1007 08 Jan 2014
รายงานจากอาเจะห์ อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงานจากขอนแก่น กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา Shukur2004@chaiyo.com http://www.oknation.net/blog/shukur "มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน" หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รุ่นที่ 2 มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เน้นการเปิดพื้นที่การพูดคุยในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้/ปาตานี จากจำนวน 30 ท่าน จากผู้นำศาสนาพุทธ มุสลิม นักการเมืองระดับชาติ ท้องถิ่น หน่วยงานความมั่นตง ไม่ว่าทหาร ตำรวจ หน่วยพัฒนาจากศูนย์อำนวยบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตัวแทนฝ่ายปกครอง ตัวแทนกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนผู้บริหารการศึกษาทั้งรัฐและเอกชน ประชาสังคม ตัวแทนสตรี และเยาวชนซึ่งจัดโดยสถาบันปกเกล้า โดยวางการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือบรรยายภาควิชาการ กระบวนการสันติสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจหรือหาทางออกร่วมกัน โดย วิเคราะห์ภายในกลุ่มโดยมีวิทยากรกระบวนการและการเสริมสร้างประสบการณ์เชิงประจักษ์โดยศึกษาดูงานในกระบวนการสันติภาพที่เขตปกครองตนเองที่อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลาสามวันคือ 16-18 ธันวาคม และศึกษาทฤษฎีต่างๆที่ปัตตานี โดยใช้เวลาทั้งสิ้นจำนวนสองเดือนนับตั้งแต่วันที่22 ตุลาคม – 11 ธันวาคม 2556 ซึ่งจากไปศึกษาดูงานที่อาเจะห์นั้นเราได้เรียนรู้กระบวนการสันติภาพจากประชาสังคมต่างๆของอาเจะห์รวมทั้งสภาปราชญ์อิสลามอาเจะห์ก่อนไปพบรัฐบาลท้องถิ่นอาเจะห์ ซึ่งทั้งหมดของผู้ศึกษาดูงานพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าประชาสังคมจะเป็นตัวกลางระหว่าง Tractk1 และ Track 3 คือชาวบ้าน ให้ประสบความสำเร็จถึงแม้ข้อตกลงด้านบนระหว่างคู่ขัดแย้งจะตกลงกันไม่ได้ในหลายครั้ง ทนาย อับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ.จากศุนย์ทนายความมุสลิม กล่าวสรุปว่า " จากการได้เดินทางไปดูงานที่อาเจะห์แล้วทำให้เห็นว่ากระบวนการสันติภาพเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างในการที่จะได้มาซึ่งสันติภาพ ที่สำคัญจากบทเรียนของอาเจะห์ จะเห็นได้ว่าสันติภาพต้องเกิดจากการก่อตัวของคนในเอง เพราะคนในจะต้องเผชิญกับความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย เสียงของคนในที่ออกมาบอกว่าไม่อยากเห็นความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สินอีกต่อไป จะเป็นพลังสำคัญในการผลักดันกระบวนการสันติภาพที่จะทำให้คู่ขัดแย้งลดอารมณ์แห่งความรุนแรงลง ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความอดทนและระยะเวลาในการก่อตัวของคนทำงานภาคประชาชนในพื้นที่เชื่อมกับแทรกสามในการผลักดันให้นำไปสู้่สันติภาพให้เกิดขึ้นจริงต่อไป " จากบทสรุปดังกล่าวทำให้นักศึกษารุ่นนี้ได้เสนอโครงการเพาะเมล็คพันธ์สันติภาพเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีผ่านสามกิจกรรมหลักคือเยาวชน นักศึกษา ผู้นำศาสนาพุทธ-มุสลิมและองค์กรชุมชนโดยใช้มัสยิดเป็นฐาน 4 ชุมชน ใน 4จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้หลักการและเหตุผลว่าเนื่องจากการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเริ่มรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ปี๒๕๔๗และยังคงต่อเนื่องโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลงแต่อย่างใด ในความเป็นจริงปัญหานี้เกิดมานานแล้ว แต่ไม่มีรัฐบาลสมัยไหนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง วิธีการแก้ปัญหามีต่างๆนานา แต่วิธีการหนึ่งคือการบ่มเพาะเมล็ดพันธ์สันติภาพให้กับประชาชนในพื้นที่หรือคนในด้วยกระบวนการสันติสนทนาเพื่อสร้างความเข้าใจหรือหาทางออกร่วมกันในปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความสำคัญมากทั้งคนในและคนนอกในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานีใน 3 กิจกรรมดังกล่าวอันเป็นการตอบโจทย์คนในเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง ของTrack 3 หากกลุ่มเหล่านี้ไม่เข้าใจสันติภาพที่จะเกิดก็ยากหรือหากมีความสำเร็จใน Track 1 ก็ยากที่จะยั่งยืน05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม