1398 06 Aug 2013
โครงการสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน “เปลี่ยนเกษตรกรรม...สู่ความยั่งยืน” หลักการและเหตุผล จาก สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก นโยบายการพัฒนาประเทศ อายุเฉลี่ยของเกษตรกรที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นต้น ล้วนส่งผลกระทบต่อคนในภาคเกษตรกรรมซึ่งต้องตั้งรับปรับตัวให้เหมาะสมกับการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพโดย เฉพาะในด้านเกษตรกรรมยั่งยืนแล้วได้รับการพัฒนาส่งเสริมจากหน่วยงานภาคส่วน ต่าง ๆ ไปสู่วงกว้างขึ้น อีกทั้งตัวเกษตรกรเองยังมีการนำองค์ความรู้ที่ได้มาจากภูมิปัญญา ความรู้ด้านวิชาการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในระดับฟาร์มจนทำให้เกษตรกรรม ยั่งยืนมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น จาก การพัฒนารูปแบบด้านเกษตรกรรมยั่งยืนของภาคเกษตรกรรมไทย ทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาของเกษตรกรรายย่อยจนถึงการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ในระดับชุมชน รวมทั้งการพัฒนาให้เป็นทางออกของสังคมในการพัฒนาภาคเกษตรกรรมไทย ส่วนในระดับพื้นที่นั้นพบว่าองค์ความรู้ภูมิปัญญาของเกษตรกรและกลุ่มองค์กร ชาวบ้านได้ถูกยกระดับ พัฒนาและนำมาปรับประยุกต์ใช้อย่างหลากหลาย รวมทั้งได้ก่อเกิดงานศึกษาวิจัยที่ดำเนินการโดยชาวบ้านเพื่อตอบโจทย์ของตน เอง ทั้งความรู้ที่เป็นเทคนิควิทยาการในระดับแปลง การพึ่งตนเองทางปัจจัยการผลิต การจัดการผลผลิต การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงการปรับเปลี่ยนเข้ามาสู่แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน รวมทั้งเชื่อมโยงกับการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคมในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ เป็นต้น ทั้ง นี้ การเปลี่ยนผ่านของการทำเกษตรกรรมในยุคปัจจุบันภายใต้สถานการณ์ที่มีผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมนั้นมีความจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ทางความรู้เพื่อให้ เกิดการหนุนเสริมกันของตัวเกษตรกร ชุมชน นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ไปจนถึงการหนุนเสริมในด้านนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำเกษตรกรรมที่มุ่ง เน้นไปสู่ความยั่งยืนในอนาคต และนอกจากนี้แล้วกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่จะสามารถมีพื้นที่ในการแสดงตัวตน สามารถร่วมเรียนรู้ สืบทอดจากคนรุ่นก่อนอันจะนำไปสู่การทำให้เกษตรกรรมมีความก้าวหน้าไปได้มาก ยิ่งขึ้น รวมถึงการเข้ามาทำความเข้าใจของคนในภาคเมืองในวิถีการทำการเกษตรของเมืองการ สร้างพื้นที่ทางอาหารภายในเมืองอันจะนำไปสู่การเชื่อมต่อของภาคเมืองและภาค เกษตรเพื่อให้เกิดความตระหนักในการร่วมกันทำให้วิถีการผลิตมีความปลอดภัย เป็นธรรม เกื้อกูลต่อทุกชีวิต การ มีเวทีเพื่อนำเสนอบทเรียน ประสบการณ์การพัฒนาองค์ความรู้ และการทำงานวิจัยของกลุ่มองค์กรชาวบ้านต่อสาธารณะชนในวงกว้างจึงเป็นส่วน สำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจและยอมรับในศักยภาพของเกษตรกรและองค์กรชุมชนที่ สามารถแก้ปัญหาของตนเองและสามารถพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนโดยเกษตรกรรายย่อยที่ มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งการแลกเปลี่ยนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับแปลง ชุมชน ประเทศและโลกจะช่วยให้เกิดการตั้งรับปรับตัวของเกษตรกรต่อการเปลี่ยนแปลงใน อนาคตได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีแนวทางที่จะสร้างการพัฒนาให้ระบบเกษตรกรรมไทยมีความมั่นคงและ อยู่รอดได้เป็นเสมือนการเปลี่ยนเกษตรกรรม....สู่ความยั่งยืน วันที่ วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ – วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ สถานที่ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวในสังคมโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรม ๒. เพื่อเป็นการรวบรวมประมวลผลความรู้ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและนำเสนอประสบการณ์ องค์ความรู้และผลงานวิจัยสู่สาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเกษตรกร และองค์กรชุมชนในการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ๓. เพื่อเป็นการขยายผลความรู้และสร้างให้เกิดคนทำงานด้านเกษตรกรรมมากขึ้น ๔. เพื่อเป็นพื้นที่ในการการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เศรษฐกิจ ชุมชนและสังคม ๕. เพื่อนำเสนอทิศทางในการขับเคลื่อนวัตกรรมและระบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้ขยายวงกว้างมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๔๐๐ คน ประกอบด้วย ๑. เกษตรกร ผู้แทนกลุ่มองค์กรชุมชน คนรุ่นใหม่ในภาคเกษตร ๒. คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรมหาวิทยาลัย นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา ๓. ตัวแทนหน่วยงาน/องค์กรที่ทำงานด้านการวิจัยแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยั่งยืน และองค์กรพัฒนาเอกชน ๔. ข้าราชการ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ (ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนโยบาย) ๕. ผู้แทนจากภาคเอกชน ๖. สื่อมวลชนและผู้สนใจทั่วไป องค์กรร่วมจัด มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก โครงการสวนผักคนเมือง มูลนิธิชีววิถี ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) แผนงานส่งเสริมการพัฒนาระบบเพื่อสุขภาวะของเกษตรกรและความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม (ร่าง) กำหนดการงานสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน : เปลี่ยนเกษตรกรรม...สู่ความยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๙ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๖๐๙.๐๐–๐๙.๑๕ น. | ๐๙.๑๕-๑๐.๐๐ น. | ๑๐.๐๐-๑๐.๑๕ น. | ๑๐.๑๕-๑๒.๓๐ น. | ๑๒.๓๐-๑๔.๐๐ น. | ๑๔.๐๐-๑๗.๐๐ น. |
พิธีเปิด กล่าวรายงาน โดยคุณสุภา ใยเมือง กล่าวต้อนรับ โดยตัวแทน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิด โดย คุณเดชา ศิริภัทร | ปาฐกถา “อนาคตของภาคเกษตรกรรมไทยในสถานการณ์สากล” โดย ดร.อัมมาร สยามวาลา | พัก | เสวนา “เกษตรกรรมยั่งยืน : การดำรงอยู่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง” เปิดประเด็นการเปลี่ยนแปลง/สถานการณ์ด้านเกษตรและคุณค่าเกษตรกรรมยั่งยืน โดย ๑. ดร.สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ : มูลนิธิสายใยแผ่นดิน สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ๒. รศ.ดร.อนุชาติ พวงสำลี :รองอธิการบดีฝ่ายระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล คุณค่าด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมของเกษตรกรรมยั่งยืน ๓. คุณอธิคม คุณาวุฒิ : บรรณาธิการบริหารนิตยสาร way ๔. คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ : ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี : สถานการณ์พันธุกรรม ดำเนินรายการโดย คุณจักรชัย โฉมทองดี :กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขต การค้าเสรีภาคประชาชน | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | “นโยบายเกษตรอินทรีย์กับทางออกเกษตรไทย” เสนอแนวคิดนโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในไทยในมุมมองต่าง ๆ โดย ๑. ดร.ชมชวน บุญระหงษ์ : วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ๒. ดร.กฤษฎา บุญชัย : นักวิชาการอิสระ ๓. คุณบุญส่ง มาตขาว : ประธานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ๔. คุณกนกศักดิ์ ดวงแก้วเรือน : นายก อบต.แม่ทา ๕. คุณวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ :เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๖. คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล : นายกสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ๗. คุณรัชนี สนกนก : เศรษฐกรเชี่ยวชาญ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ๘. ตัวแทนสมาคมการค้าปลีก* ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์ |
๐๙.๐๐-๐๙.๑๕ น. | ๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. | ๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. | |||
ชี้แจงทำความเข้าใจแบ่งกลุ่มย่อย ๕ กลุ่ม | ห้องที่ ๑ “วิถีนาข้าวที่ยั่งยืน” แลกเปลี่ยนวิถีการทำนาในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนภายใต้นิเวศน์ที่แตกต่างและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ระบบนาข้าวในนิเวศน์ต่าง ๆ ๑. คุณสุเมธ ปานจำลอง : เครือข่ายเกษตรกรรมฯ ภาคอีสาน ๒. คุณสำรวย ผัดผล : ประธานศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ระบบการจัดการนาอย่างยั่งยืน ๓. คุณปฏิพัทธ์ จำมี :เครือข่ายเกษตรกรรมฯ จ.สุรินทร์ นาน้ำฝน ๔. คุณสุขสรรค์ กันตรี : มูลนิธิข้าวขวัญ พันธุกรรมกับการจัดการอย่างยั่งยืน ๕. คุณสุภชัย ปิติวุฒิ : ชาวนาวันหยุด การทำนาเปียกสลับแห้ง ๖. ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง : เกษตรกรกลุ่มโฉนดชุมนบ้านคลองโยง-ลานตากฟ้า จ.นครปฐม นาภาคกลาง การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๗. ดร.บุญรัตน์ จงดี : นักวิชาการอิสระ การปรับตัวนาน้ำฝน ๘. ตัวแทนเครือข่ายเกษตรฯ จ.ฉะเชิงเทรา การทำนาหยอด ๙. คุณฉัฐ ภักดี : เกษตรกรบ้านขี้เหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม การปรับตัวนาน้ำท่วม ดำเนินรายการโดย คุณสุเมธ ปานจำลอง และคุณสำรวย ผัดผล | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | (ต่อ) วิถีนาข้าวที่ยั่งยืน” การจัดการตลาดข้าวและนโยบายสร้างความเข้มแข็งของชาวนา ตลาดข้าวในระดับประเทศและสากล ๑. รศ.สมพร อิศวิลานนท์ : สถาบันคลังสมองของชาติ ๒. คุณวัลลภ พิชญ์พงศา : รองกรรมการผู้จัดการบริษัทนครหลวงค้าข้าว ๓. คุณเหมี่ยว ทรงสดับกลาง : เกษตรกรจังหวัดยโสธร ๔. คุณแรม เชียงกา : ผู้บริหารตลาดกลางค้าข้าวตำบลหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ๕. คุณวาสนา อัศรานุรักษ์ : ตลาดกลางค้าข้าวสาร ท่าข้าวกำนันทรง จ.นครสวรรค์ การแปรรูปข้าว ๖. ตัวแทนข้าวแทนรักษ์ บริษัทไทยสมาร์ทไลฟ์ โภชนาการข้าว ๗. รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย :สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินรายการโดย คุณสุเมธ ปานจำลอง และคุณสำรวย ผัดผล | |||
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. | ๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. | ||||
ห้องที่ ๒ ชาวสวนยาง ผลไม้และกาแฟ วิถีชาวสวนยางและไม้ผลที่มีระบบแตกต่าง : การ ปลูกไม้ผลเชิงเดี่ยวแต่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น ทุเรียน /ระบบปลูกหลากหลาย เช่น สวนสมรม สวนดูซง พืชร่วมยาง/ การเลี้ยงสัตว์ร่วมในสวนยาง/ การปลูกกาแฟอินทรีย์ -แนวคิดและความสำคัญ แบบแผนวิถีการผลิตและรูปแบบการผลิตของวิถีชาวสวนผลไม้ -การจัดการ พันธุกรรม ลักษณะพันธุ์ ผลผลิต การแปรรูป การตลาด โดย ๑. คุณชาตรี โสวรรณตระกูล : สวนละอองฟ้า จ.นครนายก ความหลากหลายทุเรียน ๒. คุณวิรัตน์ ตรีโชติ : เกษตรกรจากคีรีวง จ.นครศรีธรรมราช สวนสมรม ๓. คุณจาย ช่วยนุ้ย : เกษตรกรจังหวัดพัทลุง พืชร่วมยาง ๔. คุณสุภาพ ภู่ทับทิม : เกษตรกรจังหวัดกระบี่ การเลี้ยงแพะในสวนปาล์ม/ยาง ๕. คุณสมคิด ตุ้มอินมูล : ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดเชียงใหม่ การปลูกกาแฟอินทรีย์ ดำเนินรายการ คุณณรงค์ คงมาก และคุณกำราบ พานทอง | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | (ต่อ) ชาวสวนยาง ผลไม้และกาแฟ การปรับตัวและเทคนิคความรู้การจัดการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๑. ดร.อัศมน ลิ่มสกุล : นัก วิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยางพารากับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ๒. ผศ.ดร.อุษา อ้นทอง : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ การกำจัดน้ำเสียจากยางด้วยบ่อก๊าซชีวภาพ ๓. รศ.ดร.สายัณห์ สดุดี : คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ การปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ๔. ผศ.ดร.ปิยะศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ : คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ความสำคัญด้านพันธุศาสตร์ ดำเนินรายการ คุณณรงค์ คงมาก และคุณกำราบ พานทอง | ||||
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. | ๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๓ ชาวสวนผักและชาวไร่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการในการปลูกผักอินทรีย์ โดยได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของตนเองในการปลูกผักอินทรีย์ ๑. คุณนันทา ประสารวงษ์ : เกษตรกรกลุ่มโฉนดชุมชนบ้านคลองโยง- ลานตากฟ้า จ.นครปฐม การปลูกผักอินทรีย์ที่หลากหลาย ๒. คุณคำพัน สุพรม : เกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ๓. คุณอาภากร เครื่องเงิน :เกษตรกรรุ่นใหม่จากตำบลแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ๔. คุณเอกภพ เสตะพันธุ : ประธานมูลนิธิธรรมะเกษตรธรรมชาติ การปลูกแตงโม และข้าวโพดข้าวเหนียวอินทรีย์ ๕. คุณนงนุช บุญปก : เกษตรกรจากจังหวัดยโสธร ๗. คุณนันทา หายทุกข์ : เกษตรกรจากจังหวัดสุรินทร์ โภชนาการผักพื้นบ้าน ๘. รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ : สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล การจัดการโรคและแมลง ๙. ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ คุณดิสทัต โรจนลักษณ์ | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | ห้องที่ ๓ การจัดการเมล็ดพันธุ์อย่างยั่งยืน แนวคิดการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ การจัดการเมล็ดพันธุ์ผัก สิทธิการจัดการเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร -ความสำคัญแนวคิดด้านการพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์ -การจัดการเมล็ดพันธุ์ เทคนิคการเก็บพันธุ์ -การรวมกลุ่มจัดการเมล็ดพันธุ์ -สิทธิของเกษตรกร และนโยบายด้านเมล็ดพันธุ์ ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ๑. คุณมัณฑนา อภัยมูล : เกษตรกรจากตำบลแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ๒. คุณพิรุณ ทองดี :กลุ่มเกษตรกรทำนาน้ำแพร่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ๓. ตัวแทนเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา* ๔. ผศ.ดร.สมชาย รัตนซื่อสกุล : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดำเนินรายการ คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา |
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. | ๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๔ การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน แลกเปลี่ยนในประเด็นการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน - แนวคิดความสำคัญและสถานการณ์ในการเลี้ยงสัตว์ - นำเสนอประสบการณ์การเลี้ยง ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ๑. คุณวีระยุทธ สุวัฒน์ : กลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์หนองแคน อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ๒. คุณอรุณ หวายคำ : เกษตรกรบ้านป่าก่อดำ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย การเลี้ยงไก่ชน ๓. คุณสุธรรม จันทร์อ่อน : ศูนย์เรียนรู้ปศุสัตว์อินทรีย์ชุมชนปลักไม้ลาย ต. ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม การเลี้ยงไก่ไข่ในป่าไผ่ ๔. คุณกัญญา อ่อนศรี : กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านทัพไท อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ การเลี้ยงหมูอินทรีย์ ๕. คุณสุพจน์ สิงโตศรี : ศูนย์สร้างสุขเกษตรชนบท กลุ่มหมูหลุมดอนแร่ จ.ราชบุรี การเลี้ยงหมูหลุม ดำเนินรายการโดย คุณอุบล อยู่หว้า และคุณเกียรติศักดิ์ ฉัตรดี | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | (ต่อ) การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ลักษณะพันธุ์ พันธุกรรมสัตว์ เทคนิคการจัดการ (โรค อาหาร ตลาด) นโยบายกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวคิดและหลักการการจัดตั้งกลุ่มปศุสัตว์อินทรีย์ระดับชุมชน ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ๑. รศ.กษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ : รองประธานมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ๒. คุณจินตนา อินทรมงคล : เลขานุการมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ๓. คุณศรณรงค์ ศุภชวลิต : นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ กรมปศุสัตว์ ดำเนินรายการโดย คุณอุบล อยู่หว้า และคุณเกียรติศักดิ์ ฉัตรดี |
๐๙.๑๕-๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๓.๓๐ น. | ๑๓.๓๐-๑๗.๐๐ น. |
ห้องที่ ๕ “ เมื่อคนเมืองเป็นเกษตรกร : ชีวิต สังคม และความเปลี่ยนแปลง” ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ๑. คุณอนุรักษ์ เรืองรอบ : จากตัวเองสู่ชุมชน สวรรค์สีเขียวที่หนองรี ๒. คุณศิวพร เอี่ยมจิตกุศล : ปลูกเปลี่ยนโลก(โรค) ๓. คุณณัฐวรรณ คำคล้าย : กิจการเพื่อสังคม เพลินข้าวบ้าน ๔. คุณธนาทิพ ฉัตรภูติ : บ้านสวนน้ำฝน สายลมจอย ดำเนินรายการโดย คุณนคร ลิมปคุปตถาวร | พักรับประทานอาหารกลางวัน ชมนิทรรศการ/ กิจกรรมสาธิต/ดนตรี | ห้องที่ ๕ ออกแบบเมืองสีเขียวกินได้ ๑. ดร.ธนภณ พันธเสน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : การออกแบบเมืองสีเขียว ๒. รศ.พาสินี สุนากร อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : นวัตกรรมอาคารเขียวกินได้ ๓. ผอ.มาโนชญ์ เหล็กดำรง ผู้อำนวยการกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล : เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว ๔. ดร.เกษมสันต์ สุวรรณรัต อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย: จากน้ำเสียสู่แปลงผัก ออกแบบบ้านเปลี่ยนแปลงเมือง ดำเนินรายการโดย คุณพิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร ๑๖.๐๐- ๑๗.๐๐ น. ทัวร์มหิดล ศาลายา : เมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว |
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๒.๑๕ น. | ๑๒.๑๕-๑๓.๓๐ น. |
ห้องที่ ๑ เสวนา ตลาดทางเลือกที่หลากหลายจะอยู่รอดและเติบโตอย่างไร ? แลกเปลี่ยนกระบวนการจัดการตลาดที่หลากหลายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน -นำเสนอประสบการณ์ บทเรียนการจัดการตลาดทั้งในและต่างประเทศ -แนวคิด วิถีการ เพื่อค้นหาคำตอบว่าตลาดทางเลือกจะอยู่รอดและเติบโตได้อย่างไร โดย ประสบการณ์บทเรียนการทำตลาด ๑. คุณกานต์ ฤทธิ์ขจร* : ไร่ปลูกรัก ปลูกผัก ปลูกคน ๒. คุณวัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด : ประธานตลาดสีเขียว ประสบการณ์ CSA ๓. คุณธัญญา แสงอุบล : ตลาดสีเขียวจังหวัดสุรินทร์ ๔. คุณพูลเพ็ชร สีเหลืองอ่อน : เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก จ.ฉะเชิงเทรา ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ ๕. คุณสฤณี อาชวานันทกุล* : นักวิชาการอิสระ ๖. คุณวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ : ประธานเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ๗. ดร.สมคิด แก้วทิพย์ : ผู้อำนวยการวิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ๘. คุณศุทธาวดี เจริญรัถ : ผู้จัดการโครงการเกษตรอินทรีย์สนามบินสุโขทัย บริษัทธรรมชาตินาไทย ดำเนินรายการโดย รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน | กล่าวปิด | พักรับประทานอาหารกลางวัน เดินทางกลับ |
๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. | ๑๒.๐๐-๑๒.๑๕ น. | ๑๒.๑๕-๑๓.๓๐ น. |
ห้องที่ ๒ เสวนา “วิถีเกษตรกรรมความอยู่รอดของคนรุ่นใหม่” แลกเปลี่ยนให้เห็นถึงความอยู่รอดของคนรุ่นใหม่กับการใช้ชีวิตในวิถีเกษตรกร - การใช้ชีวิตในวิถีการเกษตรจะอยู่กันอย่างไร อยู่รอดได้จริงหรือ - บทบาทของตนเองกับสังคม - ข้อคิดเห็นต่อภาคเกษตรในปัจจุบัน โดย ๑. คุณอภิศักดิ์ กำเพ็ญ : เกษตรกรรุ่นใหม่จากชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ ๒. คุณชาลินี นิมิตกอบลาภ : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ๓. คุณพินต์ คำภูเมือง : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ๔. คุณมณีกาญจน์ บุญส่ง : เกษตรกรรุ่นใหม่จากพื้นที่จังหวัดราชบุรี ๕. คุณนคร ลิมปคุปตถาวร : เกษตรในเมืองรุ่นใหม่ ๖. คุณอมารวดี ศิริทิปพิพัฒน์ : เกษตรในเมืองรุ่นใหม่ ดำเนินรายการโดย คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล | กล่าวปิด | พักรับประทานอาหารกลางวัน เดินทางกลับ |
05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม