติอันเนื่องมาจากในโลกมุสลิมเองมีนิกายต่างๆอันส่งผลวิถีปฏิบัติของมุสลิมเองต่างกันด้วย(โปรดอ่านรายละเอียดในหนังกฎหมายอิสลามของผู้เขียน
https://www.deepsouthwatch.org/node/10243)
จากทัศนะที่เเตกต่างของนักวิชาการอิสลามในอดีตส่งผลให้วิถีหลักศรัทธา หลักปฏิบัติของมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายเเดนภาคใต้จนเป็นวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตที่เเตกต่างด้วยเช่นกันซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่ความขัดเเย้งด้วยเช่นกัน พูดได้ว่า "จากพหุทัศนะสู่พหุวัฒนธรรมในสังคมมุสลิม" ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายของมุสลิมโดยเฉพาะผู้นำศาสนาซึ่งประชาชนมักจะอ้างเเบบชาวบ้านระหว่างสายเก่ากับสายใหม่ซึ่งมีทัศนะที่เเตกต่างจะสามารถสานเสวนาผ่านปฏิบัติการณ์ทางวิชาการภายใต้เเนวคิดเเสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ในขณะเดียวกันปัญหาร่วมสมัยต่างๆ จะทำอย่างไรที่จะมีการปรึกษาหารือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้รู้ทั้งสองสายกับผู้รู้ระดับโลกเพื่อสามารถเเก้ปัญหาให้สอดคล้องเหมาะสมทันยุคทันสมัย
#หมายเหตุ
มีหลายประการที่มุสลิมทำได้และไม่ได้ ก่อนจะมีประกาศทางการของสำนักจุฬาราชมนตรีขอให้เราดูอดีตคำตอบเดิมได้ที่
1. คำตอบของท่าน จุฬาราชมนตรี เกี่ยวกับปัญหาข้อขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลามจากบางส่วน
2. คำตอบจุฬาราชมนตรี ( ประเสริฐ มะหะหมัด ) 23 ข้อ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในด้านศาสนาอิสลาม จากการรวบรวมโดย ศอ.บต.
3. ข้อเสนอแนะ มุสลิมกับพิธีกรรมการเคารพภักดีต่อพระมหากษัตริย์
(อ้างอิงจาก https://deepsouthwatch.org/th/node/9596)
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
17 Apr 2025
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม