1030 13 Aug 2014
เสนอให้มี กลไกการกำกับดูแลสื่อ และสื่อสารการพนันกีฬา ทุกประเภท ผล การศึกษาเนื้อหาการพนันฟุตบอลโลก 2014 รอบ 32 ทีม และรอบ 8 ทีม แสดงให้เห็นว่า สื่อวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์มีความระมัดระวังในการนำเสนอ ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการพนัน โดยเน้นการนำเสนอข้อมูลทั่วไป(I) เป็นหลัก มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) และไม่ปรากฏข้อมูลที่เกี่ยวกับการพนันและอัตราการต่อรองโดยตรง ในขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์กีฬาพบเนื้อหาที่เกี่ยวกับอัตราต่อรอง (H) รวมทั้ง ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่อาจนำไปสู่การพนันอย่างชัดเจน สอดคล้องกับผลการศึกษาของมีเดียมอนิเตอร์ในรอบฟุตบอลโลก 2006 และฟุตบอลยูโร 2008 จนอาจสรุปได้ว่า สื่อหนังสือพิมพ์กีฬาเป็นสื่อหลักที่ให้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการพนัน หน่วยการศึกษา เนื้อหาการพนันในฟุตบอลโลก 2014 รอบ 32 ทีม และรอบ 8 ทีม ใน 3 สื่อ ได้แก่ 1. หนังสือพิมพ์กีฬา 5 ฉบับ ได้แก่ สตาร์ซอคเก้อร์ สปอร์ตพูล สปอร์ตแมน เจาะเกมส์ และ ตลาดลูกหนัง ฉบับวางขายวันที่ 18 มิ.ย. 2557 (รอบ 32 ทีม) และ วันที่ 4-5 ก.ค. 57 (รอบ 8 ทีม ) 2. วิทยุกระจายเสียงคลื่นกีฬา จำนวน 3 คลื่น ได้แก่ FM 96 สปอร์ตเรดิโอ FM 97 คลื่นข่าวคุณภาพ และ และ FM 99 แอคทีฟเรดิโอ ออกอากาศวันที่ 18 มิ.ย. 2557 (รอบ 32 ทีม ) และวันที่ 4-5 ก.ค. 57 (รอบ 8 ทีม ) ช่วงเวลา 15.00-23.00 น. 3. โทรทัศน์ แบ่งเป็น - ช่องลิขสิทธิ์และที่ได้สิทธิในการถ่ายทอดสด จำนวน 3 ช่องได้แก่ ช่อง 5 ช่อง 7 และ ช่อง 8 ในช่วงวันที่ 18-20 มิถุนายน 2557 (รอบ 32 ทีม) ช่วงเวลา 15.00-23.00 น. - ช่องดิจิตอลที่มีการปรับผังรายการรองรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 4 ช่อง ได้แก่ ช่องไทยรัฐทีวี ช่อง PPTV ช่อง NOW 26 และช่อง MCOT HD และช่องทีวีดาวเทียมกีฬา 3 ช่อง ได้แก่ ช่อง SMMTV ช่อง T-Sport และช่อง FIFA World Cup ในช่วงวันที่ 4-5 ก.ค. 57 (รอบ 8 ทีม) ช่วงเวลา 15.00-23.00 น. เกณฑ์การศึกษา ใช้รหัส I P H และ G ในการวิเคราะห์เนื้อหา โดย I คือ General Information หรือ ข้อมูลทั่วไป เช่น ตารางการแข่งขัน ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์ตัวผู้เล่น แผนการเล่น P คือ Prediction เป็นการคาดการณ์ หรือการทำนายผลการแข่งขัน จะชนะ-แพ้ ด้วยการระบุแต้มชัดเจน เช่น ชนะ 2 ต่อ 0 H คือ Handicap หมายถึง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราต่อรอง เปอร์เซ็นต์ความได้เปรียบเสียเปรียบ โอกาสยิงประตู รวมทั้งข้อความในลักษณะชักชวนให้เล่นพนันอย่างชัดเจน G คือ Gambling หมายถึง ข้อมูลเพื่อการรับพนันบอลโดยตรง เช่น แหล่งรับพนัน หมายเลขบัญชีของแหล่งรับพนัน ผลการศึกษา “เนื้อหาการพนันในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014” รอบ 32 ทีม และ 8 ทีม พบว่า - สื่อหนังสือพิมพ์กีฬา ในภาพรวมพบเนื้อหาประเภทการบอกราคาและอัตราต่อรอง (H) เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 38 ในรอบ 32 ทีม เป็น ร้อยละ 49 ในรอบ 8 ทีม โดยพบอัตราต่อรอง (H) มากในหนังสือพิมพ์ ตลาดลูกหนัง และเจาะเกมส์ ในขณะที่เนื้อหาประเภทข้อมูลทั่วไป (I) ในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 51 ในรอบ 32 ทีม เป็นร้อยละ 47 ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย ส่วนเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) พบว่ามีสัดส่วนโดยเฉลี่ยทั้งสองรอบใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 4 โดยพบในทุกฉบับ ยกเว้นตลาดลูกหนัง ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีเนื้อหาประเภทข้อมูลเพื่อการรับพนันบอล (G) ในหนังสือพิมพ์กีฬา 5 ฉบับที่ศึกษา - สื่อวิทยุกระจายเสียง ในภาพรวมพบเนื้อหาประเภทข้อมูลทั่วไป (I) เป็นหลัก มีเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) การบอกราคาและอัตราต่อรอง (H) เพียงเล็กน้อย โดยพบในรอบ 32 ทีม มากกว่ารอบ 8 ทีม ในรอบ 32 ทีม พบเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) ใน FM 96 สปอร์ตเรดิโอ (2 รายการ) และ FM 99 แอคทีฟเรดิโอ (4 รายการ) ในรอบ 8 ทีม พบการทำนายผล (P) เฉพาะใน คลื่น 99 แอคทีฟเรดิโอ (5 รายการ) ด้านเนื้อหาประเภทการบอกราคาและอัตราต่อรอง (H) พบในรอบ 32 ทีม เฉพาะคลื่น 99 แอคทีฟเรดิโอ (2 รายการ) ทั้งนี้ ทั้ง 3 คลื่นไม่พบว่ามีเนื้อหาประเภทข้อมูลเพื่อการรับพนันบอล (G) - สื่อโทรทัศน์ ในภาพรวมพบเนื้อหาประเภทข้อมูลทั่วไป (I) เป็นหลัก และมีเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) เพียงเล็กน้อย รอบ 32 ทีม พบเนื้อหาประเภทการทำนายผล (P) เฉพาะในช่อง 7 (3 รายการ) และ ช่อง 8 (1 รายการ) รอบ 8 ทีม พบในช่องทีวีดาวเทียม 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง FIFA World Cup (1 รายการ) และ ช่อง T Sport (1 รายการ) และ ช่องทีวีดิจิตอล 1 ช่อง คือ MCOT HD (1รายการ) ทั้งนี้ ไม่พบเนื้อหาประเภทบอกราคาและอัตราต่อรอง (H) และ ข้อมูลเพื่อการรับพนันบอล (G)ในสื่อโทรทัศน์ที่ศึกษา ข้อเสนอจากมีเดียมอนิเตอร์ 1. ควรมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการพนัน/ระเบียบเกี่ยวกับสื่อ โดยเพิ่มข้อบังคับในการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการพนันกีฬาในสื่อมวลชน และสื่อประเภทต่างๆ และห้ามการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอัตรา/ราคาต่อรองทั้งในเชิงชี้แนะให้พนัน และให้ความรู้เกี่ยวกับการพนันในกีฬา/ การแข่งขันทุกประเภท 2. หน่วยงานกำกับดูแลสื่อและการสื่อสาร ควรสนับสนุนให้องค์กรวิชาชีพสื่อร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เกี่ยวกับการรายงาน / การนำเสนอเนื้อหากีฬา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ความรู้/ ทักษะ ด้านการชม / การเล่นกีฬานั้น ๆ เป็นสำคัญ สื่อต้องไม่สนับสนุนการพนัน การเสี่ยงโชค หรือเป็นช่องทางนำไปสู่อบายมุข 3.หน่วยงานกำกับดูแลสื่อและการสื่อสาร ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพ ควรร่วมกันกำหนด กลไกการกำกับดูแลร่วม (Co-Regulation) เพื่อให้สื่อมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม ในการไม่นำเสนอเนื้อหาที่สร้าง / นำไปสู่ / สนับสนุน การพนันทุกรูปแบบ05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม