958 08 Jul 2013
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่าน สุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน หนังสือ เรื่อง “ ชูรอกุญแจสู่ความเป็นพลเมือง” เรียบเรียงโดย อาจารย์ อับดุลสุโก ดินอะ เป็นหนังสือเล่มหนึ่งของการถอดบทเรียน โครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยใช้สภาชูรอเป็นศูนย์กลางและเครื่องมือการในการขับเคลือนโครงการ ไม่ว่าการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในขณะเดียวกันเป็นการถอดบทเรียนตำบลเครือข่ายสุขภาวะในพื้นที่กับนอกพื้นที่และภาคีเครือข่ายทั่วประเทศในการสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วยพลังพลเมือง คำว่า ชูรอ เป็นคำภาษาอาหรับ มาจากคำเต็มว่า อัช-ชูรอ (al-Shura ) ในหลักภาษาอาหรับ ซึ่งแปลว่า การปรึกษาหารือ ดังที่อัลลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอฺาลา) ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า ...และกิจการของพวกเขามีการปรึกษาหารือกันระหว่างพวกเขา ( อัชชูรอ : 38 ) สำหรับความหมายทางด้านศานบัญญัติหมายถึง การประชุมหรือปรึกษาหารือตามรูปแบบอิสลามจนได้ข้อสรุปหรือมติเพื่อนำไปปฏิบัติ แต่คำนิยามปฏิบัติสำหรับโครงการนี้นั้น กระบวนการชูรอ หมายถึง การประชุมปรึกษาหารือเพื่อหามติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับศาสนบัญญัติ ในแต่ละตำบลที่เข้าร่วมโครงการจะมีคณะทำงานชุดหนึ่งเรียกว่าสภาชูรอตำบลสุขภาวะ โดย คณะทำงานชุดนี้จะได้รับการสรรหาจากหลากหลายองค์กร ในตำบลของตนเอง (ผู้นำศาสนา ท้องถิ่น ท้องที่ สตรี เยาวชน ข้าราชการและอื่นๆ ) โดยใช้กระบวนการชูรอในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้ 1 เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ขบวนการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น 2 เพื่อสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชน 3 เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดเครือข่ายตำบลสุขภาวะด้วยวิถีศาสนธรรมกับการพัฒนา 4 เพื่อสร้างองค์ความรู้การสร้างเสริมสุขภาวะที่เกิดจากการปฏิบัติการในพื้นที่ 5 เพื่อผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะชุมชนท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน ในหนังสือเล่มนี้ มีด้วยกัน 5 บท กล่าวคือบทที่1 บทนำ บทที่ 2 กระบวนการชูรอตามทัศนะอิสลาม บทที่ 3พลเมือง บทที่4 ชูรอกุญแจสู่ความเป็นพลเมือง และบทที่ 5พลเมืองกับการสร้างสันติภาพชายแดนใต้ อันเป็นก้าวสำคัญ ในการนำไปสู่ ข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่เป็นประเด็นร่วมกันของตำบลเครือข่ายเพื่อใช้สำหรับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 7+1 ระดับชาติ และนโยบายสาธารณะในระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6+1 เพื่อมอบให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับนโยบายสาธารณะระดับชาติ 7+1 ดังนี้ (1). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการและการมีส่วนร่วม (2). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดสวัสดิการสังคมโดยชุมชน (3). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อเด็กและเยาวชน (4). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (5). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อเกษตรกรรมยั่งยืน (6). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อระบบการดูแลสุขภาพชุมชน (7). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการจัดการภัยพิบัติ (8). การลงทุนด้านสุขภาพโดยชุมชน และ นโยบายสาธารณะในระดับจังหวัดชายแดนภาคใต้ 6+1 ดังนี้ (1). ข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการแบบการมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการชูรอ (2). การศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดชายแดนภาคใต้และภาษามลายูสู่ประชาคมอาเซียน (3). ศาสนทานและซะกาต : สวัสดิการสังคม โดยชุมชน (4). อาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน (5). การป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดด้วยวิถีศาสนธรรมโดยชุมชน (6). พลังงานทางเลือกและการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน (7). การหนุนเสริมการกระบวนการสร้างบรรยากาศการพูดคุยเพื่อสันติภาพด้วยกระบวนการชูรอ หมายเหตุ หนังสือเล่มนี้สามารถดาวโหลดได้ใน http://www.chaidentai.net/?name=report&file=readreport&id=2005 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม