"คำจิตร พานุรักษ์" กับ ความเป็นมาของเครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่

831 03 Jun 2013

ชื่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบ: ทั่วไป เดิมเรามีชื่อเรียกว่า ‘เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย’ ก่อ ตั้งเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2553 ในการประชุมเครือข่ายฯ ครั้งแรก ที่โรงแรมเทพนคร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ‘เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ประเทศไทย’ ก็ด้วยเหตุผลที่คิดคั่งค้างในใจมาช่วงระยะหนึ่งแล้วว่าชื่อเดิมสะท้อนให้ เห็นว่ามีการทำเหมืองแร่ขึ้นมาแล้วประชาชนจึงได้รับผลกระทบ มันเหมือนกับเป็นเครือข่ายเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ มันสะท้อนให้เห็นว่ายังไงเหมืองก็เกิดขึ้น ไม่มีทางที่จะไปสู้รบตบมือใครได้ จึงตั้งเครือข่ายขึ้นมารองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ซึ่งแสดงให้เห็นภาวะยอมจำนนของประชาชนมากเกินไป จึงกลับมาคิดว่าแท้ที่จริงแล้วเหมืองแร่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่นั้นสิ่งที่ ต้องทำเป็นอันดับแรกก่อนคือการกำหนดสิทธิและหน้าที่ในแร่ตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนว่าเป็นของใคร ใครควรทำหน้าที่ดูแลรักษาหรือบริหารจัดการแร่ ไม่ใช่ตั้งเครือข่ายขึ้นมารองรับนิคมผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ มันแสดงถึงภาวะหดหู่ของเราในฐานะประชาชนว่าไม่มีสิทธิอะไรเลยกับทรัพยากร ธรรมชาติที่อยู่ใต้ผืนแผ่นดินที่เราเหยียบย่ำอยู่ทุกคืนวัน เพราะรัฐสามารถเอาแร่ที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของเราไปให้สัมปทานกับนักลงทุนรายใด ก็ได้ตามอำเภอใจ แล้วเราในฐานะประชาชนต้องมาแบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้น จึงมาคิดใหม่ว่าสิทธิและหน้าที่ของประชาชนควรจะเริ่มต้นตั้งแต่สิทธิในแร่ และดูแลรักษา/บริหารจัดการแร่ที่อยู่ใต้ฝ่าเท้าของเราด้วย ไม่ใช่มีสิทธิเพียงแค่การมีส่วนร่วมในกระบวนการและขั้นตอนการอนุญาตให้ สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่เท่านั้น มิหนำซ้ำยังถูกกีดกันไม่ให้มี ‘หน้าที่ในแร่’ อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลให้เปลี่ยนชื่อเครือข่ายเพื่อสะท้อนสิทธิและหน้าที่ในแร่ ตั้งแต่เริ่มต้นของประชาชน ไม่ใช่สิทธิและหน้าที่ในแร่ปลายทางตามชื่อเครือข่ายเดิม ประจวบเหมาะกับการจากไปชั่วนิจนิรันดร์ของ ‘ลุงวิท’ หรือ ‘พ่อวิท’ หรือนายคำจิตร พานุรักษ์ แกนนำคนสำคัญผู้ร่วมก่อตั้ง ‘กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด’ ที่ ได้ต่อสู้เรียกร้องให้มีการตรวจสอบสารพิษที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและร่าง กายมนุษย์ จากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ และต่อต้านคัดค้านการขอประทานบัตรแปลงใหม่ ของ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด ในท้องที่ตำบลเขาหลวงและท้องที่ข้างเคียง อ.วังสะพุง จ.เลย ตลอด ระยะเวลาของการต่อสู้ร่วมกันระหว่างประชาชนกับฝ่ายรัฐและทุนที่ร่วมกันสนับ สนุนและผลักดันอุตสาหกรรมเหมืองแร่ภายในประเทศไทย พี่น้องประชาชนจากหลายพื้นที่ได้เรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาผลกระทบทางด้าน สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นจากการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ คัด ค้านการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ในพื้นที่ต่าง ๆ โดยพี่น้องประชาชนได้ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ สรรพกำลังทั้งหมดที่มีเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนในสังคมนำไปสู่การทบทวนกฎหมาย ตลอดจนการทบทวนหรือระงับโครงการพัฒนาเหมืองแร่ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ถือเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อยาวนานสืบมาจนถึงปัจจุบัน การต่อสู้ดังกล่าว จำเป็นจะต้องใช้ความกล้าหาญ ความอดทน และอุดมการณ์อันแน่แน่วที่จะฝ่าฟันมุ่งหน้าไป อันเนื่องจากกระแสการพัฒนาที่เอื้อไปในทิศทางที่เบียดบังและแย่งชิงทรัพยากร ธรรมชาติที่เป็นฐานการดำรงชีพและสุนทรียภาพสำคัญไปจากชุมชนท้องท้องถิ่นดัง ที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี ในการต่อสู้ที่ผ่านมา คำจิตร พานุรักษ์ คือบุคคลหนึ่งที่ดำรงตนเป็นผู้เสียสละอย่างยิ่งใหญ่ เป็นผู้ประสานงานในนาม ‘กลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด’ บ้าน นาหนองบง ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ กับพี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่เพื่อต่อสู้เรียกร้องให้มีการยกเลิกให้ สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งทำการติดตามและเฝ้าระวังมลพิษที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม รณรงค์เผยแพร่ข้อมูล จัดทำข้อมูลผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนชุมชนในการเรียนรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อการใช้สิทธิตามรัฐ ธรรมนูญในการเรียกร้องให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ ทำเหมืองแร่ทองคำภูทับฟ้า-ภูซำป่าบอน ตำบลเขาหลวง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย กิจกรรม ต่าง ๆ เหล่านี้ที่ คำจิตร พานุรักษ์ ได้ดำเนินร่วมกันกับพี่น้องประชาชนในนามกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด และร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อื่น ๆ นับว่าเป็นการเสียสละและเป็นแบบอย่างของผู้ตื่นรู้ที่จะลุกขึ้นมาปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติใต้ฝ่าเท้าของตนเอง ในวันที่ 13 ตุลาคม 2554 ณ วัดโนนสว่าง บ้านนาหนองบง ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง จ.เลย ซึ่งเป็นวันฌาปนกิจศพคำจิตร พานุรักษ์ จึง เป็นวันสำคัญของพลังคนเล็กคนน้อยในสังคม ที่จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การต่อสู้คัดค้านการให้สัมปทานสำรวจและทำ เหมืองแร่ของประเทศไทย เนื่องจากว่าพวกเราได้ร่วมกันสถาปนา ‘สิทธิความเป็นเจ้าของแร่’ ใหม่ ซึ่งก้าวหน้าและทันสมัยยิ่งกว่าตัวบทกฎหมายและนโยบายว่าด้วยแร่ของประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ ‘แร่คือสินทรัพย์และดอกผลของเจ้าของที่ดิน’ การ นิยามใหม่เช่นนี้จะนำพาพวกเราขับเคลื่อนผลักดันไปสู่การแก้ไขพระราชบัญญัติ แร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ หรือกฎระเบียบอื่นใดก็ตามในการให้สัมปทานสำรวจและทำเหมืองแร่ของรัฐแก่เอกชน เพื่อรองรับสิทธิของบุคคลและชุมชนท้องถิ่นผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วน บุคคลหรือดูแลบำรุงรักษาที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองใช้ประโยชน์ ร่วมกันเสียใหม่ รัฐจะไม่สามารถผูกขาดอำนาจการตัดสินใจในเรื่องการอนุญาตให้สัมปทานสำรวจและ ทำเหมืองแร่อีกต่อไป แต่จะเป็นประชาชนผู้เป็นเจ้าของที่ดินเองที่มีอำนาจอนุญาตหรือไม่ให้อนุญาต จึง เป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์การต่อสู้คัดค้านการให้สัมปทานสำรวจและทำ เหมืองแร่ของประเทศไทย เป็นวันที่พวกเราเปลี่ยนชื่อเครือข่ายจาก ‘เครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ประเทศไทย’ เป็น ‘เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ประเทศไทย’ แร่ของเรา เราจะกำหนดอนาคตตนเอง ขอแสดงความอาลัย และสดุดีความกล้าหาญและความเสียสละของคำจิตร พานุรักษ์ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ผู้จากไปชั่วนิจนิรันดร์

Contact Information

  • : มูลนิธิกองทุนไทย Thai Fund Foundation 2044/23 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพ 10310
  • : webmaster@thaingo.org
  • : 082 178 3849
  • : www.thaingo.in.th

Thai NGO

ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม