963 16 Jul 2013
ผม ทำงานเรื่องน้ำมานาน ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าโมดุลทั้งหลายในชุดโครงการ 3.5 แสนล้าน มาจากไหน ทั้งเขื่อน แก้มลิงล้านไร่ ฟลัดเวย์ ฯลฯ จนวันนี้ยังไม่เห็นว่ามีการศึกษาชิ้นไหนระบุว่าชุดโครงการนี้จะแก้ปัญหาน้ำ ท่วมได้ เพราะส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหาน้ำท่วมคือ การใช้ที่ดินอย่างไม่มีการวางแผน เมือง บ้านจัดสรร โรงงานไปอยู่ในที่น้ำหลากตามธรรมชาติ ทำลายพื้นที่รับน้ำตามธรรมชาติ ผม เองก็คงเหมือนคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่รู้จักบริษัทเค วอเตอร์ ดีพอ และไม่รู้เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมบริษัทนี้ถึงได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินโค รงการฟลัดเวย์และแก้มลิง เมื่อ ทราบว่าเค วอเตอร์ ทีสัญชาติเป็นเกาหลี ก็คิดถึงเพื่อนที่เกาหลี ซึ่งเป็นคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศเกาหลีใต้ เคยประชุมร่วมกันหลายหน และคราวประชุมอนุสัญญาแรมซาร์ ครั้งที่ 9 ที่เกาหลีก็ได้ไปดูงานก่อน จึงติดต่อให้ช่วยมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการของเค วอเตอร์ในเกาหลีหน่อย ก็ได้การตอบรับว่ายินดีมาและขอดูพื้นที่พบปะชาวบ้าน ทางเราจึงขอว่าอาจจะมีการจัดแถลงข่าวด้วยหลังลงพื้นที่ ซึ่งเขาเขาก็ยินดี ลงพื้นที่ครั้งนี้มีคุณยัม ฮคองเชิล ผอ.องค์กรสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM ที่เคยทำงานกันมานานเป็นสิบปี เราร่วมงานกันในเครือข่าย Rivers Watch East and Southeast Asia-RWESA เมื่อ ปี 2546 เราเคยจัดการประชุมนานาชาติของผู้เดือดร้อนเรื่องเขื่อน ระดับโลกครั้งที่ 2 ที่เขื่อนราษีไศล ยัมและเพื่อนๆ จากเกาหลีก็มาร่วมประชุม ตอนนั้นเขาร่วมกับนักสิ่งแวดล้อมและชาวบ้านตรวจสอบโครงการเขื่อนหลายแห่งใน เกาหลี โดยเฉพาะเขื่อนกั้นแม่น้ำฮัน ที่ถูกคัดค้านหนักเพราะผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในแวดวงสิ่งแวดล้อมเกาหลี KFEM เป็น องค์กรใหญ่มากและเป็นหัวหอกในหลายด้านโดยเฉพาะการตั้งคำถามต่อโครงการพัฒนา ใหญ่ๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชน โครงการใหญ่ล่าสุดที่ตรวจสอบกันอย่างหนัก คือโครงการ 4 แม่น้ำสายหลัก 4 Major Rivers Project ที่ สร้างเขื่อนเกือบ 20 แห่ง และขุดลอก/เทคอนกรีตแม่น้ำสายหลักของเกาหลี จนเหลือสภาพเป็นแค่คลองระบายน้ำ ระบบนิเวศพังยับเยิน และนี่คือโครงการที่เควอเตอร์ทำในเกาหลี ยัม ร่วมเดินทางลงพื้นที่ตำบลชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก และ หลายพื้นที่ในจ.นครสวรรค์ พร้อมกับสื่อหลายสำนัก ข้อมูลที่ได้จากเขา ชัดเจนว่าในเกาหลีเองโครงการที่ผ่านมาสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศมาก ทั้งที่การแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง ก็ยังไม่มีข้อมูลรองรับว่าจะแก้ได้จริง ยิ่งมาเห็นพื้นที่เหนือปากน้ำโพ ที่จะกลายเป็นแก้มลิงขนาดเป็นล้านไร่ และฟลัดเวย์ตั้งเกือบ 300 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 7 จังหวัด ถือเป็นโครงการใหญ่ เขารู้สึกเป็นห่วงเพราะไม่แน่ใจว่าเควอเตอร์จะสามารถทำโครงการได้จริง ล่า สุดในรายงานตรวจสอบโครงการโดยคณะกรรมการตรวจเงินและประเมิน ของเกาหลี(คล้ายๆกับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. บ้านเรา) ชี้ว่าโครงการ 4 แม่น้ำสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางน้ำจากเขื่อน 16แห่งและอื่นๆ ทำให้เกิดมลภาวะ สาหร่ายเขียวแพร่กระจาย รายงานแนะนำว่าควรเปิดเผยข้อมูลต่อสารธารณะตั้งแต่ต้น รายงานนี้ออกมาเมื่อเดือนเมษา (หาอ่านได้ http://english.bai.go.kr/ ) กลับ มามองบ้านเรา เห็นได้ชัดว่าเริ่มมีสัญญาณแปลกๆ จากรัฐบาลเกาหลีมาตั้งแต่ต้นเมื่อครั้งที่ชาวบ้านเดินทางไปยื่นจดหมายที่ สถานเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ตอนปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สถานทูตเขาก็อีเมลตอบสั้นๆ ถามย้อนกลับมาอีกว่าเราไปยื่นจดหมายที่สถานฑูตจีนด้วยหรือเปล่า ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาถามเพื่ออะไร ครั้งนี้ก็เช่นกันทูตเกาหลีออกมาแจงแทนบริษัท เค วอเตอร์ ทั้งๆที่ยังไม่เคยได้ยินข่าวว่าลงไปดูพื้นที่เลยและไม่รู้ว่าประชาชนไทยจะ ต้องประสบชะตากรรมเยี่ยงไร หากปล่อยให้ เค วอเตอร์ดำเนินโครงการ จริงๆแล้วสถานทูตควรเป็นตัวแทนของประชาชนชาวเกาหลี มิใช่เป็นตัวแทนบริษัท ที่สำคัญควรคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนมากกว่าผลประโยชน์ของบริษัท คุณ ยัมได้ถ่ายทอดประสบการที่เกิดขึ้นในเกาหลีให้พวกเราฟังอย่างตรงไปตรงมา แถมยังก็อปปี้ข้อมูลให้ผู้ที่สนใจโดยไม่หวงเลย ตั้งแต่เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนถึงเรื่องที่มาที่ไปและสถานการณ์ ของเค วอเตอร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมไทยไม่เคยรับรู้มาก่อน และเมื่อคุณยัมกลับไปถึงประเทศ เขาก็ต้องพบกับสถานการณ์ยุ่งยากหลายอย่างแต่องค์กรที่เขาทำงานอยู่เป็น องค์กรใหญ่ มีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 8 หมื่นคน มีความหนักแน่น แม้จะถูกคนของรัฐบาลเกาหลีวิพากษ์วิจารณ์ตลอดจนถูกเค วอเตอร์ฟ้องร้อง ผม คิดว่าการที่เค วอเตอร์ แสดงท่าทีอันไม่เป็นมิตรกับการตรวจสอบหรือการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยเช่น นี้ตั้งแต่ต้น น่าจะทำให้การทำงานของเค วอเตอร์ในประเทศไทยลำบาก เพราะเพียงแค่การเปิดโอกาสให้นักสิ่งแวดล้อมเกาหลีมาให้ข้อมูลต่อสังคมไทย คุณยังเกิดปฎิกิริยาขนาดนี้ แล้วอนาคตที่มีการตรวจสอบกันอย่างเข้มข้น มิทำให้ความขัดแย้งยิ่งขยายวงกว้างหรือ น้องๆ นักข่าวหลายคนเล่าให้ผมฟังว่า หลังจากที่คุณยัมมาเปิดประเด็นและเป็นข่าวใหญ่ปรากฎว่าได้มีกลุ่มบุคคลที่ อ้างว่าเป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของเค วอเตอร์ เที่ยวโทรศัพท์ไปตามสำนักข่าวต่างๆ เพื่อหาตัวคนทำข่าว พร้อมทั้งพยายามให้ข้อมูลในลักษณะที่ลดความน่าเชื่อถือต่อคุณยัมและคนที่ชัก ชวนคุณยัมมาเมืองไทย บุคคลกลุ่มนี้ยังพยายามหารายละเอียดของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของคุณ ยัม ถึงขนาดถามหาสถานที่ตั้งของที่ทำงาน ผมคิดว่าวิธีการในลักษณะนี้ส่อไปในทาง “คุกคาม”เสีย มากกว่า แทนที่จะให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งมาหักล้างสิ่งที่คุณยัมนำเสนอ ผมยังเชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในการแสวงหาข้อเท็จจริงในมุม ต่างๆให้ปรากฎ ข้อมูลที่คุณยัมนำมาอธิบายให้สังคมไทยได้รับรู้นั้น วันนี้บางส่วนปรากฏชัดจากรายงานการตรวจสอบของ สตง.เกาหลีถึงความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในประเทศของเขาซึ่งเป็น หัวใจสำคัญที่เราเป็นห่วงว่ากำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา เมื่อ ค้นเข้าไปในแหล่งข้อมูลพบว่า เคยมีผู้ทรงอิทธิพลนอกประเทศเดินทางไปพบเค วอเตอร์ก่อนที่ กบอ.จะตัดสินใจเลือกบริษัทเหล่านี้ให้ชนะการประมูล ยิ่งทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น จนมีนักศึกษาไทยในเกาหลีได้เขียนบทความมาอีกหลายชิ้น ชี้ให้เห็นพฤติกรรมของเค วอเตอร์ในโครงการแม่น้ำ 4 สายในเกาหลี ด้วยข้อมูลตรงไปตรงมา ผม เชื่อว่าอีกไม่นาน สังคมไทยคงได้รับรู้ข้อมูลและความเลวร้ายที่เกิดขึ้นในแม่น้ำสายต่างๆ ของเกาหลีมากขึ้น และเราไม่ควรเพิกเฉยกับบทเรียนเหล่านั้น นัก อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกาหลีเขายืนยันที่จะติดตามโครงการต่อ เพราะส่วนหนึ่งเป็นเงินภาษีของคนในประเทศเขาที่จะต้องมาการันตีโครงการ สำหรับคนไทยเอง โครงการนี้ก็เป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ ซึ่งสุดท้ายทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบทั้งต้นและดอกเบี้ย ใช้หนี้กันยาวนานไปยันชั่วลูกชั่วหลาน เพราะ ฉะนั้นทุกคนจึงมีสิทธิ์ตั้งคำถามและแสดงความกังวลในโครงการ 3.5 แสนล้านบาทนี้ อย่าปล่อยให้คนเพียงไม่กี่คน ทำลายทรัพยากรของประเทศ แถมยังต้องใช้หนี้กันหัว หาญณรงค์ เยาวเลิศ มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ(ประเทศไทย) 16 กรกฎาคม 255605 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม