สรุปการประชุมตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด
960 10 Jun 2014
สรุปการประชุมตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด
วันที่ 10 มิถุนายน 2557
จากข้อเสนอของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด 5 ข้อ ที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้ทราบจากเจ้าหน้าที่ทหารที่รับผิดชอบพื้นที่ มาตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2557 จนถึงวันนี้
ข้อเสนอของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในความเห็นของกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด
1.บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ขอขนแร่ทั้งหมดในสต๊อก
แร่ทั้งหมดที่มีอยู่ในสะต๊อกของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด ที่แต่งแล้ว 1,900 ตัน ยังไม่แต่อีก 31,140 ตัน ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นแร่ที่ถูกกฎหมาย
ส่วนแร่จำนวน 176 ตันที่บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ขนไม่ทันในคืนวันที่ 15 พฤษภาทมิฬ (พิสูจน์ได้จากใบอนุญาตที่ออกให้ทุ่งคำเป็นผู้ได้รับอนุญาตในการขนแร่ออกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม จำนวน 476 ตัน) หากจะมีการขน จะต้องรอจนกว่าคดีขนแร่ “คืน15 พฤษภาทมิฬ” จะมีการสืบสวนสอบสวน บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแร่และเป็นผู้ขนแร่ และได้ตัวผู้กระทำผิดทั้งหมด รวมถึงการกระทำผิดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาลงโทษ
การใช้ถนนร่วมกับชุมชน ต้องเป็นไปตามระเบียบ ชุมชน ว่าด้วยการใช้ถนนชุมชนและการควบคุมน้ำหนักบรรทุกที่กำหนดน้ำหนักบรรทุก รถทุกประเภทบรรทุกน้ำหนักวิ่งบนถนนชุมชนได้ไม่เกิน 15 ตัน ว่าด้วยระเบียบชุมชนและบรรทุกน้ำหนักบนทางหลวงได้ไม่เกิน 25 ตัน ตาม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (ฉบับปรับปรุงปี 2549)
- บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ขอขนอุปกรณ์ทั้งหมดออก
อุปกรณ์ทั้งหมดเป็นของบริษัท ทุ่งคำ จำกัดบริษัทฯ มีสิทธิที่จะขนย้ายได้ ยกเว้นอุปกรณ์บางชนิดที่เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดในเหตุการณ์คืน 15 พฤษภาทมิฬ
อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องได้รับการตรวจสอบพิสูจน์ เช่น รถเกรดดินที่นำมากระทำความผิดโดยการทำลายกำแพง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ
และหากจะมีการขนย้ายอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากเหมืองทองบริษัทฯ ก็ไม่มีสิทธิที่จะขนน้ำหนักเกินกว่า 15 ตันและไม่เกิน 25 ตัน บนทางหลวงชนบท
- 3. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จะปิดกิจการชั่วคราว
บริษัท ทุ่งคำ จำกัด อ้างไม่ได้ว่า ปิดกิจการชั่วคราว เพราะตอนนี้บริษัทฯ ถูกกฎหมายบังคับให้เหมืองทองปิดกิจการอยู่แล้ว เนื่องจากใบอนุญาตต่างๆ ยังไม่ได้รับอนุญาตเช่น ใบอนุญาตให้ใช้ที่ดิน สปก. ในอนุญาตให้ใช้ที่ดินป่าไม้ ยกเว้น ใบประกอบโลหะกรรม บริษัทฯ จึงไม่มีเหตุผล เป็นการเสนอเพื่อให้สังคมเห็นว่า เป็นการยอมชาวบ้านเท่านั้น
- 4. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จะทำการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมด จากผลกระทบการทำเหมืองแร่
เป็นข้อเสนอที่ดี เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบคือทั้งหมด 6 หมู่บ้าน โดยเฉพาะเรื่อง อาหาร และน้ำ น้ำกินจะทำอย่างไร ทั้งที่ต้องซื้อกินไปแล้ว และที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า น้ำใช้ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน
- 5. บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จะฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม ภายหลังหยุดกิจการ
บริษัท ทุ่งคำ จำกัดไม่ได้พูดถึง การเพิกถอนประทานบัตร ซึ่งแสดงหมายถึงว่า ต้องรอถึงการหยุดกิจการ (อายุประทานบัตร 25 ปี)
คำ ว่า“ภายหลังหยุดกิจการ” หมายถึงอะไร หมายความว่า จะทำเหมืองไปจนหมดอายุแล้วจึงฟื้นฟู หรือ ทำไป ฟื้นฟูไป แต่ถึงจะเป็นอย่างไรก็ตาม ความเห็นของชาวบ้าน 6 หมู่บ้าน คือ เพิกถอนประทานบัตร 112 แปลง หมายถึง ประทานบัตรทั้งหมดของทุ่งคำ
ทั้ง นี้และทั้งนั้น การจะดำเนินการอะไรที่เสนอมาได้ จะมีการดำเนินการเอาทุ่งคำมาลงโทษก่อน เนื่องจากชัดเจนว่า ทุ่งคำเป็นผู้ขนแร่ตามใบอนุญาต และทำให้เกิดความบาดเจ็บ ถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย
ข้อเสนอของตัวแทนกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิด 6 หมู่บ้าน
- เพิกถอนประทานบัตรทั้ง 6 แปลงของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด หลังจากนั้นบริษัทฯ สามารถขออุปกรณ์ของบริษัทฯ ออกไปได้
- หลังจากการเพิกถอนประทานบัตรทั้งหมดของบริษัทฯ แล้ว การขนแร่ของบริษัทฯ จะต้องมีการตรวจสอบโดยภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าสินแร่ทั้งหมดที่เหลืออยู่ถูกกฎหมาย โดยไม่รวมแร่จำนวน 176 ตันที่บริษัทฯ ขนไม่ทันในคืนวันที่ 15 พฤษภาทมิฬ
และการขนแร่ต้องเป็นไปตามระเบียบ ชุมชน ว่าด้วยการใช้ถนนชุมชนและการควบคุมน้ำหนักบรรทุกที่กำหนดน้ำหนักบรรทุก รถทุกประเภทบรรทุกน้ำหนักวิ่งบนถนนชุมชนได้ไม่เกิน 15 ตันและบรรทุกน้ำหนักบนทางหลวงได้ไม่เกิน 25 ตัน ตาม พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (ฉบับปรับปรุงปี 2549)
- คดีขนแร่ “คืน15 พฤษภาทมิฬ” จะต้องมีการสืบสวนสอบสวน บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ที่เป็นเจ้าของแร่และเป็นผู้ขนแร่ และได้ตัวผู้กระทำผิดทั้งหมด รวมถึงการกระทำผิดของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาลงโทษ
- ทหาร กำลังเข้าหมู่บ้านมาดำเนินการนอกเหนือไปจากที่กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดได้ร้อง ขอให้ทหารเข้ามาช่วยเหลือเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับชาวบ้าน และดำเนินการเอาผิดกับนายทหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดร่วมกับ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในการขนแร่ที่ทำร้ายชาวบ้านเท่านั้น
สถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ วันที่ 10 มิถุนายน 2557
- ช่วงเช้าของวันนี้ พนักงานของบริษัท ทุ่งคำ จำกัด จำนวนหนึ่งเดินทางเข้าไปในโรงงานเพื่อขนของส่วนตัวและอุปกรณ์บางอย่างออก เมื่อขนของออกมาหมดแล้ว ชาวบ้านทราบว่าจะมีพนักงานของบริษัทฯ15 คนเพื่อดูแลโรงงานที่เริ่มปิดกิจการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา
- ทหารแจ้งกับชาวบ้านว่า กองกำลังทหารจะอาศัยอยู่ในหมู่บ้านประมาณ 10 วัน ถ้าอยากจะให้อยู่ต่อ ก็ให้ชาวบ้านแจ้งความประสงค์ได้
- มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในหมู่บ้าน มาขอเคลียร์พื้นที่ทำความสะอาดบริเวณสี่แยกกำแพงใจ ซึ่งเป็นจุดเกิดเหตุจุดหนึ่งในเหตุการณ์ คืน 15 พฤษภาทมิฬ และเกี่ยวข้องกับคดีความอาญาและแพ่งทั้งหมด 7 คดีที่บริษัทฯ ได้ฟ้องร้องชาวบ้าน โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 270 ล้านบาท
ชาวบ้าน ได้ปฏิเสธการกระทำดังกล่าว เนื่องจาก บริเวณดังกล่าว เป็นที่เกิดเหตุและเป็นวัตถุแห่งพยาน จึงต้องรักษาสภาพเดิมไว้เพื่อการต่อสู้คดี
หมายเหตุชาวบ้านกำลังนัดเจ้าหน้าที่ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่มาพูดคุยเจรจาภายในวันนี้
ขอขอบคุณภาพเเละข้อมูลจาก เเม่ป๊อบ