ร้องประวิตร “หนุนพลเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐหรือเอกชน จะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาทางเลือก”ในกองทุนความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อพลเมืองไทย:รัฐต้องหนุนพลเมืองไทย

1039 30 Sep 2022

 

21 กันยายน 2565 ดร.ขดดะรี บินเซ็น เปิดเผยว่า สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้  ได้ออกแถลงการณ์ ร้องให้พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรักษานายกรัฐมนตรีใช้อำนาจเต็มพิจารณาใหม่เกี่ยวกับการให้เงินช่วยเหลือโดยใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2566 เพื่อส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน ซึ่งเป็นพลเมืองไทยไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในโรงเรียนของรัฐหรือเอกชน จะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาทางเลือกมิใช่หนุนเฉพาะโรงเรียนรัฐเพราะยิ่งเพิ่มความเลื่อมล้ำทั้งที่ทุกคนเป็นพลเมืองไทยเช่นกันมิฉะนั้นจะค้านสิ่งที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54

 

พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กองทุน และมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ

สอดคล้องกับสิ่งทีาพันตำรวจเอกทวี สอดส่องได้ตั้งกระทู้ถามในรัฐสภา

 

กองทุนเสมอภาคการศึกษา เคยอภิปรายฟัง/ชมย้อนหลังในhttps://youtu.be/BPpzaUH8ogw”

 

#สำหรับแถลงการณ์(ฉบับเต็ม)

สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้  “กองทุนความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อพลเมืองไทย:รัฐต้องหนุนพลเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนรัฐหรือเอกชน จะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาทางเลือก”

 

จากข่าวที่ครม. ไฟเขียว งบ “กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา” ปี 66 เฉพาะโรงเรียนรัฐยิ่งเพิ่มความเลื่อมล้ำ กล่าวคือ

.....

ที่ประชุม ครม. (11 ม.ค. 65) เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2566 กรอบวงเงิน 6,556 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน เฉพาะโรงเรียนของรัฐ โดยมี 9 แผนงาน ที่สำคัญ ดังนี้

.

นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา, พัฒนาระบบหลักประกันความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย - ภาคบังคับ, พัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั้งระบบ, จัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ

.

พัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล, ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสูงกกว่าภาคบังคับ, ส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ, สื่อสารขับเคลื่อนนโยบายและระดมความร่วมมือ และบริหารและพัฒนาระบบงาน เช่น พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

.

ส่งผลให้เด็กและเยาวชนในโรงเรียนของรัฐที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาสเท่านั้นจะได้รับการอุดหนุนเงินเพื่อเข้าถึงการศึกษา และป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาทุกระดับชั้น ครูและหน่วยจัดการเรียนรู้ของรัฐเช่นกันได้รับการพัฒนาคุณภาพทั่วถึง มีนวัตกรรม และต้นแบบ สำหรับภาครัฐและสังคมใช้เป็นแนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา จากเหตุผลที่อุดหนุนเฉพาะโรงเรียนรัฐเท่านั้นยิ่งเพิ่มความเลื่อมล้ำ เพราะความเป็นจริงเด็ก เยาวชนและครูบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนเอกชนในประเภทต่างๆโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำถามใหญ่พวกเขามิใช่พลเมืองไทยกระนั้นหรือ

 

ตามที่ทราบว่ากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ให้กับพลเมืองไทยทุกคน ซึ่งกองทุนนี้ จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา โดยปรากฎในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 54

 

พ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา ช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู โดยให้รัฐเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กองทุน และมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ

ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้จึงขอเรียกร้องรัฐโดยเฉพาะ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษานายกรัฐมนตรีใช้อำนาจเต็มพิจารณาเรื่องนี้โดยใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2566 เพื่อส่งเสริมโอกาสและพัฒนาคุณภาพนักเรียน ซึ่งเป็นพลเมืองไทยไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในโรงเรียนของรัฐหรือเอกชน จะเป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาทางเลือก

 

สมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้

20 กันยายน

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม