892 01 Mar 2013
ก ลุ่ ม ศึ ก ษ า ข้ อ ต ก ล ง เ ข ต ก า ร ค้ า เ ส รี ภ า ค ป ร ะ ช า ช น 125/356 ม. 3 หมู่บ้านนราธิป ซ.1 ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร 02-985-3837 ถึง 8 โทรสาร 02-985-3836 email: info@ftawatch.org www.ftawatch.org 28 กุมภาพันธ์ 2556 เรียน ฯพณฯนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) สำเนาเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายบุญทรง เตริยาภิรมย์) หัวหน้าคณะเจรจา (นายโอฬาร ไชยประวัติ) เรื่อง ให้สัญญาประชาคมและมอบนโยบาย-จุดยืนที่ชัดเจนแก่คณะผู้เจรจา ตามที่ฯพณฯนายกรัฐมนตรีและคณะจะเดินทางไปกรุงบรัสเซล ในวันที่ 6-7 มีนาคมนี้ เพื่อเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและสหภาพยุโรป รอบแรก และได้กำหนดระยะเวลาว่าจะเร่งเจรจาอย่างเร่งด่วนให้เสร็จสิ้นในการเจรจาเพียง 10 รอบใช้เวลา 1 ปีครึ่งจากนั้นจะมาเข้าสู่กระบวนการเห็นชอบของรัฐสภาเพื่อให้ทันการต่อสิทธิพิเศษทางการค้าที่จะหมดในสิ้นปี 2557 นั้น ทางกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) และภาคประชาสังคม อันประกอบด้วยภาคประชาสังคม องค์กรวิชาการ องค์กรประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชน 28 องค์กรที่ติดตามการเจรจาการค้าเสรี ได้พยายามให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อท้วงติงกับหน่วยราชการและรัฐบาลมาโดยตลอดว่า เอฟทีเอกับสหภาพยุโรปนี้ ไทยอาจจำต้องเจรจาในหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ ดังนั้นจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและดำเนินตามขั้นตอนมาตรา 190 อย่างเคร่งครัด แต่ที่ผ่านมา การรับฟังความคิดเห็น การเตรียมการเจรจา การร่างกรอบเจรจาฯ และการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ล้วนมีความบกพร่องทั้งกระบวนการและเนื้อหา-ข้อห่วงใยหลายเรื่องซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศและสังคมทุกภาคส่วนในระยะยาวซึ่งจะมีผลกระทบกับงบประมาณแผ่นดินมากกว่าแสนล้านบาทถูกละเลยไม่ให้ความสำคัญ แต่หันไปให้ความสำคัญกับสิทธิพิเศษทางการค้าที่จะเสียไปทั้งที่เป็นผลประโยชน์ระยะสั้น ได้ผลประโยชน์เพียงไม่กี่กลุ่มธุรกิจส่งออก โดยมูลค่าความเสียหายประมาณ 80,000 ล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้การจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เป็นประโยชน์กับประเทศชาติอย่างแท้จริง โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นรวมถึงประชาชนทั่วไป ตามนโยบายของรัฐบาลของ ฯพณฯ ที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้ประกาศไว้ต่อรัฐสภา เราขอเรียกร้องให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจา ให้คำมั่นต่อสัญญาประชาคมและมอบนโยบายและจุดยืนที่ชัดเจนแก่คณะผู้เจรจา ดังนี้ 1. ต้องไม่ยอมรับเนื้อหาการเจรจาที่เกินไปกว่าข้อตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาของ WTO (ไม่ยอมรับทริปส์พลัส) โดยเฉพาะในประเด็น การขยายเวลาการคุ้มครองสิทธิบัตร, การผูกขาดข้อมูลทางยา, มาตรการ ณ จุดผ่านแดน และไม่ยอมรับการแก้ไขกฎหมายระบบการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ประเทศไทยใช้บังคับอยู่ ซึ่งเป็นไปตามความตกลงทริปส์และสอดคล้องกับอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ 2. การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชนในบทว่าด้วยการลงทุน ต้องไม่มีผลให้มีการนำข้อพิพาทที่เกี่ยวกับการลงทุนสาธารณะ, การออกนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะ, การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม, ด้านสาธารณสุข, สาธารณูปโภคพื้นฐาน และความมั่นคง เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ 3. ไม่เปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การทำนา ทำสวน ทำไร่ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การปลูกป่า การเพาะและขยายพันธุ์พืช ตลอดจนการลงทุนที่สร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร 4. ถอนสินค้าเหล้า บุหรี่ ออกจากการเจรจาสินค้า 5. ให้มีการจัดหารือผู้มีส่วนได้เสียครบทุกภาคส่วนทั้งก่อนและหลังการเจรจาในแต่ละรอบ โดยให้มีการชี้แจงท่าทีของคณะเจรจา รายงานความคืบหน้า พร้อมรับฟังและดำเนินการตามข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างสมดุล ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาชนใคร่ขอให้ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายโอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจา โปรดใคร่ครวญถึงผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศชาติและประชาชนไทย ภายใต้ความรับผิดชอบของท่านทั้งสอง ที่ทำการแทนลูกหลานของเราในอนาคตว่า การแลกประโยชน์ของชาติ ที่เป็นของคนไทยทุกคน กับประโยชน์ของภาคธุรกิจส่วนน้อยนั้นจะเป็นการคุ้มค่าหรือไม่ ขอแสดงความนับถือ (ภญ. สำลี ใจดี) กลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย, เครือข่ายองค์กรงดเหล้า, เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก, สมัชชาคนจน, เครือข่ายสลัม ๔ ภาค, ชมรมเพื่อนโรคไต, เครือข่ายเพื่อนมะเร็ง, คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์, มูลนิธิเข้าถึงเอดส์, มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, มูลนิธิเภสัชชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, มูลนิธิชีววิถี, มูลนิธิบูรณะนิเวศ, มูลนิธิสุขภาพไทย, กลุ่มเพื่อนแรงงาน, เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์, เครือข่ายชุมชนเฝ้าระวังภัยแอลกอฮอล์ กทม., เครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่, เครือข่ายคนทำงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด (12D), โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ และ เครือข่ายพันธมิตรเพื่อการควบคุมยาสูบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATCA), โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา ติดต่อประสานงาน กรรณิการ์ กิจติเวชกุล 089 500 321705 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม