1255 13 Dec 2012
การ พัฒนาการทำเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดอื่นในภาคอีสานจะทำ ให้สังคมไทยก้าวกระโดดจนเกินไปเพราะว่าจะมีปริมาณเกลือล้นเกินความต้องถึงปี ละ 7 - 10 ล้านตัน มากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ 3 - 5 เท่า ปัญหาใหญ่ของการนำเกลือออกมามากจนล้นเกินความต้องการก็คือ ความตรึงเครียดของสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ต้องแบกรับความเสื่อมโทรมและผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายความเค็มของเกลือลงในดินและแหล่งน้ำแน่ นอนว่าแร่เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่หลายครั้งหลายครา การได้มาซึ่งแร่ชนิดต่างๆ กลับต้องแลกมาด้วยการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงพืชพรรณสัตว์ป่าและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ในประเทศไทยมีกรณีความขัดแย้งในการทำเหมืองแร่เกือบทุกพื้นที่ที่มีการ สัมปทาน ทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และยังไม่ได้เกิด เป็นบทเรียนในการคำนวนผลได้-เสียเป็นอย่างดี
ประชาธรรมจึงขอนำเสนอซีรีย์ "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ทุนบ้าน ? เป็นบทความจากนิตยาสาร "เส้นทางสีเขียว (Green line) ฉบับ ที่ 29 เดือนมกราคม-เมษายน 54 ของ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลการทำเหมืองแร่ในประเทศไทย เปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างการทำเหมืองแร่กับทรัพยากร ธรรมชาติ วิถีชีวิตที่ต้องเสียไป
ใน ช่วงปี 2543 ทันทีที่ชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปีได้รับข่าวสารเรื่องโครงการ เหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานี และการผลักดันแก้ไขกฎหมายแร่ในส่วนของการทำเหมืองแร่ใต้ดินจากนักพัฒนา เอกชนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่มาร่วมนั่งฟังกันอยู่ที่ศาลากลางบ้านหลังหนึ่งถึง กับอุทานออกมาว่า "แม่นแล้ว หนองหานล่มถล่มจมดินเพราะกะฮอกด่อน (กระรอกเผือก)" ต่อจากนั้นเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับตำนานผาแดงนางไอ่ก็ถูกพูดขยายความต่อ ๆ กันไปเป็นเวลาสิบปีกว่าแล้ว บทบัญญัติในมาตรา 88/3 ของกฎหมายแร่ฉบับแก้ไขปี 2545 ที่ระบุว่า "การ ทำเหมืองใต้ดินผ่านใต้ดินของที่ดินใดที่มิใช่ที่ว่าง หากอยู่ในระดับความลึกจากผิวดินไม่เกินหนึ่งร้อยเมตร ผู้ยื่นคำขอประทานบัตรต้องแสดงหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้ขอจะมี สิทธิทำเหมืองในเขตที่ดินนั้นได้" เป็นสาระสำคัญที่สุดที่นำมาสู่การคัดค้านการทำเหมืองแร่โปแตชใต้ดินในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีตั้งแต่เมื่อสิบปีที่แล้วมาจนถึงบัดนี้ ประเด็น ที่น่าสนใจก็คือรัฐ--ในความหมายของการสมรู้ร่วมคิดกันของนักการเมือง ข้าราชการและนักลงทุนไทยและต่างชาติ แต่ไม่มีประชาชนเป็นส่วนประกอบ--พยายามสร้างกฎหมายแร่ฉบับใหม่ขึ้นมาเพื่อ ต้องการส่งเสริมการลงทุนให้มีการขุดแร่โปแตชและเกลือหินใต้ดินในภาคอีสาน ขึ้นมาใช้ เพื่อหวังให้มีการจ้างงานและมีเม็ดเงินนำมาสร้างความเจริญและทันสมัยให้กับ ประเทศชาติ ได้ "ปลุก" ตำนานพื้นบ้านปรัมปราเรื่องผาแดงนางไอ่ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอย่างมีพลัง ก่อน หน้าที่โครงการเหมืองแร่โปแตชจังหวัดอุดรธานีจะถูกรับรู้โดยชาวบ้านใน พื้นที่ลุ่มน้ำหนองหานกุมภวาปี ตำนานผาแดงนางไอ่ยังคงเป็นเพียงแค่ตำนานพื้นบ้านปรัมปรา ผูกโยงเรื่องราวเข้ากับบริบทสังคมปัจจุบันและอนาคตไม่ได้และไม่มีพลังขับ เคลื่อนสังคม แต่หลังจากที่ชาวบ้านรับรู้ข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการทำเหมืองแร่โป แตชบริเวณใต้ผืนดินจังหวัดอุดรธานีจึงได้ทำให้ตำนานปรัมปราดังกล่าวถูกตี ความว่าเป็นนิทาน "ปริศนาธรรมเรื่องความโลภ" เป็น เรื่องที่น่าแปลกมากที่พื้นที่โครงการทำเหมืองแร่โปแตชใต้ดินบริเวณลุ่มน้ำ หนองหานกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นพื้นที่บริเวณเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในตำนานผาแดงนางไอ่ บริบทของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างพื้นที่ในตำนานปรัมปราในโลกสมมติกับพื้นที่ การพัฒนาอุตสาหกรรมโปแตชในโลกปัจจุบันที่มีอยู่จริงนี่เองคือเหตุผลที่อยู่ เบื้องหลังอย่างแท้จริงในการรวมกลุ่มคนจนเกิดเป็นองค์กรชาวบ้านในนามกลุ่ม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนสังคมด้วยการปะทะกับรัฐ และทุนอย่างมีพลัง หรือในอีกแง่หนึ่งอาจจะพูดได้ว่าการที่ชาวบ้านสังเคราะห์ "ความเชื่อ" ขึ้น ใหม่จากบริบทของพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว คือแรงผลักดันที่ทำให้ชาวบ้านเกิดพลังแห่งความเชื่อขึ้นมา จนเกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรชาวบ้านเพื่อปะทะกับรัฐและทุนอย่างมีพลัง เรื่อง ราวในตำนานผาแดงนางไอ่มีอยู่ว่านานมาแล้วยังมีสาวงามนางหนึ่งเป็นลูกสาวพญา ขอมชื่อนางไอ่คำ นางเป็นคนงามเลื่องลือเป็นที่หมายปองของเจ้าชายเมืองต่าง ๆ จนอยากได้นางมาเป็นคู่ครอง แม้กระทั่งเจ้าพังคี ลูกพญานาคแห่งเมืองบาดาลก็ร้อนรนทนอยู่ไม่ไหวจึงแปลงกายเป็นกะฮอกด่อน (กระรอกเผือก) ขึ้นมาบนเมืองมนุษย์เพื่อยลโฉมนางไอ่คำ ครั้นนางไอ่คำได้เห็นกระรอกเผือกจึงสั่งให้นายพรานไล่จับให้ พรานใช้หน้าไม้ยิงกระรอกจนตายแล้วนำเนื้อมาแบ่งปันกันกิน แต่เนื้อกระรอกนี้แปลกนักยิ่งแบ่งยิ่งทวีขึ้นจนแจกจ่ายให้ชาวเมืองกินทั่ว กันทั้งเมืองยกเว้นหมู่แม่ม่ายจะไม่ได้รับแจก ฝ่าย พญาสุทโธนาค บิดาพังคีที่ถูกฆ่าตายเมื่อทราบข่าวก็เจ็บแค้นยิ่งนัก จึงได้ยกพลนาคขึ้นมาถล่มเมือง ฝ่ายผาแดงคนรักนางไอ่เร่งรุดมาช่วยนางไอ่ แต่พวกนาคก็ไล่ตามไปถล่มทลายแผ่นดิน ในที่สุดนางไอ่ถูกนาคใช้หางฟาดตกจากหลังม้าและจมหายไปใต้ธรณีที่ถล่มทลาย เมืองทั้งเมืองจมลงกลายเป็นหนองน้ำใหญ่คือหนองหานกุมภวาปี ผา แดงนางไอ่เป็นตำนานการเกิดหนองหานทะเลสาบน้ำจืดกว้างใหญ่ แม้ฝ่ายนักธรณีวิทยาจะอธิบายว่าบึงน้ำขนาดใหญ่นี้เกิดจากการยุบตัวของชั้น หินเกลือที่อยู่ใต้ดินทำให้เกิดเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่หรือทะเลสาบก็ตาม แต่ชาวบ้านก็ยังเชื่อตำนานหรือนิทานปริศนาธรรมเรื่องนี้ที่สอนเรื่องความโลภ โดยผูกโยงเรื่องราวว่ากระรอกเผือกในเรื่องนั้นคือเกลือเพราะมันมีสีขาว เมื่อนางไอ่คำลูกสาวเจ้าเมืองเห็นกระรอกสีขาวซึ่งเป็นลูกนาคแปลงกายมา นาคซึ่งเป็นผู้บันดาลทั้งความสมบูรณ์และล่มจมให้แก่แผ่นดิน พอเห็นกระรอกเผือกสีขาวนางไอ่คำก็ชอบใจสั่งให้คนจับให้โดยใช้หน้าไม้ไปยิงจน มันตาย แล้วก็นำเนื้อมาเฉือนแบ่งกันไปกินอย่างโอชะ เหลือเพียงแม่ม่ายไม่ได้กิน คืนนั้นพญานาคจากเมืองบาดาลจึงขึ้นมาทำลายเมืองจนถล่มจมดินลงไป ผาแดงนางไอ่ก็ไม่รอด รอดแต่แม่ม่ายที่ไม่กินเนื้อ การทำเหมืองแร่โปแตชและเกลือหินคือการกินเนื้อกระรอกเผือกด้วยความโลภตะกละ ตะกลามจึงนำความวิบัติมาให้บ้านเมือง การ เชื่อมโยงตำนานปรัมปราเข้ากับบริบทของสังคม วัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจในยุคสมัยปัจจุบันได้เผยให้เห็นถึงก้าวกระโดดสำคัญของ เทคโนโลยีการผลิตเกลือในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่มีการริเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2504 สังคมไทยผลิตและใช้เกลือในจุดสมดุลเพื่อนำมาใช้ภายในประเทศเป็นวัตถุประสงค์ หลักตลอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยผลิตได้จากการทำเกลือทะเล เกลือพื้นบ้านจากการขูดดินเอียดในภาคอีสานหรือบ่อเกลือบนภูเขาในภาคเหนือ เกลือต้มและตากในระดับอุตสาหกรรมของภาคอีสาน และจากเหมืองเกลือพิมาย ซึ่งปัจจุบันมีการใช้เกลือในชีวิตประจำวันและในภาคอุตสาหกรรมปีละประมาณ 2 ล้านตันเศษ ส่วนการพัฒนาการทำเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดอื่นในภาค อีสานจะทำให้สังคมไทยก้าวกระโดดจนเกินไปเพราะว่าจะมีปริมาณเกลือล้นเกินความ ต้องถึงปีละ 7 - 10 ล้านตัน มากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศ 3 - 5 เท่า ปัญหาใหญ่ของการนำเกลือออกมามากจนล้นเกินความต้องการก็คือ ความตรึงเครียดของสภาวะสิ่งแวดล้อมที่ต้องแบกรับความเสื่อมโทรมและผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นจากการแพร่กระจายความเค็มของเกลือลงในดินและแหล่งน้ำ จุด เริ่มต้นของการรวมกลุ่มคนเป็นองค์กรชาวบ้านจากเรื่องราวของกระรอกเผือกใน ตำนานผาแดงนางไอ่ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเกลือหินและโปแตชที่ฝังอยู่ใต้ผืน ดินอีสานนั้น ได้แผ่ขยายกระจายออกไปครอบคลุมบริบทของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองในปัจจุบันที่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ยังคงทำการศึกษา ทบทวน และผลิตซ้ำความรู้ดังกล่าวครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้เท่าทัน สถานการณ์และสร้างความมี "ตัวตน" ของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานีขึ้นมาในสังคมไทยตราบนานเท่านาน อ่านซีรีย์ "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ถุนบ้าน ? "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ถุนบ้าน ? (1) "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ถุนบ้าน ? (2) มอง "แร่" ให้รอบด้าน "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ถุนบ้าน? (3) สัมภาษณ์เลิศศักดิ์ : วิพากษ์ระบบสัมปทานเหมืองแร่ "แร่" ทรัพย์ในดิน สินใต้ถุนบ้าน? (4) "สัมปทาน" ในกฎหมายแร่05 Nov 2024
09 Oct 2024
09 Oct 2024
20 Sep 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
05 Nov 2024
ข่าวสารสังคมนอกสื่อกระแสหลัก ข่าวสารความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับเอ็นจีโอ ข่าวกิจกรรมเพื่อสังคม งานสัมนา สมัครงานเอ็นจีโอ ร้องเรียน แจ้งข่าว…ประนามประจาน !! ที่ได้รับความทุกข์ร้อนไม่เป็นธรรม