1636 05 Nov 2013
นวัตกรรมสู่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา “เล่าเรื่อง ชวนคุยลุยงาน” กรณีศึกษา ร.ร.เร๊าะห์มานีย๊ะห์ ตำบลป่าชิง อำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา กับ ร.ร.จริยธรรมศึกษามูลนิธิ ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ณ ห้องประชุมโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ อ.จะนะ จ.สงขลา วันที่ ๓๑ ต.ค. ๕๖ วิทยากรกระบวนการโดย: ผศ.ดร.จารุวัจน์ สองเมือง ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผูทรงเมตาปรานียิ่ง ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน ก้าวแรกของการชวนคุย... กระบวนการขับเคลื่อนโรงเรียนสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ผ่านการจัดการความรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกคนมีความรู้เพิ่มขึ้น ครูต้องมีมุมมอง-และความรู้เปลี่ยน เพื่อปรับเปลี่ยนองค์การ (โรงเรียน)ถ้าเราจัดกระบวนการเรียนรู้หรือที่เรียกว่าสอนไปไม่มีอะไรพัฒนา ถือว่าเราไม่พัฒนา เพราะ “ครูมุสลิมที่ดีจะต้องไม่โดนงูกัดในซ้ำรูเดิมถึง ๒ ครั้งหรือครูที่ดีควรเป็นครูมืออาชีพ ไม่ใช่อาชีพครูซึ่งปัจจุบันนักเรียนกำลังก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ” สิ่งเหล่านี้จึงควรเกิดขึ้นในการเรียนรู้องค์กรหรือLearning Organization โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา องค์กรจะเคลื่อนไม่ได้ถ้าเราไม่ร่วมกันทำ หลายสาเหตุที่เราต้องหันกันมาขบคิด เช่น ทำไมคนไปอบรมกลับมาทำไมเกิดความล้มเลว บางครั้งไปอบรมเอาความรู้ภายนอกแล้วมาขับเคลื่อนในโรงเรียนซึ่งต่างบริบทของการรับรู้มาในการอบรม ทำให้งานไม่เคลื่อน เพราะฉะนั้นคุณค่าในโรงเรียนน่าจะมีคุณค่ามากกว่า ที่สำคัญบางครั้งการทำให้เหมือนกันบางครั้งทำให้เกิดปัญหา ความรู้ที่ครูมีในโรงเรียนหรือสถานศึกษา คือ ๑. ความรู้ที่ครูมี (เดิมในวิชา) ๒. ความรู้ในการจัดการเรียนรู้หรือในอดีตที่เรียกว่าการสอน (เทคนิคการสอน) สิ่งที่พบ เวลาประชุมประจำเดือนแต่ละโรงเรียน ๙๐ เปอร์เซ็นต์ คือเจ้าของโรงเรียนเป้นคนพูด ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นวิทยากร ครูไม่ได้พูดเลย สิ่งที่น่าคิดคือหลายต่อหลายครั้งการประชุมใหญ่ๆไม่ได้จบบนโต๊ะการประชุม ถึงเวลาแล้วที่วันนี้ในมือของเราแต่ละคนกำอะไรไว้ แบมันออกมา ที่ผ่านมาเวลาเราคุยเรามักจะคุยเรื่องที่บั่นทอนกำลังใจกันใช่หรือไม่ เวลาอยู่โรงเรียนครูคุยเรื่องอะไรกัน...? ขยับองค์กรสู่การเรียนรู้...เล่าเรื่องดีๆกัน มีเรื่องราวมากมายที่น่าค้นหาดังนี้... เช่น… เรื่อง “ทำความสะอาดบ้าน” จากกลุ่ม ๑ โดย ครูโรงเรียนจริยธรรมฯ ชวนเด็กคุยว่าใครเคยทำความสะอาดบ้านอะไรบ้าง แล้วให้เด็กวาดภาพ แล้วติดรูปตามฝาผนัง ...เด็กมีความสุขนั่งชื่นชมในผลงานของเขา ความคิดเห็นจากต่างกลุ่ม : ครูซอและห์ จากโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ มองเห็นว่าสิ่งที่น่าชื่นชมคือ ครูไม่สอนแต่เด็กสามารถร่วมชั้นเรียนกับครูได้ (มองเรื่องเทคนิคการสอน) สิ่งสำคัญ...คือการชื่นชมผลงานของเด็ก อีกตัวอย่าง… ครูเซาะห์ นำเสนอ เรื่อง “ประสบการณ์ ๖ เดือน” ตอนแรกที่เข้ามาคุมชั้นเรียนไม่ได้ เด็กจะเล่น ตอนสอนคาบ ๑-๖ คุมไม่ได้เลย พอถึงคาบที่ ๘ เลยคิดสื่อ...เลยกลับไปคิดบัตรคำ นำบัตรคำไปแอบ เข้าห้องเรียน ทักทาย นร. เหมือนทุกๆวัน บอกเด็กว่าเราจะเล่นเกม แบ่งกลุ่มชาย-หญิง แล้วให้ นร. ออกไปหาคำศัพท์ ให้ออกหาคำศัพท์ จดคำศัพท์ นร. เกิดความสุข เกิดความสนุกในกิจกรรม ความคิดเห็นต่างกลุ่ม : ครูชายจาก ร.ร.จริยฯ ครูมีความตั้งใจสูง แม้จะกังวลอยู่บ้าง ด้วยการหาวิธีการให้เด็กอยากเรียนและมีส่วนร่วม อีกตัวอย่าง… ครูอาซูวัน จากโรงเรียนเร๊าะห์มานีย๊ะห์ ครูส่วนใหญ่เป็นครูใหม่ ตัวเองเข้าสอนวันแรกวิชาคอม “ตั้งคำถามก่อน-เด็กตอบว่าหนูไม่รู้จักคะ/ครับ” มองหาอุปกรณ์รอบตัว เอาอุปกรณ์ที่เสียมาเป็นสื่อ วันหลังเลยเอาอุปกรณ์มาเป็นสื่อถามเด็ก นร.ใช้วิธีการสอนน้อย-ศึกษาเยอะๆ แล้วให้เด็กสรุป เช่น นร. ม.๑ ให้ นร. แบ่งกลุ่มให้ นร. ศึกษาตามหน่วยการเรียนรู้ ...หลังจากนั้นครูก็สรุป ความคิดเห็นต่างกลุ่ม : ครูเนตรนภาจากเร๊าะห์มานีย๊ะห์...ชื่นชมวิธีการสอนที่เพื่อนครูไม่เคยเจอ นร. แต่สามารถนำสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัวแล้วนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่มองเป็นปัญหา ครูแดน่า จากเร๊าะห์มานีย๊ะห์ เล่าให้ฟังว่าการสอนภาษาจะให้เด็กชอบ คือ ให้เด็กได้ฝึกออกเสียง “การไม่รู้คำศัพท์ ดับอนาถ ทุกภาษา” สอนเสริมเด็ก ม.๑ พูดกับเด็กพูดให้ชัดทุกภาษา ดังนั้นการออกเสียงฝึกให้เด็กอ่านออกเสียงพร้อมครู มีการสอนอ่านทุกคาบ เนื่องจากเด็กไม่รู้ภาษา-จึงควรฝึกมากๆ ...ได้ไปอบรมที่หาดใหญ่ ได้เกมมา “ครูเขียนถามวันเกิดของเด็ก “What is your birthday ”ให้เด็กเขียนวันเกิดของตัวเอง เขียนเสร็จเก็บใส่กล่อง แล้วให้เพื่อนๆมาหยิบ หลังจากนั้นครูก็ให้เพื่อนๆที่หยิบได้ก็ไปถามเพื่อนตามคำสั่งที่ครูฝึกให้ เดินหาเพื่อนที่เกิดวันนั้น– (เกมที่ ๒) ถามเด็กต่อว่าเมื่อวานไปสวนสัตว์ นร. วาดรูปแล้วบอกว่าไปเจออะไรบ้าง ความคิดเห็นต่างกลุ่ม : ครูญาดา จากเร๊าะห์มานีย๊ะห์ มองเห็นว่าน่าจะนำไปใช้ในรายวิชาฟิสิกส์ ได้ ครูสาว จากเร๊าะห์มานีย๊ะห์ เรื่องเด็กมีพฤติกรรมการเรียน ม.๖ รุ่นแรกมองว่าทำไมเด็กไม่เอาการเรียน ยังเล่น ไม่มองอนาคต ทั้งๆที่อยู่ ม.๖ พอเข้าไปสอนเจอปัญหา เลย เปลี่ยนวิธีการสอนจากเดิมบรรยายปกติ เลย เดินจี้เป็นรายบุคคล พอเราไปให้ความสนใจกับทุกคน / เด็กจบไปแล้วมาหาครูให้ติวแคลคูลัส เด็กกลับไปสอบผ่านในระดับมหาวิทยาลัย เด็กรู้สึกว่าจบไปแล้วครูยังช่วยเขาได้ นร. สำนึกได้ในสิ่งที่ครูเคยพร่ำสอน ความคิดเห็นต่างกลุ่ม :ครูชายจริยฯ ครูที่นำเสนอเป็นครูพันธุ์ใหม่ ...โดยใช้การเข้าถึงตัวตนของ นร. เข้าใจบุคลิก เข้าถึงเด็ก ครูซอและห์ จากเร๊าะห์มานีย๊ะห์ เรื่องเทคนิคการสอน ม.๒ วิธีการสอนศิลปะ เดิมเด็กไม่ให้ความร่วมือนั่งสะเปะสะปะ คุณครูให้เด็กมานั่งข้างหน้าจัดห้องใหม่ เข้าประชิดตัว แล้วเวียนสอน ความคิดเห็นต่างกลุ่ม :ครูอามีน จากเร๊าะห์มานีย๊ะห์ ประทับใจการเป็นครูเปรียบเสมือนพ่อ-แม่ ในฐานะที่เป็นครูใหม่ ๖ เดือน ตอนแรกที่เข้ามากินแต่ยาไทลินอล (แก้ปวดหัว) สมัยเรียนตัวเองก็ไม่ใช่คนตั้งใจเรียนอะไร พอมาเปลี่ยนสถานะเป็นครูเลยรู้ ขอชื่นชมศักยภาพในการให้คำแนะนำของรุ่นพี่ๆ KM(Knowledge Management) เราคุยเรื่องดีๆ โดยเอาตัวเองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นเราจะไม่คุยเรื่องไม่ดีของเรากระบวนการนี้เรียกว่า COP (Community Of Practice )เสร็จเราต้องมี “ท.ท.ท. : ทำทันที” -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- โจทย์...อะไรคือปัญหาหลักที่เราอยากจะแก้ ระหว่างเรา(ครู) กับเด็กหรือผู้เรียน แล้วสามารถทำได้ทันที “การเรียนรู้สมัยใหม่ เราไม่ใช่สนใจคำตอบแต่เราสนใจวิธีกระบวนการหาคำตอบ...” สิ่งเหล่านี้จึงมีความสำคัญ อาทิ PLC: Professional Learning Communityเรียนแล้วเด็กควรได้ Criticalthinking - ปัญหาที่ต้องการแก้ไขเกี่ยวกับ นักเรียน. - นร. ชอบออกจากห้องทุก ๕ นาที / นร. ออกนอกบริเวณโรงเรียนต้องขออนุญาตจากฝ่ายปกครอง - นร. มีพฤติกรรมก้าวร้าว วิธีการแก้ปัญหา ครูทุกคนต้องปลูกฝังมารยาท (อัคลาค) ก่อนจะจบชั้นเรียน ครูทุกคนต้องให้ข้อคิดท้ายบท - นร. ใช้ภาษาถิ่นในห้องเรียน ทำให้ภาษาที่เด็กสื่อสารเป็นภาษาถิ่น - นร. ไม่ส่งการบ้าน วิธีแก้คือครูต้องติดตามสม่ำเสมอ ให้แรงเสริม หลายๆปัญหาต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง - ปฐมวัย เด็กมาสาย เด็กงอแง เด็กไม่อยากมาเรียนในช่วงแรกๆ ครูจะต้องชี้แจงให้เด็กๆเข้าใจ - เด็กใช้ภาษาท้องถิ่น (ปฐมวัย) - เด็กมีปัญหาครอบครัวผู้ปกครองไม่ค่อยได้อยู่กับเด็กๆ เนื่องจากออกไปทำงาน - ผู้ปกครองบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ / ไม่ใส่ใจเด็กๆเท่าที่ควรไม่มีข้อมูลให้ครู - นร. ขาดการใช้ภาษากลาง /มีพฤติกรรมก้าวร้าว / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ หรือเพราะส่วนใหญ่ครูที่จบยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ วิธีการแก้ปัญหา ...ครูสอนซ่อมเสริม จัดการติวอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดอบรมคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ นร. – สร้างแรงจูงใจในการอยากเข้าเรียนและเรียนรู้ - ครูควรทำวิจัยชั้นเรียน - นร. มีความหลากหลายต่างพ่อต่างแม่ จึงมีบุคลิกต่างกัน วิธีการแก้ คือการสอนปรับพื้นฐานทั้งทักษะความรู้และทักษะชีวิต (เพื่อให้ นร. มีพื้นฐานที่ไม่ต่างกันมากในเรื่องความรู้) - ปัญหาที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับครู - สื่อการเรียนการสอนขาดแคลน เช่น วิชาศิลปะ วิชาภาษาขาดแคลนหนังสือในห้องสมุด เด็กได้รับความรู้แค่เพียงด้านเดียว วิธีการแก้ปัญหา ครูควรสามารถปรับประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ นร. ศึกษา / วิชาภาษาอังกฤษ เช่น ให้เด็กลงพื้นที่จริงแล้วไปพบสิ่งนั้นจริงๆ แล้วเรียนรู้คำศัพท์ - ครูไม่ได้จบสายวิชาโดยตรง ครูต้องสร้างจุดยืนให้แก่ตัวเอง - ครูไม่มีสื่อการสอน ไม่สามารถผลิตสื่อได้ทุกหน่วย วิธีการแก้คือครูควรผลิตสื่อทุกหน่วยที่เป็นรูปธรรม - ครูไม่เตรียมแผนการสอน วิธีการแก้เตรียมแผน - ครูขาดการติดตาม - ครูโดยตรง / ครูไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู ไม่ได้จบสายการศึกษา จึงขาดการจัดการเรียนการสอน - ครูไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้ทันกับศตวรรษที่ ๒๑ วิธีการแก้ปัญหา คือ ให้จัดการเรียนรู้ที่ นร. มีส่วนร่วม / หรือสอนแบบใช้นิทาน ใช้เกม - ครูมีภาระงานอื่นๆนอกเหนือจากงานสอน ถึงเวลาสอนก็จะไปสอนเลย - ครูต้องพยายามออกแบบการเรียนรู้ที่สามารถวิเคราะห์เด็กได้หลายๆแบบ *** อยากให้ครูใช้อินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ - ครูขาดการใช้นวัตกรรม วิธีแก้คือ ส่งครูเข้าร่วมอบรม แม้โรงเรียนอาจทำอยู่บ้างแต่ก็ยังไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะครูศาสนาควรได้รับสิ่งเหล่านี้ด้วย - ครูขาดอุปกรณ์การเรียนรู้โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เป็นปัจจุบันคือเด็กไม่ได้ทดลอง แม้จะใช้วิธีการแก้ไขโดยการดูวิดิทัศน์การทดลอง ก็ยังทำให้เด็กขาดทักษะจริง - ครูที่ขาดสอน ควรมีการเสริมแรงหากมีการสอนแทน - ศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ต่อ นร. วิธีแก้คือปรับกระบวนการเรียนรู้ - ครูมักจะบรรยายและสอนตามหนังสือย่างเดียว - ครูไม่ได้เตรียมการสอน อาจจะด้วยหลายปัจจัย - ครูไม่สามารถทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน - ครูต้องรู้จักวิเคราะห์ นร. มุมมองผู้ทรงคุณวุฒิ (อ.อับดุลสุโก ดินอะ) ... - การใช้สื่อไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ต้องมีการแลกเปลี่ยนกันในการถ่ายทอด ที่สำคัญการผลิตสื่อข้ามสายวิชาที่น่าสนใจ - ผู้ปกครองมีหลายระดับ จึงต้องมีแบบตรวจสอบที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นบางกรณีอาจจะต้องมีการเยี่ยมบ้านบ้างในบางกรณี - ใช้ครูที่ตรงสายและใช้ครูที่จบวิชาชีพครูจัดโครงการแลกเปลี่ยนกันเองกับครูที่ไม่ได้ด้านการสอนโดยเฉพาะครูสอนวิชาอิสลามศึกษาในสาระต่างๆในขณะเดียวกันควรให้คริสลามศึกษาเป็นที่ปรึกษาเพื่อบูรณาการกับหลักศาสนาเพื่อไม่ให้ครูหรือผู้เรียนคิดแยกส่วน เพราะครูอื่นๆจะได้มีกำลังใจ - ใช้ทรัพยากรภายในในการอบรมให้คุ้มค่า - ปัญหาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเด็กเรียนหลายวิชาทั้งศาสนาและสามัญ (๘สาระหลักศาสนาและสามัญไม่นับสาระเพิ่มเติม) หากเราสามารถออกแบบบูรณาการในการสั่งงานและให้คะแนนข้ามศาสตร์ได้ เพื่อลดการทำงานที่หนักของ นร.จะดีมาก - ไปขอใช้แลปจากมหาวิทยาลัย โดยที่โรงเรียนต้องออกแบบการทดลองก่อน - การสอนแทน ผู้บริหารควรมีการตรวจสอบคุณภาพในการทำหน้าที่แทน - ครูที่ขาดสอนเกิน ๕ ครั้งควรจะกลับมาสอนซ่อมเสริมแทนด้วยตัวเองด้วย - อ.จารุวัจน์ ให้โจทย์ ทำยังไงจะแก้พื้นฐานเด็ก ได้ทันท่วงที - ที่ ร.ร. จริยธรรมศึกษามูลนิธิ ใช้กระบวนการนิเทศ และพูดคุยด้วยการเลือก Best Practice มาร่วมพูดคุย - แต่ละสาระควรมีที่ปรึกษาทางด้านศานาในสายวิชาสามัญ - วิธีการบูรณาการที่ดีที่สุด คือ การวางโจทย์มาก่อน ข้อตกลงที่จะต้องเดินต่อในก้าวต่อไป...สำหรับแผนระหว่าง ๒ เดือน พ.ย.-ธ.ค. ๕๖ - อย่างน้อยจะต้องมีการประชุมกลุ่ม ๒ สัปดาห์/ครั้ง ...แล้วต้องทำทันที (ท.ท.ท.) - บันทึกการประชุม (ทำอะไร ปรับกิจกรรม แล้วเปลี่ยนแผนอะไร) แล้วทำบอร์ด ให้แต่ละกลุ่มเอาไปติด เพื่อนร่วมงานทุกคนได้อ่านแล้วแลกเปลี่ยนผ่านการนำเสนอของเพื่อนร่วมงาน สิ่งสำคัญคือ “ทำ คิด ลองเท่าที่ทำได้” เรียบเรียงสรุป : ฟูอ๊าด (สุรชัย) ไวยวรรณจิตร รายงานโดย อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม