แถลงการณ์กลุ่มรักษ์คอนสาร “หยุดโรงงานยางพารา หยุดหายนะของแผ่นดินคอนสาร”

1101 27 Aug 2013

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: โรงงานยางพารา,คอนสาร แถลงการณ์กลุ่มรักษ์คอนสาร ฉบับที่ 3 “หยุดโรงงานยางพารา หยุดหายนะของแผ่นดินคอนสาร” กราบ เรียนพี่น้องชาวคอนสาร และผู้รักความเป็นธรรมทุกท่าน เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มนายทุนฉวยโอกาส เข้ามากว้านซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างโรงงานยางพาราอัดแท่งขนาดใหญ่มาก กำลังการผลิต 12,000ตัน/เดือน ซึ่งเป็นจำนวนมหาศาลในเขตพื้นที่หมู่บ้านหินรอยเมยตำบลดงบังอ.คอนสาร จ.ชัยภูมิโดยพฤติกรรมดังกล่าวเป็นไปอย่างเงียบเชียบ ซ่อนเร้น ปิดบังไม่โปร่งใส ผู้ที่ได้รับผลกระทบ   โดยตรง ในวงกว้างไม่ได้รับรู้ ไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบประกาศให้ประชาชนทราบ มี การลัดขั้นตอนใน การขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน รับรู้เฉพาะกลุ่มผู้ได้รับประโยชน์จากกลุ่มนายทุนฉวยโอกาสแต่หารู้ไม่ว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นคือ หายนะของผู้คนและสภาพแวดล้อมโดยรวมของแผ่นดินคอนสาร จะพังทลายย่อยยับไปพร้อมกับการสร้างโรงงานแห่งนี้ หากจะกล่าวโดยรวม ผลกระทบจากกระบวนการผลิตยางพาราอัดแท่งของโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่ง มีมลภาวะมากมายหลายด้าน จะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศและชีวิตผู้คน อาทิเช่น สารพิษจากกระบวนการผลิตยางพาราอัดแท่งที่มีน้ำเสียจำนวนมหาศาลที่จะไหลลงสู่ พื้นที่ทำการเกษตร และแหล่งน้ำธรรมชาติ กลิ่นเหม็นฟุ้งกระจายไปไกลเกินกว่า 10 กิโลเมตร ฝุ่นละอองและควันจากการผลิตจะทำให้อากาศเสีย ผู้คนเป็นโรคทางเดินหายภูมิแพ้ น้ำฝนไม่สามารถดื่มได้ สังกะสีบ้านเรือนผุกร่อน เนื่องจากฝนกรด เกิดเสียงดังจากการเดินเครื่องรบกวนรำคาญ ฯลฯ โรงงานยางพาราใช้น้ำเพื่อการผลิตมากโดยสูบน้ำบาดาลจากปั๊มขนาดใหญ่มากพี่ น้องที่ใช้น้ำบาดาลเพื่อการบริโภค และเพื่อการเกษตรจะขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เหล่านี้คือความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ใน การนี้ กลุ่มรักษ์คอนสาร จึงเรียนมายังพี่น้องชาวคอนสาร และผู้ที่มีความสำนึกรักถิ่นเกิด รักความเป็นธรรมทุกท่าน ได้ออกมาแสดงพลังในการคัดค้าน ต่อต้านการก่อสร้างโรงงานยางพาราอัดแท่ง และมุ่งนำเสนอข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นต่อผู้คนทั่วไป ท่านสามารถดำเนินการได้ในหลายรูปแบบ เช่น การกระจายข้อมูล ข่าวสารกับพี่น้อง ญาติมิตร การเขียนข้อความหน้าบ้าน ทางเข้าชุมชนเพื่อคัดค้าน การปฏิเสธให้ความร่วมมือกับกลุ่มนายทุนและบริวาร และในท้ายที่สุดคือ การเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์แสดงพลังไทคอนสาร คัดค้านโรงงานสารพัดพิษ ในเร็ววันนี้ พวก เรากลุ่มรักษ์คอนสาร จะเป็นส่วนหนึ่งของการพิทักษ์มาตุภูมิไว้ให้ลูกหลานของเราได้สืบทอดต่อไป และจะเคียงบ่า เคียงไหล่กับพี่น้องชาวคอนสารในการคัดค้านการก่อสร้างโรงงานยางพารา ให้ถึงที่สุด ด้วยความสมานฉันท์ กลุ่มรักษ์คอนสาร ลำดับเหตุการณ์ความเป็นมาและข้อสังเกต การขออนุญาตจัดตั้งโรงงานยางพารา บ้านหินรอยเมย ตำบลดงบัง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ จาก เหตุการณ์การเข้ามาขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานยางพาราของ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน) กับองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ได้ก่อให้เกิดคำถามกับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นจำนวนมากซึ่งการเข้ามา ดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างเงียบเชียบและเร่งรัดการดำเนินการ โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านสุขภาพของชุมชน จึง ทำให้ประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบหากมีการก่อสร้างโรงงานดังกล่าว ได้รวมตัวกันในนาม”กลุ่มรักษ์คอนสาร” ได้มีการตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวและมีการลำดับเหตุการณ์ดังนี้
ช่วงเวลา ลำดับเหตุการณ์
ต้นปี 2556 มีนายหน้ามาติดต่อกว๊านซื้อที่ดินจากชาวบ้านไร่ละ100,000บาท
12 กรกฎาคม 2556 บริษัทศรี ตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัด(มหาชน)ได้ทำหนังสือ ขออนุญาตตั้งโรงงานประกอบกิจการโรงงาน และขอจัดทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารสิ่งปลูกสร้างประเภทโรงงานผลิตยางแท่ง และยางผสม โดยจะสร้างอาคารโรงงานในลักษณะอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่นอาคารหลัก(อาคารผลิตและอาคารเก็บวัตถุดิบ),อาคารสำนักงาน,บ้านพัก พนักงานและคนงาน,บ่อบำบัดน้ำเสีย,บ่อน้ำ และมีกำลังการผลิตยางแท่งและยางผสมเดือนละ 12,000 ตัน / เดือน กำลังการผลิต 18,000 แรงม้า บนเนื้อที่ 291 ไร่
15 กรกฎาคม 2556 องค์การบริหารส่วนตำบลดงบังได้ทำหนังสือที่ชย. 78201.1/648 ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2556 เพื่อขออนุญาตนายอำเภอคอนสารเดินทางไปราชการนอกเขตจังหวัดชัยภูมิในวันที่ศุกร์ 19 กรกฎาคม 2556 โดย เป็นการไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานยางพารา ของบริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัด (มหาชน) ซึ่งคณะผู้ศึกษาดูงานประกอบด้วยคณะทำงานอำเภอคอนสาร คณะผู้บริหาร สมาชิกสภา พนักงานส่วนตำบล กำนันตำบลดงบัง ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลดงบังจำนวน 90 คน
16 กรกฎาคม 2556 -องค์การ บริหารส่วนตำบลดงบังแจ้งขออนุญาตจัดตั้งโรงงานประกอบกิจการ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีจำกัด (มหาชน)กับนายอำเภอคอนสารเพื่อให้พิจารณาการแจ้งการขออนุญาตดังกล่าว ตามหนังสือที่ชย.78201.1/655 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 -องค์การ บริหารส่วนตำบลดงบังทำหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่ในการประชาคม จัดตั้งกิจการโรงงาน ของวัดหินรอยเมยในวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2556 ตามหนังสือที่ชย.78201.1/651 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 -องค์การ บริหารส่วนตำบลดงบังทำหนังสือเชิญ เข้าร่วมประชุมประชาคมหมู่บ้าน โดยเชิญสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง กำนันตำบลดงบัง และผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน เพื่อเข้าร่วมหารือ แสดงความคิดเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาในการดำเนินการอนุญาตก่อสร้าง และตั้งโรงงาน ในวันที่เสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2556 เวลา 9.00น.ตามหนังสือ ที่ชย.78201.1/654 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2556
19 กรกฎาคม 2556 บริษัท ได้พาผู้นำ และชาวบ้านไปศึกษาดูงานการประกอบกิจการยางพารา การผลิต การแปรรูปยางพาราของ บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)สาขาอุดรธานี มีผู้เข้าร่วมดูงานจำนวน 78 คน
20 กรกฎาคม 2556 องค์การบริหารส่วนตำบลดงบังได้จัดประชาคมหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วม 463 คนโดยมีองค์ประกอบดังนี้ ปลัดอำเภอคอนสาร เกษตรอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต.17 คน 8 หมู่บ้าน ชาวบ้านต.ดงบัง 8 หมู่บ้าน และ ตัวแทนบริษัท
1 สิงหาคม 2556 มีการประชุมสมัยสามัญสมัยที่ 3 ครั้งที่ 1 ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบอนุญาตให้บริษัทศรีตรังเข้ามาประกอบกิจการ
15 สิงหาคม 2556 ชาว บ้านและกลุ่มพ่อค้าท้องถิ่นผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างโรงงานดังกล่าว ได้มีการรวมตัวกัน และจัดตั้งกลุ่มรักษ์คอนสารขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการคัดค้านโรงงานยางพารา และ ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอำเภอคอนสาร
19 สิงหาคม 2556 กลุ่มรักษ์คอนสารได้ยื่นหนังสือกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงบังตามหนังสือ ที่พิเศษ / 2556 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2556 เพื่อ ขอให้ทบทวนมติการอนุญาตสร้างโรงงานยางพาราในพื้นที่ตำบลดงบัง และขอให้เปิดเผยข้อมูลกรณีการขออนุญาตสร้างโรงงานยางพาราในพื้นที่ตำบลดงบัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงบังรับเรื่องและจะจัดส่งข้อมูลให้ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2556
23 สิงหาคม 2556 กลุ่มรักษ์คอนสาร ได้มารับข้อมูลเอกสารที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง
  แนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อรองรับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ซึ่งในประกาศกระทรวงฯ กำหนดให้โครงการหรือกิจการ 34 ประเภท ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ ในเอกสารท้ายประกาศได้กำหนดให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อมต้องดำเนินการตามแนวทาง การประเมิน ผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบ ปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสาหรับ โครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้าน คุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ “การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน   อย่างไรก็ตามสิ่งที่เกิดขึ้นและเป็นข้อสังเกตจะเห็นความไม่ครบถ้วนของขั้นตอนกระบวนการขอจัดตั้งโรงงานดังนี้
  1. ในขณะที่โรงงานจะมีการผลิตให้ได้ 12000 ตัน / เดือน มีกำลังการผลิต 18000 แรงม้า และผลิตตลอด 24 ชั่วโมง ถือได้ว่าเป็นโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งต้องมีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสุขภาพตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก่อนดำเนินการใดๆ
  2. ระยะเวลาการดำเนินการ ใช้เวลาประมาณ 21 วันในการจัดการเพื่อให้ผ่านขั้นตอนของท้องถิ่นระดับพื้นที่ดังรายละเอียดข้างต้น
  3. ใน การประชาพิจารณ์ขาดการเปิดเผยข้อมูลโดยกว้างขวางและขาดกระบวนการมีส่วนร่วม ของชุมชนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งชุมชนที่จะได้รับผลกระทบรอบบริเวณใกล้เคียงโรงงาน
  4. พื้นที่ในการจัดตั้งโรงงานไม่ห่างไกลจากชุมชน
ฯลฯ ดัง นั้นกลุ่มรักษ์คอนสารจึงได้มีการรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือคัดค้านการ ดำเนินการดังกล่าวและร้องเรียนส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้นเป้าหมายคือการคัดค้านการก่อสร้างโรงงานยางพาราในพื้นที่ บ้านหินรอยเมย ต.ดงบัง อ.คอนสาร จ. ชัยภูมิ  

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม