1079 17 Dec 2012
เรียบเรียงโดย อับดุลสุโก ดินอะ กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสฑูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้ชมทุกท่าน วันที่ 8-9 ธันวาคม 2555 สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมมือกับโครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) และ USAID ได้จัดโครงการเวทีสันติประชาธิปไตย ระดับ 4หวัดชายแดนภาคใต้คือ สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส ในหัวข้อ “เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ.... ทำอย่างไรเราจะยอมรับตนเองที่ยอมรับความแตกต่างได้เพื่อดับไฟการเมือง สู่การดับไฟใต้ตามวิถีประชาธิปไตย” ณ ห้องนราทัศน์๑ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส การจัดเวทีครั้งนี้ผู้เขียนในฐานะกรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ได้เข้าร่วมประชุมร่วมกับตัวแทนแกนนำจากทุกภาคส่วนจำนวน 60 คน ซึ่งผลการประชุมสามารถถอดบทเรียนการเสวนาดังนี้ 1. ศาสนาไม่ใช่ปัจจัยหลักของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะคนมุสลิม พุทธ คริสเตียนหรือเชื้อสายมลายู ไทย จีน อยู่กันได้มายาวนานดั่งเวทีประชาสังคมที่ประชุมในวันนี้ ส่วนผู้ก่อเหตุจะนำประเด็นศาสนามาเพิ่มปัญหาความรุนแรงอันเนื่องมาจากความอยุติธรรมด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ส่วนคำถามที่ว่า เราจะอยู่ร่วมกันไม่ได้เชียวหรือ.... ทำอย่างไรเราจะยอมรับตนเองที่ยอมรับความแตกต่างได้เพื่อดับไฟการเมือง สู่การดับไฟใต้ตามวิถีประชาธิปไตย นั้นไม่ใช่ถามภาคประชาชนแต่ควรถามคนของรัฐมากกว่า 2. การจะลดความขัดแย้งและจะทำให้อยู่ร่วมกันได้ นั้นมีปัจจัยในประเด็นต่างๆดังนี้ 2.1 การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง 2.2 ความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน 2.3 การกระจายอำนาจตามกระบวนการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 2.4 เศรษฐกิจและการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติ 2.5 การต่างประเทศ/อาเซียน 2.6 รัฐธรรมนูญ ซึ่งแต่ละประเด็นปัจจัยดังกล่าวได้ใช้กระบวนการกลุ่มศึกษาอดบทเรียน ความผิดพลาดในอดีต ภาพอนาคตที่ทีอยากให้เป็น และแต่ละคนหรือ องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้เลยภายใต้กฎหมาย พระราชบัญญัติ ความพร้อมของผู้นำหรือชุมชน สำหรับภาพอนาคตที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยากให้เป็นและร่วม ผลักดันในประเด็นต่างๆดังนี้ ประเด็น การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง · โครงสร้างการบริหารการศึกษาต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบจากแนวดิ่งให้เป็นแนวราบ · สร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมืองในเรื่องการจัดการศึกษา · จัดการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต บริบทพื้นที่มลายูมุสลิม (ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม)พร้อมไม่ทอดทิ้งความแตกต่างที่ไม่ใช่มลายูมุสลิม · จัดการศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ไม่ใช่จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศด้านวิชาการอย่างเดียว) · ใช้มัสยิดเป็นสถานการศึกษา โดยเฉพาะวันศุกร์ ศูนย์กลางของการศึกษาใช้กรรมการมัสยิด ๑๕คน บูรณาการกับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด · หนุนเสริมภาคประชาชนในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองที่ตระหนักในหน้าที่ เน้นการเรียนต้องรู้ประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ไม่ได้เรียนประวัติศาสตร์แบบท่องจำพร้อมทั้งการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น และความร่วมมือระหว่างมัสยิดเป็นที่เรียนรู้ ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของตนเอง ประเด็น ความยุติธรรมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน · ยกเลิกพรก.และกฎอัยการศึก ซึ่งขัดกับสิทธิมนุษยชนมายาวนาน 9 ปี · เริ่มที่ ประชาชนไม่ใช่ทหาร · กระจายอำนาจให้ชาวบ้านเข้าใจ (ไม่ใช่แค่ตัวแทน)สิทธิของตัวเอง · การพูดคุยเรื่องกฎหมาย การปกครอง ที่เรียกร้องเรื่องการกระจายอำนาจ คัดเลือกข้าราชการดีเข้ามาทำงานในพื้นที่ ที่ยังไม่สามารถทำได้ · กฎหมายแพ่ง พาณิชย์ อาญา วิถีชีวิตวัฒนธรรมที่แตกต่าง · ฟื้นฟูโต๊ะครูและผู้นำตามธรรมชาติอื่นๆ · เยียวยาอย่างยุติธรรม/จัดเสวนาเรื่องกฎหมายโดยเฉพาะ · นิรโทษกรรมชาวบ้านที่ต้องคดีปีพ.ศ.๒๕๔๗ เพื่อแสดงความจริงใจ ด้วยการถวายฎีกา ประเด็น การกระจายอำนาจและความมั่นคง · จัดตั้ง รวมกลุ่ม เครือข่ายภาคประชาชนให้เข้มแข้ง เกิดอำนาจต่อรอง · มีการสื่อสารระหว่างคนท้องถิ่นกับภายนอก (รัฐธรรมนูญ ประชาชน นิติบัญญัติ ความมั่นคง การต่างประเทศ) · สร้างองค์กร กลไก ช่วยขับเคลื่อน การกระจายอำนาจ ประเด็นด้านภาษาวัฒธรรม การศึกษาหลักสูตร ความยุติธรรม กฎหมาย การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งบประมาณ ภาษี๗๐% :๓๐% · ท้องถิ่นจัดการตัวเอง · สร้างความตระหนักถึงสิทธิอำนาจให้คนในท้องถิ่น ภาพอนาคตที่เป็นไปได้ถ้ากระจายอำนาจ · เศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น ภาษี การจัดการรายได้ บริหารทรัพยากรของตนเอง อย่างเหมาะสม · การปกครองท้องถิ่น จัดการปัญหาตนเองได้ · การกระจายอำนาจต้องเกิดขึ้น สร้างความมั่นคงในรัฐ+ชีวิตของคน เกิดความสงบ · ประชาชนมีสิทธิ มีอำนาจเพิ่มขึ้น กลไกรัฐเป็นระบบ ประเด็น เศรษฐกิจ ทรัพยากร การต่างประเทศ · ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพจำหน่ายใน๑๐ประเทศอาเซียน · เตรียมคนด้านภาษา เรียนรู้วัฒนธรรม รู้จักอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ · การเปิดด่านและบริการที่สะดวก รวดเร็ว · สร้างความพร้อม Kuasa หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ทักษะและ ปฏิบัติอย่างมืออาชีพ (K=Knowledge U=Understanding A=Attitude S=skill A=Action) ประเด็น รัฐธรรมนูญ · เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ได้อยู่ในกลุ่มคนใดกลุ่มหนึ่ง · ข้าราชการต้องรับใช้ประชาชนไม่ใช่เป็นนายของประชาชน · แยกอำนาจนิติบัญญัติจากอำนาจบริหารอย่างชัดเจน · กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยให้ประชาชนมีสิทธิในการเลือกผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง ช่วงท้ายตัวแทนในที่ประชุมได้สรุปว่า “การรวมกลุ่มกันคือพลังของสังคม เรายังมีความหวัง เราจะอยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยโดย” หมายเหตุ 1. ขอบใจนางสาว ชุกรียะห์ บาเหะ เจ้าหน้าที่การจัดประชุม ซึ่งช่วยพิมพ์ข้อมูลการประชุมให้ 2. ภาพประกอบการประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมถ่ายภาพที่ระลึกร่วม https://www.facebook.com/photo.php?fbid=488835904501297&set=t.1245604111&type=3&theater https://www.facebook.com/peacefulanddemocratic?fref=ts05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม