791 17 Jul 2021
นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯได้ตรวจสอบติดตามโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งมีการแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 14 สัญญา ซึ่งขณะนี้ผู้รับเหมาโครงการแต่ละสัญญากำลังดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามสัญญา ซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงสร้างยกระดับสำหรับวางรางรถไฟความเร็วสูง โครงสร้างทางรถไฟบนดิน นอกจากนี้ยังมีงานก่อสร้างโรงซ่อมรถไฟ และอาคารประกอบอีก หลายอาคาร โดยมีบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนร่วมทำงานกันอย่างใกล้ชิดนั้น
แต่จากการตรวจสอบบางสัญญาพบความผิดปกติในการก่อสร้างและการดำเนินงานซึ่งอาจไม่เป็นไปตามข้อสัญญาการจ้าง หรือ ทีโออาร์ หลายจุด อาทิ การวางรางรถไฟ ซึ่งตามสัญญาจะต้องใช้รางเหล็กคุณภาพดีที่มีปีการผลิตในปี 2019 เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีการสอดใส้นำรางเหล็กเก่าที่ผลิตในปี 2013 และปี 2014 มาสอดใส้ใช้สลับแทนในบางจุดเพื่อตบตาผู้ตรวจสอบ (ซึ่งอาจไม่ได้ลงดูพื้นที่จริง)โดยเบื้องต้นพบว่ามีการนำรางเก่ามาใช้ทั้งหมด 48 ท่อน แยกเป็นปี 2013 จำนวน 28 ท่อน(PZH2013) ปี 2014 จำนวน 20 ท่อน(BISG2014) โดยตรวจพบในจุดที่ Sta.3+513 ไปจนถึงจุด 4+113 ซึ่งการสอดใส้นำรางเก่ามาใช้แทนรางใหม่จะทำให้ผู้รับเหมาประหยัดเงินไปได้อย่างมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวทราบมาว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจากประเทศจีนได้ตรวจพบแล้ว และได้ทำหนังสือรายงานไปยังผู้จัดการโครงการฯของ รฟท.แล้ว แต่ทว่าเรื่องกลับเงียบไป เป็นที่น่าพิรุธ
นอกจากปัญหาการสอดใส้การนำรางเก่ามาใช้แล้ว ยังมีปัญหาการนำรถกระบะยี่ห้อหนึ่งมาใช้ในโครงการโดยในสัญญาระบุว่าต้องเป็นรถที่มีแรงม้า 2,900 แรงม้า แต่เอามาใช้จริงกลับเป็นรถที่มีแรงม้าเพียง 2,200 แรงม้าเท่านั้น อาจไม่ตรงกับสเปกตามสัญญา และยังพบว่าการก่อสร้างอาคารสำนักงานจำนวน 3 อาคารที่ อ.ปากช่อง พบว่ามีการก่อสร้างเกินไปกว่าแบบแปลนที่กำหนดจากพื้นที่ใช้สอย 1,550 ตร.ม. กลับเพิ่มเป็น 1,940 ตร.ม. ทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น ค่าบริหารจัดการเพิ่มมากขึ้น และยังไม่มีฉนวนกันความร้อนบนผ้าเพดานไม่เป็นไปตามแบบที่กำหนดอีกด้วย และเฟอร์นิเจอร์ภายในอาคารโครงการฯพบว่ามีการจัดซื้อจัดหามาใช้ในราคาที่แพงกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันโดยทั่วไปหลายเท่ามาก และยังพบข้อพิรุธอื่น ๆ อีกมากมาย
ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความพร้อมพยานหลักฐานทั้งหมดไปร้องเรียนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ทำการตรวจสอบว่าโครงการรถไฟไทย-จีนดังกล่าว มีการทุจริตคอรัปชั่นกันหรือไม่ หากพบความผิดและมีใครเกี่ยวข้องและต้องรับผิดชอบบ้าง จะได้ดำเนินการเอาผิดตามกฎหมายขั้นสูงสุดต่อไป โดยจะเดินทางไปในวันจันทร์ที่ 5 ก.ค.64 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน DSI ศูนย์ราชการฯ ถ.แจ้งวัฒนะ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม